งานประเพณีแข่งขันเรือยาว แห่ปราสาทผึ้งออกพรรษา จ.สกลนคร พื้นที่สร้างสรรค์ และปลอดภัยสำหรับทุกคน

งานประเพณีแข่งขันเรือยาว แห่ปราสาทผึ้งออกพรรษา จ.สกลนคร

วันที่ 11-18 ตุลาคม 2567 จังหวัดสกลนคร จัดงานประเพณีแข่งขันเรือยาว และแห่ปราสาทผึ้ง ประจำปี 2567 ณ บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (สระพังทอง )สกลนคร และสนามหน้าศูนย์ราชการจังหวัดสกลนคร โดยมีการจัดงานแข่งขันเรือยาวในวันที่ 12-13 ตุลาคม และงานแห่ปราสาทผึ้่ง ในวันที่ 12-18 ตุลาคม

นายโกมุท ทีฆธนานนท์ นายกเทศมนตรีนครสกลนคร หน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดงาน ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดสกลนคร มีการดำเนินงานภายใต้แผนสืบสานงานประเพณีที่ดีงามของจังหวัดสกลนคร ในขณะเดียวกันก็มีแผนการป้องกันความเสี่ยงต่าง ไม่ให้เกิดขึ้นในระหว่างการจัดงาน ทั้งเรื่องอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท การจมน้ำ รวมถึงการละเมิดกฎหมายต่างๆ ด้วย

ในงานแข่งขันเรือยาว ตั้งแต่เวลา เวลา 10.00 – 17.00.น. นายเทอดศักดิ์ จุลนีย์ สาธารณสุขอำเภอเมืองสกลนคร ได้มีการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ออกปฏิบัติงาน รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ตาม พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และ พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ในงานประเพณีแข่งขันเรือยาว “ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” จังหวัดสกลนคร ประจำปี 2567 ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (สระพังทอง) “ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปลอดบุหรี่ ปลอดการพนัน” โดยการติดป้ายประชาสัมพันธ์ รอบบริเวณงาน และประชาสัมพันธ์ผ่านโฆษกประชาสัมพันธ์งานและนักพากษ์เรือยาวตลอดทั้งวัน

หน่วยงานที่ร่วมดำเนินการ ประกอบไปด้วย ผอ.ปภ.เขต 7 สกลนคร นายอำเภอเมืองสกลนคร/ นายกเทศมนตรีนครสกลนคร/ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร ภาคีเครือข่ายจาก ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองสกลนคร/โรงพยาบาลสกลนคร/สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร/เทศบาลนครสกลนคร/วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร/สาธารณสุขอำเภอเมืองสกลนคร/อสม.ชุมชนเมืองเทศบาลนครสกลนคร เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอีสานตอบน(สคล) และประชาคมงดเหล้าจังหวัดสกลนคร ดำเนินกิจกรรม

  1. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวัง ป้องกัน และบังคับใช้กฏหมายตาม พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และ พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560
  2. การรณรงค์การป้องกันการจมน้ำ
  3. การเก็บข้อมูล แบบสอบถามความคิดเห็นฯ สำหรับประชาชนทั่วไป 200 ชุด เยาวชน 100 ชุด เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน 50 ชุด และ ผู้ประกอบการร้านค้า 50 ชุด รวมทั้งมด 50 ชุด รวมทั้งสิ้น 400 ชุด

สกลนคร เป็นเมืองแห่งประเพณีวัฒนธรรม ที่ผสมผสานความเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ และกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับทุกกลุ่มวัยจริงๆ ไม่ว่าจะกิจกรรมช่วงงานแข่งเรือตอนกลางวัน หรือกิจกรรมในพื้นที่งานปราสาทผึ้งตอนกลางคืน เช่น

  1. บูธตัดผมและทำผมฟรีในสวนฯ ภายในงานแข่งเรือ
  2. การแสดงดนตรีพื้นเมือง จากสถานศึกษาต่างๆ
  3. การออกบูธให้ทดลองทำดอกผึ้ง และติดดอกผึ้ง
  4. กิจกรรมศิลปะ วาดภาพ ระบายสี และเขียนข้อความอธิษฐาน
  5. บูธแสดงสินค้าและลานอาหารปลอดภัย
  6. มุมถ่ายรูปประดับไฟสวยงาม ทั่วบริเวณงาน

นอกจากนี้ยังเน้นความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งเรื่องของการป้องกันภัยต่างๆ และจุดปฐมพยาบาลเกือบ 4-5 จุด ทั่วบริเวณงาน มีความเป็นพหุวัฒนธรรม ความเป็นเอกลักษณ์ สินค้า ของดี ความสามารถ ความร่วมมือจากส่วนต่างๆ ทั้ง ชุมชน วัด หน่วยงาน สถานศึกษา ของกลุ่มต่างๆ มารวมกันอยู่ในงานๆเดียวได้ อย่างลงตัว


ภาพ/ข่าว : นาฎชฎา แจ้งพรมมา เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอีสานตอนบน

จนท.แผนงานนโยบายสาธารณะและสื่อสารองค์กร เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานตอนบน