แอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม

งานวิจัยหลายร้อยชิ้นแสดงให้เห็นว่าแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งอื่นๆ ได้แก่มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งตับ มะเร็งลำคอ มะเร็งช่องปาก และมะเร็งหลอดอาหาร ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่ดื่มแอลกอฮอล์จะเป็นมะเร็ง แต่การลดการดื่มแอลกอฮอล์หรือการไม่ดื่มเลยจะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง บทความนี้อธิบายความความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับการเป็นมะเร็งเต้านมและให้คำแนะนำวิธีการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็ง

ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับมะเร็งเต้านม

          แอลกอฮอล์ได้รับการยอมรับว่าเป็นสารก่อมะเร็งโดยส่งผลต่อระดับฮอร์โมนและทำลาย DNA ที่อยู่ในเซลล์ของร่างกาย นอกจากนี้พบว่าแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้นในคนที่มียีน (gene) ที่ชื่อ ADH1C*1 รวมถึงในกลุ่มคนที่ครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของยีน BRCA1 และ BRCA2

            แอลกอฮอล์ส่งผลต่อระดับฮอร์โมน

          เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนประกอบของเอทานอลซึ่งเป็นสารที่ก่อเกิดโรคมะเร็ง โดยเอทานอน (แม้จะดื่มเพียงเล็กน้อย) จะทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง(ที่ยังมีประจำเดือนอยู่)สูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงกลางของกระบวนการมีประจำเดือน (กระบวนการของการมีประจำเดือนโดยเฉลี่ยใช้เวลา 28 วัน ) ทั้งนี้ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงขึ้นทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจน รวมถึงฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นบวก (ER-positive) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นมะเร็งเต้นนม โดยสาเหตุของการเป็นโรงมะเร็งเต้นนมที่มากที่สุดก็มาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นบวกด้วย

            แอลกอฮอล์ส่งผลต่อการทำลาย DNA

          เมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วร่างกายจะย่อย (metabolize) แอลกอฮอล์ทำให้เกิดอะเซตาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและจะสะสมไว้ในร่างกาย อะเซตาลดีไฮด์จะไปทำลาย DNA และโปรตีนในเชลล์ของร่างกาย และไปทำกระบวนการห้ามไม่ให้เซลล์ซ่อมแซม (รักษา) ตัวเองจากการถูกทำร้าย ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมการงอกของเซลล์ได้ซึ่งจะทำให้เกิดเนื้องอก

ปริมาณและประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสำคัญหรือไม่

          งานวิจัยชี้ให้เห็นว่ายิ่งดื่มทุกวันยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม รวมถึงระยะเวลาในการดื่ม (เช่นหลายปี) ยิ่งเพิ่มความเสียงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม รวมถึงยิ่งดื่มเท่าไรยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม กล่าวโดยสรุป 1) การดื่มทุกวัน 2) ดื่มติดต่อกัน และ 3) ปริมาณในการดื่มส่งผลต่อการเป็นมะเร็งเต้านม (โดยไม่เกี่ยวว่าจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทไหนเช่น เบียร์ ไวน์ วอดก้า เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างมีแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ประมาณ 14 กรัม)

          ผลการวิจัยจำนวน 118 ชิ้นยังแสดงให้เห็นว่า

          – ผู้ดื่มแอลกอฮอล์เล็กน้อยมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูงกว่าคนไม่ดื่ม 1.04 เท่า

          – ผู้ดื่มแอลกอฮอล์ระดับปานกลางมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูงกว่าคนไม่ดื่ม 1.23 เท่า โดยการดื่มระดับปานกลางหมายถึง การดื่ม 1 แก้ว/วันสำหรับผู้หญิง และ 2 แก้ว/วันสำหรับผู้ชาย

          – ผู้ดื่มแอลกอฮอล์มากมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูงกว่าคนไม่ดื่ม 1.60 เท่า โดยการดื่มระดับมากหมายถึง การดื่ม 3 แก้ว/วันสำหรับผู้หญิง และ 4 แก้ว/วันสำหรับผู้ชาย

คุณจะทำอะไรได้บ้างเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติการดื่มของแต่ล่ะคน บางคนอาจต้องหยุดดื่มแบบเด็ดขาด อย่างไรก็ตามอาจใช้หลักการคิดว่า การลดการดื่มช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ถ้าคุณดื่มเป็นครั้งคราวคุณอาจไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม แต่ถ้าคุณดื่มทุกวันหรือเป็นนักดื่มมืออาชีพการลดละเลิกการดื่มจะเป็นผลดีต่อคุณ เพียงลดการดื่ม 1 แก้วก็ช่วยให้คุณลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม

เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง

          1. ถ้าคุณสูบบุหรี่ หยุดสูบเพราะบุหรี่ทำให้เป็นโรคมะเร็งเต้านมเช่นนั้น อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องยากที่จะเลิกบุหรี่ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

          2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ถ้าอ้วนหรือน้ำหนักมากเกินไปควรลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักที่ลดไว้ไม่ให้เพิ่ม แม้จะลดได้เพียงเล็กน้อยก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม

          3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะช่วยให้ร่างกายสามารถควบคุมฮอร์โมนเอสโตรเจน และช่วยรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

          4. ตรวจสุขภาพ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับการตรวจหามะเร็งเต้านมในเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยให้สังเกตพบความผิดปกติของเต้านมตั้งแต่เนิ่น ๆ      

การลดละเลิกการดื่มแอลกอฮอล์

          1. ระลึกอยู่เสมอว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง

          2. ผู้ที่ดื่มระดับปานกลาง ระดับมาก และนักดื่มมืออาชีพมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ดื่มในระดับน้อย หรือผู้ดื่มเป็นครั้งคราว

          3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าชนิดไหน เช่นเบียร์ ไวน์ หรือค็อกเทล ต่างมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เหมือนกันดังนั้นไม่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทไหนต่างทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเหมือนกัน

          4. หยุดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเหมือนกับการลดการสูบบุหรี่ และการเพิ่มการออกกำลังกาย

หมายเหตุ : บทความนี้ แปลมาจากบทความ Can Alcohol Increase Your Risk for Breast Cancer? ของ Corey Whelan (2021)

References

Whelan, C. (2021). Can Alcohol Increase Your Risk for Breast Cancer?. https://www.healthline.com/health/breast-cancer/alcohol-and-breast-cancer.