สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) เป็นองค์กรที่เป็นเครือข่ายภาคประชาชน ซึ่งถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2546 ยุทธศาสตร์และกิจกรรมหลักของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า จะแบ่งกันทำงานไปตามความถนัดและตามธรรมชาติของแต่ละองค์กร ซึ่งในปี พ.ศ. 2547 นี้ มีองค์กรที่มาร่วมงานกันกว่า 150 องค์กร โดยแบ่งกิจกรรมการรณรงค์เป็น 2 ลักษณะคือ รณรงค์เพื่อปลุกกระแสสังคม และรณรงค์แนวลึกเข้าไปติดอาวุธทางปัญญาและแก้ไขที่รากของปัญหา คือความไม่รู้ของคน ทั้งที่ดื่มแล้วและยังไม่ดื่ม ซึ่งงานในส่วนที่ 2 นี้เป็นงานที่ต้องอาศัยระยะเวลาเนื่องจาก ต้องยอมรับว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เหล้าเบียร์” นั้นอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทย อยู่ในทุกประเพณีและแทบจะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมเพราะฉะนั้นการจะใช้เวลาเพียงปีหรือ 2 ปีกับการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้คงจะเป็นเรื่องใจร้อนเกินไป เครือข่ายฯหวังจะเป็นเพียงน้ำหยดหนึ่งในแม่น้ำกว้างใหญ่แห่งสังคมและหวังว่าจะมีเพื่อนๆ จากองค์กรต่างๆหันมาเห็นด้วยและมาร่วมมือกันรณรค์เรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่การการดำเนินการทีผ่านมากับการสื่อสารยังไม่ถูกจัดทำให้เป็นระบบ หสรือสื่อสารสร้างการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องการปรับรูปแบบในการเพื่อให้การสื่อสารนั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีอิทธิพลต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงทำให้สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าได้มีแนวคิดเรื่องของการพัฒนาศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านการสื่อสารในระดับภูมิถลภาค จึงได้เกิดเวทีการอบรมพัฒนาศักยภาพ Creative Skill Workshop (CSW) ขึ้น โดยในหลักสูตรครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทักษะการเขียนข่าวและบทความแก่เจ้าหน้าที่ เมื่อเข้ามาร่วมในกิจกรรม Creative Skill Workshop (CSW) สามารถออกแบบ เขียนข่าวและเขียนบทความ สามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์กรสู่สาธารณะด้วย Word Pless ได้ ซึ่งกิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21-23 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมเอส บางกอก กรุงเทพมหานคร
ซึ่งในการอบรมครั้งนี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนเรื่องการทำงานแนวทางผลงานด้านสื่อที่ผ่านมาพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเลือกข่าวมานำเสนอในพื้นที่ของแต่ละภาค ประเด็นสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงแลกเปลี่ยนประสบการณ์เทคนิคและวิธีการทำงาน
โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ชลทิศ แก้วประเสริฐสม ผู้ชำนาญการอาวุโส ศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ (The Active)สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ซึ่งอาจารย์ได้กล่าวถึงการค้นหาความต้องการที่ซ่อนเร้นซึ่งความต้องการนั้นส่วนใหญ่มาในรูปแบบของผู้รับสารที่มีความต้องการแอบแฝงแต่ยังไม่มีใครสามารถตอบสนองความต้องการนั้นได้ ผู้รับสารยังคงพยายามที่จะค้นหาความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง ผู้รับสารมีความต้องการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและรวดเร็ว ผู้รับสารไม่ทราบว่าตัวเองต้องการอะไร จนกว่าจะได้เห็นสิ่งที่ต้องการ แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะทราบความต้องการทั้งหมดของผู้รับสาร ซึ่งวิธีในการค้นหาความต้องการของผู้รับสาร คือค้นหาจากข้อมูลที่มีอยู่และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
การวิจัยแบบตามติด คือการสังเกตุพฤติกรรมวิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยมของกลุ่มคนในสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเน้นวิธีการ สังเกตแบบมีส่วนร่วมโดยผู้วิจัยจะต้องแฝงตัวเข้าไปอยู่ในกลุ่มซึ่งในที่นี้จะเป็นการติดตามและสังเกตพฤติกรรมของผู้รับสารถึงที่บ้านหรือที่ทำงานเพื่อเรียนรู้ถึงแนวทางในการใช้ชีวิตของผู้รับสารซึ่งจะทำให้เห็นประเด็นเนื้อหาที่เกิดขึ้นกับผู้รับสารและจะเป็นโอกาสในการปรับปรุงหรือพัฒนาสินค้าและบริการได้ดียิ่งขึ้น
การสัมภาษณ์ คือการสอบถามถึงปัญหาที่พบและต้องการเนื้อหาที่มีคุณลักษณะอย่างไรโดยวิธีการนี้สามารถใช้เทคนิคผ่านการถามคำถามห้าคำถามที่เจาะลึกลงไปเรื่อยเรื่อยจึงจะช่วยให้เราทราบความต้องการที่ซ่อนอยู่ของผู้รับสารได้โดยมากจะตั้งคำถาม Why ฉันใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
การสำรวจความคิดเห็นของผู้รับสาร เป็นการสำรวจความคิดเห็นของโดยใช้ช่องทางอีเมลหรือเว็บไซต์โดยจะสอบถามถึงทัศนคติและความคาดหวังของผู้รับสารที่มีต่อเนื้อหา ในการตั้งคำถามควรมีทั้งคำถามปลายเปิดและปลายปิด จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นประโยชน์ที่สุด การตั้งคำถามเพื่อท้าทายสิ่งเดิมเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและมีต้นทุนน้อยที่สุด ในการช่วยจุดประกายให้คนที่เกี่ยวข้องได้คิดออกไปจากนอกกรอบแนวคิดเดิมและวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน
Customer Personas คือการกำหนดลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการวิเคราะห์จากเพศ ลักษณะนิสัยงานที่ทำ พฤติกรรมใช้ชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งจุดสำคัญที่ทำให้คุณทราบว่าผู้รับสารของคุณเป็นคนมีลักษณะยังไงนอกจากนี้จะทำให้ทุกคนในทีมมีความเข้าใจในการสื่อสารออกไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกัน มีการสังเกต Customer Insight พฤติกรรมผู้บริโภคว่าพวกเขาทำอะไรทำ ไมถึงทำ มีการใช้ชีวิตอย่างไร และเจาะเข้าไปถึงแก่นก้นบึ้งของจิตใจผู้บริโภคเป้าหมาย
สื่อสร้างพลเมือง ริเริ่มให้ประชาชนหาทางออกต่อประเด็นปัญหาของสังคมเพราะมีส่วนร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมทางสังคมและชักชวนผู้คนในสังคมมารวมตัวให้เกิดเป็นเวทีสาธารณะ สื่อสารทางออกให้สังคมคือการนำข้อมูลข่าวสารที่เห็นตอบโจทย์ที่เป็นทางออกให้สังคมในประเด็นต่างๆ หรือการสื่อสารถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่หลากหลายทั้งข้อดีข้อด้อยของแต่ละแนวทางเพื่อเปรียบเทียบและปรับใช้จัดการปัญหา และสื่อสารให้ผู้รับสารเข้าใจปัญหาอย่างทองแท้จนสามารถกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในฐานะส่วนหนึ่งของชุมชน
นอกจากนั้นยังให้เรียนรู้เรื่องบทบาทความสำคัญหลักการเขียนข่าวและบทความการทำความเข้าใจการใช้งาน Word Pless เบื้องต้น และมีการ Work Shop การใช้ Word Pless องค์ประกอบการจัดวางภาพประกอบและ Creative Value องค์ประกอบศิลป์เบื้องต้น เรียนรู้แนวทางมาตรฐานการทำงานสำหรับเว็บไซต์ SDN Thailand รวมทั้งใน Social Media การใช้โปรแกรม เครื่องมือออกแบบกราฟิกเบื้องต้น พร้อมทั้งมีทบทวนการออกแบบที่ได้จัดทำขึ้น
คุณธีระ วัชรปราณี : ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า “การอบรมครั้งนี้เกิดขึ้นโดยเนื่องจากเครือข่ายองค์กรงดเหล้ามีพื้นที่การทำงานอยู่ทั่วประเทศและมียุทธศาสตร์ในการทำงานอยู่หลากหลาย ได้แก่ เยาวชน ชุมชน กฎหมาย ป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และวัฒนธรรมประพณีต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือการสร้างการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย แต่ปัญหาก็คือเราทำแต่กิจกรรม แต่เนื้องานแต่ละพื้นที่ออกมาในการให้สังคมได้รับรู้หรือเข้าใจในสิ่งที่ทำสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงจะทำยังไง จึงเป็นที่มาที่ว่าอยากจะให้เจ้าหน้าที่ได้มีทักษะและมีความมุ่งมั่นที่อยากจะสื่อสารทั้งระดับประชาสัมพันธ์และการสร้างความเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่การสื่อสารแบบประชาสัมพันธ์แต่ไม่ค่อยมีเนื้อหารายละเอียดและคุณค่าของข่าว จึงมาฝึกการเขียนข่าว
เป้าหมายคือการสร้างการเปลี่ยนแปลง เราทำงานมา 20 ปี ก็คาดหวังว่าอีก 3 ปี อยากจะให้การทำงานของเครือข่ายองค์กรงดเหล้าทั้งประเทศทำงานแล้วต้องสื่อสารได้
โดยเริ่มจากการสื่อสารประชาสัมพันธ์ การอบรมครั้งนี้เท่าที่ดูกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ ให้ความสนใจ มีการแลกเปลี่ยนซักถาม หัวใจสำคัญคือการมาอบรมครั้งนี้แล้วจะสามารถกลับไปทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็จะมีการติดตามผลในระยะต่อไป โดยคาดหวังว่าหลังจากนี้หากมีใครส่งข่าวอย่างต่อเนื่องก็อาจจะได้รับการยกย่อง เท่าที่ดูจากผลงานก็คิดว่าอาจจะต้องดูหลังจากส่งงานแล้ว ก็คิดว่าเป็นเรื่องของการเรียนรู้ อยากจะให้ทุกคนได้พัฒนาตนเอง เป็น้ำแก้วที่ว่างเพื่อยกระดับตนเองเพื่อเป็นความสุขในการทำงานต่อไป”
คุณกนิษฐา ติ้ววงศ์ : ฝ่ายสื่อสารองค์กร กล่าวว่า “จากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้ถึงแนวคิดวิธีการความคิดสร้างสรรค์ มีการแลกเปลี่ยนระหว่างเพื่อนที่มาอบรมร่วมกัน ทำให้หลายๆ คนมีไฟลในการสื่อสารมากขึ้น เพราะจะเห็นว่าตัวเองสามารถก้าวข้ามความกลัวและคิดนอกกรอบได้ เห็นช่องทางของตนเองจึงทำให้อยากกลับไปทำต่อ สังเกตจากผลงานที่ได้ดูของผู้อบรมแต่ละคนมีความตั้งใจมากในการที่จะเขียนข่าว และเห็นความสำคัญที่จะกลับไปทำงานในพื้นที่ เพราะผู้เข้าร่วมนั้นต้องการทีจะสื่อสาร จากที่เคยได้ยินมาคือไม่มีเวลาเขียน จะเริ่มต้นจากอะไร เหมือนจับทางไม่ถูก พอทุกคนได้รู้แนวทางว่าลำดับแรกจะต้องเริ่มจากอะไรก่อน และต่อไปจะต้องต่อด้วยอะไร ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญตรงนี้เป็นอันดับแรกและได้เข้าใจถึงนโยบายจากที่คุณธีระได้เล่าในตอนต้น ทำให้แต่ละคนก็จะรู้การจัดละดับการเขียน การถ่ายภาพ และการกลับมาทำเพื่อให้ได้เนื้องานที่สมบูรณ์ภายในเวลาไม่นาน”
จากหลักสูตรดังกล่าว จะเห็นว่า “คุณธีระ วัชรปราณี” ผู้ใหญ่ใจดีที่คอยโอบอุ้มทุ่มเทส่งเสริมในการพัฒนาและยกระดับองค์กร ได้นำผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มายกระดับการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่องค์งดเหล้าอย่างต่อเนื่องและมีความหวังว่าผู้เข้าร่วมอบรมจะสามารถกลับไปสร้างผลงานในระดับพื้นที่ได้อย่างมืออาชีพ และไม่หยุดที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อคนทำงานจะได้ยกระดับการทำงานได้อย่างมืออาชีพต่อไป หลังจากนี้เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อว่า ผู้เข้าร่วมอบรมครั้งนี้ จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้ ไปสร้างผลงานได้ย่างสวยงามมากน้อยเพียงใด และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถสื่อสารสร้างการเปลี่ยนต่อสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป…
Credit : www.sdnthailand.com