ประจวบคีรีขันธ์เปิดเวทีเสริมสร้างสุขภาวะเด็กปฐมวัย โครงการศึกษาลดการบริโภคสุราและยาสูบ

การดำเนินการของโครงการปลูกพลังบวก เพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง ลดปัจจัยเสี่ยง สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการพัฒนาศักยภาพ ทำความเข้าใจการใช้ชุดกิจกรรมของโครงการปลูกพลังบวกฯ ในระดับจังหวัดอบรมสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 2,000 แห่ง กว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพฤติกรรมและความสามารถด้านทักษะชีวิตเป็นภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ สิ่งเสพติด สำหรับเด็กปฐมวัย ให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปลอดภัยและเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ การดำเนินงานการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โชว์ แชร์ เชื่อม เชิดชูเกียรติสถานศึกษาต้นแบบและสถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ ครั้งนี้ มีสถานศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต1 และเขต 2 เข้าร่วมเวที จำนวน 150 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในระดับปฐมวัย

นายอารมณ์ วงศ์บัณฑิต นักวิชาการภาคใต้โครงการปลูกพลังบวกฯ กล่าวว่า ทักษะเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ทักษะการเรียนรู้ ความเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อย ๆ เด็กต้องมีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือเรื่อยๆ เด็กต้องมีความสามารถในการในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life Long Learning) ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะชีวิต คือเข้าใจตนเองและรู้จักปรับตัวเข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป การดำเนินงานของโครงการปลูกพลังบวก เพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ทำให้เด็กมีทักษะชีวิต 4 องค์ประกอบ องค์ประกอบด้านเด็ก ตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การจัดการอารมณ์และความเครียด การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การใช้คำถามกระตุ้นความคิด R.C.A สามารถให้เด็กนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม สร้างขวัญกำลังใจ พร้อมทั้งกระบวนการพัฒนาและยกระดับสถานศึกษาที่เข้าร่วมที่มีผลการดำเนินกิจกรรมระดับยอดเยี่ยมให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ การดำเนินการโครงการมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม สร้างขวัญกำลังใจ พร้อมทั้งกระบวนการพัฒนาและยกระดับสถานศึกษาที่เข้าร่วมที่มีผลการดำเนินกิจกรรมระดับยอดเยี่ยมให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ต่อไป

น.ส.กันยาสมาส ชูจีน ผู้อำนวยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ต้องเปลี่ยนหน้าที่จากผู้ดำเนินภาระกิจทางการศึกษา เปลี่ยนไปเป็น หน่วยกำกับดูแลเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดการศึกษา ส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจทางการศึกษา สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทำการตลาดการศึกษาไทยและส่งออกการศึกษาไทย โรงเรียน ต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ประสิทธิประสาทความรู้ เป็นสถานที่บ่มเพาะบุคลากรของชาติที่มีวิธีคิด (Mindset) และตัวตน (Character) มีนิสัยแห่งความสุขและความสำเร็จ ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอก ผู้สอน เป็นผู้ตั้งคำถาม สอนวิธีหาคำตอบ มากกว่าที่จะบอกว่าคำตอบไหนผิด-ถูก เปลี่ยนจากผู้สอน(Instructor) เป็นผู้ชี้แนะ(Coach) หรือ ผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator)ผู้เรียน เปลี่ยนบทบาทจากผู้รับการเรียนรู้ เป็นผู้กำหนดการเรียนรู้ เป็นผู้กำหนดหลักสูตร จากลูกบอลเป็นนักบอล ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนแบ่งปันการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน(Peer Learning) เป็นผู้สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้  ผู้ปกครองเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับบริการทางการศึกษา เป็นผู้มีส่วนร่วมจัดการการศึกษาสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงต่อเด็กปฐมวัยและเยาวชนหลายด้านโดยเฉพาะเหล้า – บุหรี่ จากการวิจัย พบว่า มีนักดื่มเหล้าและนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ ช่วงอายุ ๑๓-๑๕ ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ คนไทยดื่มเหล้าเป็นอันดับ ๒ ของอาเซียน มีแนวโน้มนักดื่มเหล้า นักสูบบุหรี่มีอายุน้อยลง และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาที่เกิดขึ้นใกล้ตัวเด็กและมีแนวโน้มจะเป็นอันตรายต่อเด็กทั้งในปัจจุบันและอนาคต  การจัดทำโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันลดปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัย ระดับจังหวัด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิตเป็นภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงเหล้าบุหรี่ อีกทั้งเป็นการพัฒนาครูปฐมวัยและผู้บริหารสถานศึกษาให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้“โชว์ แชร์ เชื่อม เชิดชูเกียรติ”สถานศึกษาที่มีการดำเนินงานโครงการปลูกพลังบวกฯ จนเกิดวิธีปฏิบัติที่ดี (Good Practice)

  • นางสาวดวงดาว ศรีธรรมราช สนุกคิด คิดคำนวณกับลูกพลังบวก บูรณาการกับบ้านวิทยาศาสตร์น้อย การคิดเชิงคำนวณ  เด็กสามารถอ่านและแสดงขั้นตอนโดยภาพและสัญลักษณ์ การทำงานวิเคราะห์หลักสูตร ด้านสติปัญญา บอกเหตุผลและใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารได้ สื่อต่างๆ จะไปนำไปเป็นกิจกรรมเล่นตามมุม เด็ก ๆ จะเรียนรู้การใช้สื่อ จะใช้คำถาม R.C.A ทำให้เด็กได้คิดวิเคราะห์แยกแยะอย่างสร้างสรรค์ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ ความภาคภูมิใจ  ได้เป็นสถานศึกษาต้นแบบการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้เป็นครูต้นแบบ รางวัลระดับทองแดง การจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ประจำปี 2566 

การดำเนินงานโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง สำหรับเด็กปฐมวัยภาคใต้ มีสถานศึกษาเข้าร่วมมีจังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดสงขลาและจังหวัดตรัง ในปี 2562 – 2567 มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 207 แห่ง มีผู้บริหารและครูสอนปฐมวัยสนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการ 450 คน  วัตถุประสงค์เพื่อให้ครูผู้สอนปฐมวัย/ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย และผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการปลูกพลังบวกฯ ได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โชว์ แชร์ เชื่อม เชิดชูเกียรติ” สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันลดปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรมในโครงการให้เกิดความต่อเนื่องเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็กปฐมวัย

กองบรรณาธิการ SDNThailand