เวียงสระ แหล่งท่องเที่ยวสร้างสรรค์ สร้างสุข

เวียงสระ แหล่งท่องเที่ยวสร้างสรรค์ สร้างสุข

เมื่อครั้งที่แล้ว เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 จากการที่ศูนย์สืบสานมโนราห์ปักษ์ใต้นำโดยคุณชานนท์ เสือรามจันทร์ และทางทีมโครงการท่องเที่ยวสร้างสุข ท่องเที่ยวปลอดภัยได้ร่วมนำเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเวียงสระนี้ ขายให้กับนักท่องเที่ยวอาสาสมัครจากกลุ่ม Volunteer English Bangkok และตัวแทนของทีม Voluntist ที่ลงเข้าไปพร้อมนักท่องเที่ยวอาสาสมัครกลุ่มนี้ เพื่อมาท่องเที่ยวกับกิจกรรมของศูนย์สืบสานมโนราห์ปักษ์ใต้ โดยเป็นนักท่องเที่ยวชุดแรกจำนวน 5 ท่าน จากสหราชอาณาจักร ที่เป็น นศ.แพทย์จาก OXFORD นักวิทยาศาสตร์จาก LONDON ทีมผู้ช่วยทันตแพทย์จาก Edinburgh โค้ชเทนนิสจาก LONDON และ นักศึกษาเศรษฐศาสตร์ LONDON เช่นกัน เข้ามาเรียนรู้ และ ใช้บริการของกิจกรรมท่องเที่ยวของศูนย์นี้ ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดี ดูได้จาก ความสนใจเรื่องของอาหารพื้นถิ่น เช่น ขนมลา และ การได้มีส่วนร่วมในการฝึกรำมโนราห์ จนนักท่องเที่ยวบางท่านติดใจไปซื้อทานอีกครั้งเมื่อไปพบเจอขนมลาในตลาดที่ชุมชนอื่น

จากการทดสอบกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ TOUR TO TEACH ดังกล่าว ทางโครงการได้สรุปประเด็นปัญหาและประเด็นต่อยอด เพื่อใช้ในการที่จะพัฒนากิจกรรมในครั้งถัดไปให้ดีขึ้น โดยเน้นการพัฒนาให้กิจกรรมของชุมชนเวียงสระสามารถตอบโจทย์พัฒนาทักษะของเยาวชนและชาวชุมชนที่เข้าร่วมในด้านการพัฒนาในมุมธุรกิจและมุมด้านการศึกษา และได้ออกแบบกิจกรรมออกมาใหม่ เพื่อใช้รองรับนักท่องเที่ยวในรอบหน้าซึ่งก็คือ รอบวันเสาร์ที่ 10 สิงหาคมนี้ ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 16 ท่าน ซึ่งในนั้นจะมีทีมตากล้องที่จะมาทำสารคดีเพื่อโปรโมทการท่องเที่ยวของคณะทัวร์ชุดนี้เข้ามาด้วย

และก็เช่นเคย ทางโครงการได้ยึดหลักการของพีระมิดของการเรียนรู้ ที่ว่าการเรียนรู้จากการกระทำจะทำให้ผู้เรียนจำสิ่งที่เรียนได้ 75% ตามแบบโมเดล TOUR TO TEACH ของโครงการท่องเที่ยวปลอดภัยที่ทำมาโดยตลอด และ ในครั้งนี้ก็เช่นกัน แต่ในการทดสอบเส้นทางครั้งนี้เรากำหนดตัวแปรเดิมไว้คือ เรื่องกรอบเวลา แต่เพิ่มตัวแปรใหม่คือการให้เด็กๆในชุมชนมีส่วนร่วมในการนำเสนอมากขึ้น และ ใช้กิจกรรมที่ปรับปรุงใหม่เข้ามา โดยใส่ความยากมากขึ้นคือ ให้กลุ่มเยาวชนและผู้นำชุมชนแถวสองเป็นคนดำเนินงานหลักแทนผู้นำชุมชนแกนหลัก ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้ออกแบบออกมาเป็นลำดับใหม่มีรายละเอียดดังนี้

วันที่ 10 สิงหาคม 2567 ต้อนรับนักท่องเที่ยวจาก 2 ชาติ คือ สเปน และ อังกฤษ เวลส์ จำนวน 16 ท่าน มีกิจกรรมดังนี้

12.30-13.30 สอนการทำอาหารไทยพื้นบ้าน ทั้งแบบเฉพาะถิ่นของเวียงสระ คือน้ำพริกแห้ง และ แบบที่นักท่องเที่ยวสามารถนำกลับไปทำเองได้ คือ ไข่เจียว และ ข้าวผัดไข่ และเมื่อทำเสร็จก็นำมาเสริฟพร้อมกับการอาหารกลางวันที่เตรียมไว้แล้ว โดยให้นักท่องเที่ยวทั้ง 16 คนหมุนเวียนกันเข้ามาทำอาหารทั้ง 3 เมนูนี้ ตามความสมัครใจ

13.30-13.45 รำโนราห์ โดยนักแสดงในชุมชน

13.45-15.30 สอนการร้อยลูกปัดตามแบบการถักเสื้อโนราห์ เพื่อนำไปทำสร้อยคอมือและพวงกุญแจ และ เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวอาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการแต่งชุดโนราห์ และ เรียนการรำโนราห์เบื้องต้น

16.00 กิจกรรมแล้วเสร็จ

จากการจัดกิจกรรมตามลำดับใหม่นี้ และ การที่นำนักสื่อความหมายชุมชนรุ่นใหม่ ทั้งเยาวชน และ ผู้นำแถวสองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยเฉพาะในช่วงการนำเสนอที่เป็นภาษาอังกฤษนั้น พบว่า เป็นช่วงที่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เพราะนักสื่อความหมายชุมชนรุ่นใหม่นั้นเมื่อมีความมั่นใจมากขึ้นในการนำเสนอจากการทำซ้ำๆหลายรอบๆ ในช่วงการการสอนทำอาหาร ทำให้นักสื่อความหมายชุมชนของเรามีความมั่นใจมากขึ้น สีหน้าท่าทางมีความผ่อนคลายมากขึ้น และ ก็เป็นช่วยให้นักท่องเที่ยวรู้สึกผ่อนคลายและมีความสนใจที่จะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของชุมชนมากขึ้น โดยในครั้งนี้พบว่านักท่องเที่ยวเกือบทุกท่านขอเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และ ให้ความสนใจในการทำกิจกรรมอย่างมาก ดูได้จากทางหน้าตาและจำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรม

จึงแสดงให้เห็นอีกครั้งว่า หากชุมชนวัฒนธรรมสร้างสุข ต้องการให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชนมากขึ้นในมุมวัฒนธรรมชุมชนนั้น นอกจากการใช้ประเด็นวัฒนธรรมของชุมชนเป็นแกนหลักในการสอน จะพบว่า การใช้ประเด็นเรื่องทักษะการนำเสนอและทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนั้นเป็นประเด็นที่สร้างความสนใจกับเยาวชนมากเพราะเป็นสิ่งที่ชุมชนแต่ละที่ขาดแคลนโอกาสนี้ และ ยังเป็นทักษะที่เชื่อมโยงกับการศึกษาและอาชีพให้กับเยาวชนเพื่อเป็นพื้นฐานในอนาคตอีกด้วย

ทางโครงการท่องเที่ยวปลอดภัย วัฒนธรรมสร้างสุข จึงมีความมั่นใจว่าหากใช้โมเดล TOUR TO TEACH แบบนี้ขยายผลไปพื้นที่ต่างๆมากขึ้น แต่อาจจะเพิ่มขั้นตอนการเตรียมงาน และ การปรับปรุงต่อยอดงาน เข้าไปให้เป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ทั้งแบบ ONLINE และ ONSITE มากขึ้น ก็น่าจะทำให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ที่พร้อมจะได้รับการถ่ายทอดประเด็นสุขภาวะไปยังคนรุ่นใหม่ รุ่นเก่าได้อย่างต่อเนื่องและน่าจะขยายผลไปสู่การเป็นชุมชนที่สร้างผู้สื่อสารประเด็นสุขภาวะให้แก่สังคมชุมชนนั้นๆ ได้อย่างเป็นระบบต่อไป

ทั้งนี้ในพื้นที่เวียงสระนี้ทางโครงการจะติดตามผลการต่อยอดทั้งในมุมการสร้างกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์วัฒนธรรมสร้างสุข ท่องเที่ยวปลอดภัยแบบนี้ ต่อไปภายหลังที่ชุมชนคนรุ่นใหม่ได้ประชุมหารือเพื่อปรับปรุงแผนงาน โดยจะเข้ามาร่วมพัฒนาทั้งในรูปแบบ ONLINE และ ONSITE ต่อไป เพื่อให้เกิดโมเดลการพัฒนาสร้างชุมชนสุขภาวะต้นแบบที่ต่อยอดมาจากประเด็นวัฒนธรรมสร้างสุข และ การท่องเที่ยวปลอดภัย ต่อไป

#สสส.

#สคล.

#เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน

#ท่องเที่ยวสร้างสุข

#วัฒนธรรมสร้างสุข

#ท่องเที่ยวปลอดภัย

#voluntist

กองบรรณาธิการ SDNThailand