จากการที่ใช้เวลาระยะหนึ่งในการรวบรวมของดี คนดี และ วิเคราะห์ ทดลอง ระดมความคิดเพื่อเชื่อมโยงของดี คนดี เหล่านั้น โดยเน้นในพื้นทีภาคกลาง ของเครือข่ายประชาคมงดเหล้าภาคกลาง
เราก็พบว่า ของดี ของชุมชนหนึ่ง สามารถ เชื่อม หรือช่วย ของดี ของอีกชุมชนหนึ่งได้
และ ด้วยพลัง บวร. ที่เครือข่ายในภาคกลางเราในหลายชุมชนนั้นขับเคลื่อนโดยพระสงฆ์ และหนุนเสริมด้วยคนหัวใจเพชร ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างความแข็งแกร่งของกิจกรรมหรือชุมชนได้จากพลังศรัทธาได้เลย แต่เพื่อให้พลังศรัทธาที่ว่านี้สามารถขับเคลื่อนไปพร้อมกับพลังปัญญาในทางโลกด้วย ซึ่งก็คือ สัมมาอาชีวะ ดังนั้น ในพื้นที่งานภาคกลางของโครงการวัฒนธรรมสร้างสุขจึงจะเน้นการขับเคลื่อนด้วยพลัง บวร. และ เครือข่าย
ในพื้นที่บ้านจาน หนองนาก ก็เช่นกัน เราทำงานบนพื้นที่งาน อบต. หนองนาก ร่วมกับการทำงานของเครือข่ายโดยคุณอารีย์ เหมะธุลิน ร่วมกับประชาคมหนองนาก คุณสมคิด มลิวัลย์ และ การเชื่อมโยงเสริมหนุนจากฝั่งงานพื้นที่ลพบุรี นำโดย คุณภรธิดา เวียงสงค์
ทั้งนี้ได้เลือกจุดเชื่อมโยงที่น่าจะขยายผลได้กว้างขวาง คือ โรงเรียนหนองครก และ วัดหนองครก เป็นจุดเชื่อมโยง บนฐานทุนเดิมที่ทีม สคล. ได้ทำงานงานบุญปลอดเหล้าไว้แล้ว และ มูลนิธิทองทศฯ ก็ทำงานร่วมกับ Voluntist ในการส่งอาสาสมัครชาวต่างชาติไปสอนภาษาอังกฤษไว้แล้ว อีกทั้งที่ โดยทำงานร่วมกับท่าน ผอ. สมคิด จันขุนทศ และยังตั้งอยู่ในเขต อบต. หนองนาก ที่เป็นพื้นที่เดียวกับที่ บ้านจาน ที่คนหัวใจเพชรมีความเข้มแข็ง
จึงได้วางแผนร่วมกัน ได้ความเห็นว่า การสร้างกิจกรรมที่เป็นจุดเรียนรู้ ในการทำฟาร์มเห็ด และ การสร้างร้านค้าจำลอง ใน โรงเรียน เพื่อสร้างเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างจิตสำนึกให้เด็กประถมวัย ผ่านกิจกรรรมในแต่ละทริปท่องเที่ยว เพื่อการป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ นั้นน่าจะ เป็นจุดดูงานที่สามารถทำงานกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอาสาได้ด้วย และ ยังสามารถทำงานกับการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติได้อีกต่างหากจากการที่มีอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่นอยู่ใกล้ใกล้ ซึ่งจะสอดคล้องกับกิจกรรมการจัดการขยะ และ ผักอินทรีย์ของชุมชนบ้านจาน ที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังจะได้ทำการใช้เชื้อเห็ดจากชุมชนโคกล้อ ของเครือข่ายประชมลพบุรีเข้ามาเป็นวัตถุดิบหลักของฟาร์มในการลงเห็ดในครั้งหน้าด้วย
ดังนั้นกิจกรรมครั้งนี้ วันที่ 13 ธันวาคม จึงใช้รูปแบบกิจกรรมตามที่ออกแบบนี้เป็นการทำทริปทดลองเที่ยวครั้งแรกของชุมชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
8.00 เดินทางออกจาก กทม.
10.30 เข้าไปอาสาสอน English หรือ ช่วบทำเกษตร กับนักเรียน หรือ ชุมชน
12.30 ทานอาหารเที่ยง ชุมชน
13.30 ไปน้ำตกสามหลั่น เพื่อ สัมผัสธรรมชาติใกล้เมือง
16.00 ไปพระพุทธฉาย เพื่อ สักการะรอยพระฉาย
18.00 กลับ กรุงเทพมหานคร
โดยในครั้งนี้ เราได้จิตอาสาไปร่วมงานจำนวน 8 ท่านจาก 6 ประเทศ ได้เข้าไปร่วมงานอาสาครั้งนี้
โดยในกิจกรรม เราได้รับคำติชมจากการพาไปทำทริปครั้งนี้ เช่น คุณ Elvira Brusel จาก Germany บอกว่า ธรรมชาติที่น้ำตกสามหลั่นสวยงามมาก และ ชอบการที่โครงการเราได้สร้างกิจกรรม การทำเห็ดมาเสริมในการสอน
ส่วนคุณ Marc Kolb จิตอาสา Stop Drink จาก Germany ให้ความเห็นว่า การพาคนเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ และให้รู้จักเรื่อว กม. และ กติกามากขึ้นนั้น เป็นกุศโลบายที่ดี
และ พอหลังจบโครงการ ทางคุณอารีย์ เหมะธุลิน ได้ดำริเพิ่มเติมว่า ในคราวถัดไปทางโครงการจะเพิ่มประเด็นขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น และ จะเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่จากเครือข่ายจังหวัดอื่น เข้ามาเรียนรู้ และ ช่วยทำสื่อไปในคราวเดียวกัน
ทั้งนี้ในเดือนมกราคม ทางพื้นที่บ้านจานจะได้รับการเข้ามาดูงานเรื่องการจัดการขยะ และ เกษตรอินทรีย์ ดังนั้นจึงจะเป็นกิจกรรมต่อไป ที่ทางโครงการวัฒนธรรมสร้างสุข จะเข้าไปหนุนเสริมผ่านการทำงานกลไกของชุมชนบ้านจาน