สสส.และ สคล. หนุน เครือข่ายงดเหล้าภาคกลางสร้างสุข จัดงานบุญประเพณีปลอดเหล้า หวังปรับสภาพแวดล้อม ปรับพฤติกรรมประชาชน สกัดนักดื่มหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี สำหรับการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ไร้แอลกอฮอล์ โดยสนับสนุนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกด้วย
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมาในงานทอดกฐินปลอดเหล้า ณ วัดโคกสำเริง ตำบลมะกอกหวาน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี นายวิษณุ ศรีทะวงศ์ ผู้จัดการแผนงานนโยบายสาธารณะฯ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) เปิดเผยว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สนับสนุนการจัดงานมหกรรมภาคกลางสร้างสุข “งานบุญประเพณีปลอดเหล้า” โดยสำนักงานเครือข่ายงดเหล้า(สคล.) โดยเครือข่ายประชาคมงดเหล้าภาคกลางและกทม. พร้อมทั้งเครือข่ายสังฆะเพื่อสังคม ซึ่งเริ่มต้นรณรงค์จากงดเหล้าเข้าพรรษา และก็ขยับมาทำงานประเพณีเทศกาลสงกรานต์ เพราะเป็นเทศกาลที่มีคนตายเยอะที่สุด และขยับมางานบุญปลอดเหล้าต่างๆ งานทอดกฐินปลอดเหล้า ขณะนี้หลายจังหวัดเริ่มขยับมาเป็นการประกาศเป็นนโยบายสาธารณะจากเดิม งานบุญประเพณีที่เคยเต็มไปด้วยคนเมาและกิจกรรมส่งเสริมการขายเหล้าเบียร์ ก็สามารถปรับเปลี่ยนค่านิยมทางสังคมได้ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่ดีในการยกระดับแนวทางการขยายผล ในการจัดงานบุญปลอดเหล้า ไม่เพียงได้สุขภาพที่ดี ยังได้ภาพลักษณ์ที่ดี ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย เพราะไร้แอลกอฮอล์ ช่วยลดคนเมา ทะเลาะวิวาท อุบัติเหตุ และอาชญากรรม ต้อนรับการผ่อนปรนจากสถานการณ์ของโควิด-19 ซึ่งสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศได้เป็นอย่างดี
พระอธิการทนง ธัมมิโก เจ้าอาวาสวัดหนองกระเบียน จังหวัดลพบุรี กล่าวว่า การทำงานของทางวัดหนองกระเบียน พวกเราทำงานแบบต่อเนื่องทำให้เครือข่ายของเราอยู่กันเพื่อทีจะสร้างสังคมดี ๆ ทำคนเดียวไม่สำเร็จ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วม 3 ส. คือ เสียสละ สามัคคี ส่วนรวม การมีส่วนร่วม เรายึดหลัก บวร ชาวบ้าน พระสงฆ์ หน่วยงานราชการ จึงทำให้ชุมชนของวัดหนองกระเบียนของเราสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี กิจกรรมของชุมชนเราก็จะเป็นการขับเคลื่อบเรื่องงานปลอดเหล้า งานศพปลอดเหล้า งานบวชปลอดเหล้า งานแต่ปลอดเหล้า การทำงานปลอดเหล้าเรายึดหลักธรรมะเป็นการปฏิบิตร่วมกัน เราใช้การดำเนินการแบบเรียบง่ายไม่หรูหรา ใช้ของที่จำเป็นและไม่ยุ่งยาก ทำให้เราประหยัด ประโยชน์สูงสุดเราได้ทำตามวัตถุประสงค์ของเราคือการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเรียบร้อยเมื่อการจัดงานปลอดเหล้า ทุกคนก็จะปลอดภัย
ในขณะที่คุณน้ำทิพย์ กุลเกษตร นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการจังหวัดลพบุรีกล่าววว่าที่ผ่านมาวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรีเรามี MODEL ที่ชัดเจนในการทำงานร่วมกันกับสสส.และเครือข่ายงดเหล้า การที่เราทำงานด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ สำนักงานวัฒธรรมเราก็ใช้หลัก บวร ในการขับเคลีอนงานเช่นกัน การทำงานเรื่องของการรณรงค์ ถ้าเป็นงานบุญต้องปลอดเหล้า ถ้างานไม่ปลอดเหล้าไม่ใช่งานบุญ การนำสุราเข้ามาในพื้นที่ของการจัดงานบุญเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะการดื่มสุราไม่ใช่เรื่องปกติ ที่ผ่านมาเราเพิกเฉยกันมันมาจนคิดว่าเป็นเรื่องปกตินั่นเองเป็นกำลังใจให้กับทุกเครือข่ายและเราจะเดินหน้าตอ่ไปด้วยกัน ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกเครือข่าย และเราจะเดินหน้าต่อไปด้วยกัน
ผู้ใหญ่แฉล้ม เหลาผา แกนนำชุมชนปลอดเหล้า ต.กุดตาเพชร อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี เล่าถึงการทำงานในชุมชนว่า ในชุมชนได้เริ่มงานแรกคืองานศพปลอดเหล้า และทำให้เป็นตัวอย่างจนสามารถสร้างมาตรและการมีส่วนร่วมเกิดเป็นที่ยอมรับจนกลายเป็น model ระดับตำบล และขยับมาเป็นงานแต่งปลอดเหล้า โดยเลี้ยงน้ำส้มแทน เจ้าภาพที่เข้าร่วมโครงการสะท้อนว่า สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 30,000-50,000 บาท การทำงานในชุมชนได้ใช้กระบวนการ ช่วย ชม เชียร์ และตอนนี้จะได้มีคนเลิกเป็นหัวใจเพชร ผมรู้สึกตื้นตันใจ และร้านค้าทีอยู่ในชุมชนก็ร่วมโครงการงดเหล้าเข้าพรรษาด้วย คือไม่ขายเหล้าในวันพระ ก็อาจมีคนไม่พอใจ แต่ผมก็ยังทำต่อไปเรื่อย ๆ เพราะผลดีเกิดกับชุมชนที่เป็นสุข สิ่งที่จะต้องทำต่อไป คือต้องทำงานกับเยาวชน เพื่อสกัดนักดื่มหน้าใหม่ต่อไป
คุณจำรัส กลิ่นอุบล ประธานชมรมคนบวชใจงดเหล้าเข้าพรรษากล่าวว่า การทำงานของชุมชน กทม. เราพยายามเชื่อมโยงภาครัฐและเอกชนเข้าด้วยกันแต่พวกเราก็พยายามสร้างเครือข่ายหาคนทำงานที่มีใจร่วมกัน ทำได้น้อยแต่ค่อยๆ ขยับไป ในช่วงสถานการณ์เกิดโรคระบาดโควิด ทางทีม กทม. เห็นถึงความเดือดร้อนของพี่น้อง คนในกทม. ทั้งคนที่ต้องกักตัว กลุ่มเสี่ยงต่างๆ จึงจัดให้มีร้าน “ข้าวไข่เจียวที่เป็นมากกว่าข้าวไข่เจียว” สามารถซื้อในราคาที่อิ่มได้ทั้งครอบครัว เป็นการช่วยแบ่งเบาทุกข์ของคนเมืองในชุมชนหนาแน่น สามารถเชื่อมโยงกับการรณรงค์ชวนคนงดเหล้าเข้าพรรษาใช้โอกาสเพื่อประชาสัมพันธ์ และสนับสนุนให้เกิดการลด ละ เลิก ในชุมชนได้เป็นอย่างดี
ทางด้านนายทนงชัย บูรณพิสุทธิ์ ผู้ประสานงานภาคกลาง กล่าวว่า การจัดงานภาคกลางสร้างสุข งานบุญประเพณีปลอดเหล้าครั้งนี้ มีแนวคิดจัดเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานสรุปบทเรียนจากการจัดงานบุญประเพณีปลอดเหล้า อีกทั้งยังเป็นการนำเสนอเรื่องราวดีๆ ประเด็นเด่นๆ ที่มีการขับเคลื่อนให้เกิดงานบุญประเพณีปลอดเหล้าอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยมีเครือข่ายคนสู้เหล้า ต.พักทัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี, Model พลังบวร“วัดปลอดเหล้าปลอดพนัน” จังหวัดลพบุรี, ชมรมคนหัวใจเพชรบ้านจาน กับการปรับสภาพแวดล้อมชุมชน (งดเหล้า-ลดขยะในชุมชน ) จังหวัด สระบุรี, แหล่งเรียนรู้คนสู้เหล้า-ท่องเที่ยวปลอดเหล้าปลอดภัย จังหวัดปทุมธานี, ชุมชนจัดการตนเอง จังหวัดอ่างทอง, ชุมชนคนสู้เหล้า-หมู่บ้านศีล 5 บ้านบัวทอง จังหวัดนนทบุรี, ลดนักสูบ นักดื่มหน้าใหม่ จังหวัดอยุธยา, บุญประเพณีเข้าพรรษา+ข้าวไข่เจียวอิ่มสุข+ของดีจากชุมชนจังหวัดนครนายกและกทม. ร่วมกิจกรรมครั้งนี้