เมื่อวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2566 ทางโครงการได้ลงทำงานฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ พื้นที่ อำเภอเมืองน่าน อีกครั้ง
ทั้งนี้กิจกรรมท่องเที่ยวเสริมพลังวัฒนธรรมสร้างสุข มีเป้าหมายหลักคือการบูรณาการทุกภาคส่วนเข้าร่วมด้วยกันให้มากที่สุดเพื่อสร้างผลลัพธ์เขิงวัฒนธรรมที่สร้างความสุข และ สร้างความยั่งยืน โดยผลลัพธ์ของการทำงานร่วมกัน ของ สองภาคี หรือ มากกว่านั้น จะได้ผลงอกงามที่เรียกว่า 1 + 1 ควรมากกว่า 2
โดยผลลัพธ์หลักที่วางไว้ในครั้งนี้ของกิจกรรมท่องเที่ยวเสริมพลังวัฒนธรรมสร้างสุขจังหวัดน่าน คือโครงการและทีม Voluntist เราต้องการสร้างต้นแบบพื้นที่ creative Space ของชุมชนเยาวชนและคนทุกรุ่นจังหวัดน่าน หรือ คนสามวัย ต่อยอดจากการที่เราสร้างเส้นทางท่องเที่ยวไว้แล้ว เพื่อเป็นที่พัฒนาทักษะที่สำคัญกับสัมมาอาชีวะโดยได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ตัวอย่าง และก็ยังเป็นการส่งต่อ ทำให้เกิดการบันทึก ความรู้เชิงวัฒนธรรมเชื่อมโยงจากรุ่นสู่รุ่นผ่านกิจกรรมนี้ไปในตัว ขณะเดียวกันก็จะเป็นแหล่งให้ความรู้เรื่องพิษภัยเหล้าบุหรี่กับเยาวชนด้วยเช่นกัน โดยกิจกรรมนี้กำกับและออกแบบโดยการทำงานร่วมกันของคุณภัทราภรณ์ ปราบริปู คุณเพลินจิต พ่วงเจริญ คุณธนากร แสนคำสอ และ คุณวิญญู ศรีศุภโชค ตัวแทนโครงการเสริมพลัง และ Voluntist
และในกิจกรรมเราก็ยังวางผลลัพธ์รอง คือการได้ทดลองเส้นทางกิจกรรมท่องเที่ยวโดยจักรยานที่โครงการได้มีส่วนร่วมพัฒนา โดยเราได้เข้าร่วมกับกิจกรรมท่องเที่ยวโดยจักรยานรอบเมืองน่านกับกิจกรรมปั่นไปบอกฮักน่านของชมรมจักรยานเมืองน่าน ที่มีท่านรองผู้ว่า กฤชเพชร เพชระบูรณิน เป็นประธาน
ทั้งนี้ผลสำเร็จที่ได้มาจากการทำกิจกรรมทั้งสองส่วนดังกล่าวในครั้งนี้คือการเกิดตัวอย่างกิจกรรมใหม่คือการสร้างพื้นที่เรียนรู้ และ creative space ให้เกิดขึ้นมาเป็นตัวอย่าง และ เราได้เห็นการทำงานเชื่อมกันของคนสามวัย อย่างชัดเจนได้ในครั้งนี้ คือ เยาวชน จะเป็นคนทำงานแถวหน้า คนวัยทำงานจะทำงานในเชิงการประมวลผล กำกับกิจกรรม ส่วนคนวัยสูงอายุ จะเป็นคนคอยให้ความรู้ที่ตนมี และ กำกับทิศทางให้กับคนรุ่นถัดไป
โดยตัวอย่างของคำชม และ คำแนะนำจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ อาทิ คุณจิตตรง พัฒนศิริ ผู้จัดการจากร้านเลมอนฟาร์ม และ ผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม ต่างมีความพอใจในประเด็นการนำของดีของชุมชนที่เป็นของเก่าออกมาให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัสแทนตนเองที่ไม่สามารถทำได้ ส่วนคุณ Joelle Fidan นักท่องเที่ยว ก็รู้สึกชอบที่ได้ประสบการณ์จากการได้ร่วมทำขนมจ๊อก ขนมสูตรดั้งเดิมของน่าน ถึงขนาดต้องนำกลับไปกินที่กรุงเทพต่อจำนวนมาก ส่วนด้านคำแนะนำพบว่า หลายท่านอยากให้การนำเสนอในกิจกรรมบางส่วนเช่นทอผ้า มีความกระชับมากขึ้น เป็นต้น
แผนงานของโครงการเสริมพลังนี้ในลำดับถัดไป ในประเด็นพื้นที่เรียนรู้ และ Creative space ทางโครงการจะพัฒนาจนไปถึงการสร้างหลักสูตรเข้าถึงสถานศึกษาในช่วงวิชาเรียนวิชารู้ ให้ เยาวชน หรือ คนวัยอื่นๆ ได้เข้ามาร่วมกัน สร้างการรักษา พัฒนา ต่อยอด ต้นทุนของชุมชน และ ให้ความรู้เรื่องสุขภาวะไปในตัว โดยจะใช้ชื่อโครงการ ล่องน่าน เป็นโครงการนำร่อง ของการสร้างหลักสูตรนี้ ในพื้นที่จังหวัดน่าน
เหตุที่เลือกเริ่มต้นขึ้นที่นี่ เพราะ จังหวัดน่านนี้ มี การรวมกลุ่มของเยาวชน และ คนสูงวัยที่เข้มแข็ง ส่วนคนวัยทำงานแม้นจะยังไม่เข้มแข็งนัก แต่เนื่องจากมีคนวัยทำงานของภาครัฐมาช่วยเสริมหลายองค์กรณ์ จึงทำให้วิเคราะห์ได้ว่า มีความเข้มแข็งของคนสามวัยที่สูง
แล้วยิ่งเมื่อโครงการ Application นำเที่ยวของมูลนิธิทองทศฯ และ ชมรมจักรยานน่านแล้วเสร็จ น่าจะเป็นจุดประกายที่สำคัญอย่างยิ่งในจังหวัดนี้ในการทำให้ภาพของคำว่า บูรณการ หรือ 1+1 ควรมากกว่า 2 ชัดขึ้น
#วัฒนธรรมสร้างสุข ต่อคนทั้งมวล
#ท่องเที่ยวปลอดภัย เสริมพลังชาวน่านและชาวเรา