ร้านค้าปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ขายเหล้าวันพระใหญ่

ร้านค้า ร่วมมือปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่ออนาคตลูกหลานเยาวชนไทย มีสุขภาวะที่ดี

การดื่ม..อาจเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ยังมีคนอีกหลายคนที่ไม่เข้าใจ หรือว่าไม่สนใจ แต่ในสังคมปัจจุบัน ก็มีคนที่ให้ความร่วมือปฏิบัติตามเพิ่มมากขึ้น ขนาดบางคนที่ได้รับผลประโยชน์จากการที่มีคนดื่ม ก็ยังต้องจำนนท์กับผลกระทบร้ายแรงต่างๆที่เกิดขึ้น นับว่าเป็นผลพวงที่ก่อให้เกิดความสะเทือนใจอย่างมากมายในสังคมที่ผ่านมา

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หมายถึงเครื่องดื่มที่มีเอทิลแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ได้แก่ สุรา และเมรัย แอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเองอยู่ แต่เมื่อกินมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่นๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติในที่สุด

ประชาชนส่วนมากรับรู้ถึงมหัตภัยร้ายแอลกอฮอล์ ซึ่งก็ทำให้รัฐบาลและสังคมตระหนักมากขึ้น จึงออกเป็นกฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่อปี 2551 มีการห้ามขายในสถานที่ต่างๆ ห้ามขายในวันพระใหญ่ ได้แก่ วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันวิสาขบูชา และวันออกพรรษาด้วย ต้องขอขอบคุณประชาชน หน่วยงานต่างๆในสังคม อาจมีความตระหนัก รับรู้และตั้งใจ ให้ความร่วมมือที่จะปฏิบัติตามอย่าจริงจัง หวังให้เหตุการณ์ต่างๆได้บรรเทาเบาบาง ค่อยๆลดน้อยลงไปจากสังคมไทย

นางแก่นจัทร์ ชิดโคกสูง (พี่แอล) อายุ 50 ปี เจ้าของร้านชำในชุมชน อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เปิดใจถึงการปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ฯว่า การขายของให้คนในชุมชน พวกเขาก็ไม่ใช่ใครที่ไหน บางทีก็เป็นเครือญาติ เป็นลูกหลาน เป็นคนที่รู้จักกันทั้งนั้น เมื่อมีการรณรงค์ มีการประกาศออกมาแล้วเราก็รู้ว่าเหล้า บุหรี่ มันมีโทษ เขาให้ปฏิบัติตามกฎหมายเราก็ว่าดี ยิ่งมีเด็กๆมารณรงค์ มาทำความเข้าในเรื่อง พรบ.ควบคุมฯ เราก็ทำตาม ซึ่งมันก็เป็นกติกา เป็นความร่วมมือกันในชุมชน ทุกๆร้านค้า เราก็จะรู้กันดีว่าต้องไม่ขายวันพระใหญ่ ไม่ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี  ไม่ใช่พ่อแม่ใช้ลูกมาซื้อก็ขายไปส่งๆ ไม่ได้ บางทีเราก็ยังต้องไปเตือนผู้ใหญ่ด้วยว่าอย่าให้ใช้เด็กๆมาซื้อเหล้า ก็ต้องเตือนกันในชุมชนด้วย

“ในความรู้สึกเราเองไม่อยากปลูกฝังให้เด็กมีพฤติกรรมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่ายๆตั้งแต่วัยเด็ก คือถ้าเขาเคยมาซื้อแล้วเมื่อพวกเขาโตไปมันก็เหมือนกับ เขาเคยซื้อได้ง่ายๆ เหมือนมันจูงใจให้เด็กเยาวชน ทำได้อย่างเป็นเรื่องปกติธรรมดา ถ้าสังคมมีกฎกติกาอะไรขึ้นมาให้มันยากในการเข้าถึง เขาก็จะได้รู้เหมือนได้เป็นการปลูกฝังว่าเป็นเรื่องที่เด็กไม่ควรมาซื้อ ไม่สมควรดื่ม มีข้อห้าม พ่อแม่ผู้ปกครองก็จะได้ไม่ต้องใช้ให้มาซื้อ และเขาก็จะได้รู้ว่ามันไม่ใช่ง่ายที่จะเข้าถึงเรื่องพวกนี้ มันต้องห้ามสำหรับเด็กๆ ซึ่งพ่อแม่เขาก็ยิ่งสมควรต้องรับรู้ด้วย”

พี่แอล กล่าวต่อว่า เราเป็นร้านค้า ไม่ใช่อยากได้แต่เงิน เราก็ห่วงเด็กๆ ห่วงชุมชน สังคมของเราเหมือนกัน เราก็ต้องช่วยกันรับผิดชอบสังคมของเรา มีอะไรเกิดขึ้นจะได้ไม่ร้ายแรง เมื่อก่อนเคยเห็นเขากินเหล้ากันแป็บเดียวก็ตีกันแล้ว พอเมาเริ่มพูดไม่เข้าหู เริ่มขัดแย้งกันแล้วยิ่งเรื่องอุบัติเหตุก็มี รถล้ม เฉี่ยวชน เราก็เห็นกันอยู่ เมื่อเราปฏิบัติตามกฎหมาย ในสิ่งที่เขาห้าม สิ่งที่เขาเตือน มันก็แสดงว่ามันต้องมีบทเรียน มีประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเราก็ควรฟัง และขอเชิญชวนร้านค้าร่วมปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อเป็นแนวทางที่ดีร่วมกันต่อไป

นักสื่อสาร องค์กรสุขภาวะ