ภาคเหนือตอนล่าง จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการดำเนินงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของดีและการค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชนด้านการท่องเที่ยวชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเครือข่ายเป้าหมายประกอบด้วย ทีมงานจากเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวจากอำเภอเมืองจังหวัดตาก อำเภอทุ่งเสลี่ยมจังหวัดสุโขทัย และชุมชนท่องเที่ยวจากตำบลห้วยไร่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมทีมผู้บริหารจากเครือข่ายองค์กรงดเหล้าส่วนกลาง เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคเหนือตอนล่าง เคืรอข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดตากและจังหวัดสุโขทัย จำนวนมากกว่า 50 คน
นายพายับ แสงทอง ผู้ประสานการท่องเที่ยวภาคเหนือตอนล่าง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการดำเนินงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของดีและการค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชน ภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เช่น บ้าน วัด โรงเรียน สถานบริการสาธารณสุข มุ่งสู่ความเข้มแข็งของชุมชนและการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน และเป้าหมายอีกประการหนึ่งที่สำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนและนักท่องเที่ยว สสส.ขอเชิญชวนและประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้การจัดกิจกรรมท่องเที่นวชุมชน รวมถึงการจัดงานบุญประเพณีที่สำคัญ มุ่งเน้นกิจกรรมการลดปัจจัยเสี่ยง ในการไม่ สูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ ประกาศเชิงนโยบายวัด ปลอดเหล้าและบุหรี่ตามกฎหมาย รวมถึงการพัฒนายกระดับเสริมสร้างความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในการเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวระหว่างวัด กับชุมชนภายใต้ความมีส่วนร่วมดำเนินงานของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ดังเช่นกิจกรรมด้านการท่องเที่นวชุมชนของวัดโฆษาท่าช้าง ตำบลห้วยไร่ แห่งนี้
พระครูถาวรพัชรกิจ เจ้าอาวาสวัดโฆษาท่าช้าง กล่าวว่า การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลห้วยไร่ หล่มสัก เพชรบูรณ์เป็นตำบลที่มีวัฒนธรรมวิถีถิ่น ที่น่ามาเยี่ยมเยือนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันได้ทั้งปี
มี 13 หมู่บ้าน เป้นชาวลาวอพยบมาจากเวียงจันทร์ การแต่งกายมีเอกลักษณ์เฉพาะคล้ายชาวลาวใส่ผ้าซิ่น รวมทั้งความหลากหลายอาชีพ โดยส่วนใหญ่เป็นชาวเกษตรกรรม มี “บุญเจดีย์ข้าว” หลังเก็บเกี่ยวนาปี และมีงานบุญฮีดสิบสองคองสิบสี่ มีการพัฒนาอาชีพทอผ้าฝ้าย และตัดเย็บผ้าฝ้าย ชื่อหัตถกรรม “ขิตโฆษา” อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้าน เชิญชวนนักท่องเที่ยวได้แวะมเยี่ยมเยือน ยินดีต้อนรับยิ่ง
นอกจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางชุมชนท่องเที่ยวไทยชนะศึก ชุมชนริมธารา ชุมชนห้วยกรด ชุมชนไม้งาม ได้มีการถอดบทเรียนจากการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนปลอดภัยลดปัจจัยเสี่ยง บทเรียนที่ได้ คือการบริหารจัดการชุมชนเข้าสู่มาตรฐานโฮมเสตย์ไทย ท่องเที่ยวลดคาร์บอน “เที่ยวรู้คุณค่ารักษ์โลก รักษ์วิถีไทย” มีการพัฒนางาน คาร์ฟจากผ้าไทย มีการรังสรรค์เมนูสุขภาพด้วยอาหารพื้นถิ่นให้มีความน่ากิน มีการจัดจานที่สวยงาม มีการพัฒนาตลาดพื้นถิ่นให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อเป็นของฝาก นอกจากนี้ยังทำให้คนเลิกเหล้า คนหัวใจเพชรมีกิจกรรมทำ มีการเรียนรู้การกินตามธาตุ พัฒนาอาหารให้เป็นยา