เสริมพลังชุมชนผ่านการท่องเที่ยวยั่งยืน: บทเรียนจากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่สงขลา

เมื่อวันที่ 28-29 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน ณ จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเครือข่ายงดเหล้าและชุมชนท้องถิ่น

ในทุกครั้งที่เราประชุมนอกสถานที่ ไม่ใช่แค่เพียงเราต้องการประชุมเพื่อเสริมพลังกันเอง แต่เราต้องการให้เกิดการเสริมพลังแบบครบทุกองศา ให้ลงไปยังชาวชุมชนด้วย และยิ่งเรายึดตามหลักการ Learning by doing ด้วยแล้ว การที่ชุมชนในเครือข่ายของเราได้รับการฝึกจากการได้รับนักท่องเที่ยวทั้งแบบตัวจริงหรือแบบที่มาเพื่อฝึกฝน ย่อมจะทำให้เกิดการเรียนรู้จากการได้ทำและมักจะเกิดการจดจำขึ้นใจได้ยาวนาน และมันจะเป็นการดีถ้ามีการถอดบทเรียนและบันทึกไว้ด้วย ซึ่งนั่นก็คือบทบาทของบทความนี้ ที่เราจะถอดบทเรียนมาเก็บไว้เพื่อส่งต่อให้แต่ละเครือข่ายได้นำไปใช้ต่อไป จากการประชุมเชิงปฏิบัติการในวันที่ 28-29 สิงหาคมที่ผ่านมา ณ พื้นที่ ท่องเที่ยวชุมชน จังหวัด สงขลา

เราได้ ได้รับการอบรมเชิงวิชาการจากสมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ TRTA นำโดย ดร.ปรัชญากรณ์ ไชยคช และ คุณปณต ประคองทรัพย์ ที่ได้ให้ความรู้ ในประเด็น การจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน .ในหัวข้อหลักๆ ในแต่ละมิติของความยั่งยืนให้กับทีมงานเครือข่ายงดเหล้า เพื่อให้ทีมเครือข่ายได้นำไปใช้อ้างอิงในวันรุ่งขึ้น ที่ทางทีมงานจะต้องลงพื้นที่ชุมชนเพื่อชมตัวอย่างของพื้นที่มีผลงานเชิงประจักษ์แล้ว เช่น พื้นที่ชุมชนบางกล่ำ วัดคูเต่า ของจังหวัดสงขลา เพื่อให้ได้เห็นภาพจากสถานที่จริงเพื่อให้เกิดการจำและเข้าใจในทฤษฎีมากขึ้น ทั้งนี้ในหัวข้อหลักๆในการอบรม สิ่งที่ท่านอาจารย์แนะนำและตรงกับที่โครงการเราพยายามทำมาตลอดก็คือ ชุมชนจำเป็นที่จะต้องฝึก ทั้งด้วยตนเองหรือผ่านการทดลองเที่ยวจากทีมโคชอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการเรียนจากการทำงานจริง และจากการวิจัยของคณะทำงาน TRTA ที่แนะนำว่าพลังของชุมชนตามแบบภาคี 4+1 นั้นก็สอดคล้องกับโมเดล พอสมควร คือ หากได้พลังของชุมชนเข้ามาทำงานโดยปราศจากข้อขัดแย้งทางการเมืองจะพบว่าชุมชนจะเดินงานได้อย่างคล่องตัว แต่ก็ยังคงมีปัญหาสำคัญอย่างที่ทราบกันดีว่าชุมชนมักจะขาดคนทำงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ ดังนั้นทางโครงการส่วนกลางได้เสนอแนวคิดไปว่า จะสร้างทีมงานเพื่อให้ทางชุมชนได้เลือกใช้ และ จะเน้นการสร้างกิจกรรมสนับสนุนจากส่วนกลางเพื่อให้เกิดการทดลองเที่ยวอย่างเป็นระบบต่อไป และ เพื่อเป็นการตอบโจทย์เชิงสุขภาพและ แก้ปัญหา ในเชิงการหาทีมงานคนรุ่นใหม่ ดังนั้นทางโครงการจึงได้เสนอ ให้ทาง ทีมทำงานของแต่ละภาคแต่ละชุมชน หาโอกาสในการเชื่อมโยงกับฐานศึกษา ในพื้นที่ เพื่อเป็นการสื่อสารประเด็นสุขภาวะแล้วค้นหาแนวร่วมคนรุ่นใหม่ เข้ามาทำงานให้กับชุมชนตนเองด้ว

ในส่วนการเรียนรู้จากสถานที่จริง ทางคณะทำงานได้ไปดูตัวอย่างจริง ณ พื้นที่ชุมชนวัดคูเต่า วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำ และ ที่ ชุมชนโคกเมือง พร้อมกับได้รับฟังการให้ความรู้โดยแกนนำชุมชน เพื่อให้ทีมงานคณะทำงานของภาคต่างๆ ได้นำความรู้ที่ได้เรียน และ สิ่งที่ได้เห็นนำไปใช้งานยังพื้นที่ของตนเอง ที่จะพบเห็นอย่างชัดเจนเลยแต่ละชุมชนจะสร้างธุรกิจที่เป็นสินค้าขึ้นมาเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนนอกจากจะรอแค่การสร้างรายได้จากบริการการท่องเที่ยวเป็นอย่างเดียว ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า การทำธุรกิจท่องเที่ยวนั้น นอกจากจะขายเน้นบริการการท่องเที่ยว แต่หากต้องการความยั่งยืน อย่างที่เห็นจากชุมชนต่างๆ ในบางกล่ำ นั้น ชุมชนควรสร้างสินค้าขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งหารายได้อีกทาง ทั้งนี้กิจกรรมชุมชนจะเข้มแข็งได้จำเป็นต้องมีการฝึกและทดลองอย่างบ่อยๆ โดยควรมีทีมโคชพี่เลี้ยงคอยดูแล และ เพื่อให้เกิดการตอบโจทย์ในประเด็นสุขภาวะโดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ของ สสส. และ เพื่อให้เกิดระบบการค้นหาคนรุ่นใหม่ในชุมชนเพื่อเข้ามาช่วยเหลืองานด้านการประชาสัมพันธ์ของสื่อยุคใหม่ ดังนั้นการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกับสถานศึกษาในชุมชนจึงเป็นแนวทางที่น่าจะเหมาะสมสำหรับการเดินงานของกลุ่มชุมชนการท่องเที่ยวโดยรวม

บทสรุป: การประชุมครั้งนี้ไม่เพียงแต่เสริมสร้างความรู้ด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน แต่ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และการดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างการท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืนและส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนไปพร้อมกัน

#สสส #สคล #เสริมพลัง #วัฒนธรรมสร้างสุข #ท่องเที่ยวปลอดภัย

กองบรรณาธิการ SDNThailand