เชิดพงษ์ แก้วเอ้ย ผู้ประสานงานประชาคม จังหวัดแพร่ (กลุ่มเรือนเพาะชำ)
เมื่อพูดถึงคนทำงานด้านเยาวชนในจังหวัดแพร่ ย่อมมีชื่อกลุ่มเรือนเพาะชำอยู่ในอันดับต้นๆและเมื่อพูดถึงกลุ่มเรือนเพาะชำ ก็นึกถึงเชิดพงษ์ แก้วเอ้ย หรือที่เด็ก ๆเรียกว่า “พี่ธม” คนเมืองแพร่ที่ออกไปเรียนหนังสือและทำงานด้านการฝึกอบรมต่างถิ่นนับสิบปี แล้วนำวิทยากรยุทธที่ฝึกฝนกลับมาทำงานในบ้านเกิดเมืองนอน โดยตั้งกลุ่ม “เรือนเพาะชำ” เพื่อทำงานฝึกอบรมเยาวชน ซึ่งแม้เวลาผ่านมาสิบปีแล้ว เขายังทำงานฝึกอบรมเป็นหลักแล้วขยายเนื้อหาการฝึกอบรมจากเรื่องเพศศึกษาเชื่อมโยงสารเสพติดสู่เรื่องแอลกอฮอล์ จึงได้นำพาเขามาทำงานให้ประชาคมงดเหล้าจังหวัดแพร่ จนเป็นผู้ประสานงานประชาคมจังหวัดแพร่ในที่สุด
“ผมเริ่มกลับมาทำงานในจังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ.2550 โดยตั้งกลุ่มเรือนเพาะชำ ทำงานประเด็นขับเคลื่อนเรื่องเพศศึกษากับกลุ่มอาชีวศึกษาแพร่และโรงเรียนมัธยมระดับอำเภอในจังหวัดแพร่ พอทำเรื่องเพศไปก็พบว่า ต้นเหตุของปัญหาเรื่องเพศในวัยรุ่น “ท้อง-ทิ้ง-แท้ง” ส่วนหนึ่งมีปัจจัยมาจากเรื่องเหล้าพอได้คุยกับน้อง ๆ ที่เผชิญสถานการณ์ท้องไม่พร้อมก็พบว่า มันเริ่มมาจาก “วันนั้นหนูเมาค่ะ” “วันนั้นผมเมาครับ” ต่อมาในปี พ.ศ.2553 ผมเริ่มทำงานขับเคลื่อนลดละเลิกเหล้า ร่วมกับทางเครือข่ายองค์กรงดเหล้าโดยใช้ต้นทุนจากการทำงานเรื่องเพศทำกิจกรรม “เล่าเรื่องเหล้าออนทัวร์ในรั้วโรงเรียนไ ไปทุกโรงเรียนในอำเภอ โดยใช้กระบวนการสร้างนักเรียน แกนนำแต่ละโรงเรียน เพื่อไปขับเคลื่อนต่อ และไปร่วมกับเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานสงกรานต์ปลอดเหล้า งานลอยกระทงปลอดเหล้า”
เชิดพงษ์ เล่าประวัติแบบย่อของตนเอง
กลุ่มเรือนเพาะชำ รับออกแบบการอบรมและทำงานฝึกอบรมด้วย ดังนั้นเมื่อมีผู้ติดต่อให้เราไปทำงานด้านยาเสพติด เราก็จะเอาเรื่องเหล้าไปใส่ใส่ทุกครั้งเพราะมันอยู่ในเนื้อในตัวเราและเรารู้ว่าเหล้าเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ในวัยรุ่น
พอได้คุยกับน้อง ๆ ที่เผชิญสถานการณ์ท้องไม่พร้อมก็พบว่า มันเริ่มมาจาก “วันนั้นหนูเมาค่ะ” “วันนั้นผมเมาครับ” ต่อมาในปี พ.ศ.2553 ผมเริ่มทำงานขับเคลื่อนลดละเลิกเหล้า ร่วมกับทางเครือข่ายองค์กรงดเหล้าโดยใช้ต้นทุนจากการทำงานเรื่องเพศทำกิจกรรม “เล่าเรื่องเหล้าออนทัวร์ในรั้วโรงเรียนไ ไปทุกโรงเรียนในอำเภอ โดยใช้กระบวนการสร้างนักเรียน แกนนำแต่ละโรงเรียน เพื่อไปขับเคลื่อนต่อ และไปร่วมกับเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานสงกรานต์ปลอดเหล้า งานลอยกระทงปลอดเหล้า” เชิดพงษ์ เล่าประวัติแบบย่อของตนเอง
กลุ่มเรือนเพาะชำ รับออกแบบการอบรมและทำงานฝึกอบรมด้วย ดังนั้นเมื่อมีผู้ติดต่อให้เราไปทำงานด้านยาเสพติด เราก็จะเอาเรื่องเหล้าไปใส่ใส่ทุกครั้งเพราะมันอยู่ในเนื้อในตัวเราและเรารู้ว่าเหล้าเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ในวัยรุ่น
เยาวชน เป้าหมายการแย่งชิง
เยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องด้วยเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่น กล่าวคือ หากเยาวชนรายใดเป็นลูกค้าเครื่องดื่มชนิดนั้นก็จะมีการบอกต่อเพื่อนฝูงทั้งแบบปากต่อปาก และผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ยิ่งถ้าติดใจหรือเสพติดก็จะซื้อซ้ำ เพิ่มยอดขายได้โดยไม่ต้องเสียงบโฆษณาเพิ่ม
นายเชิดพงษ์ เล่าว่าขณะนี้การต่อสู้เพื่อแย่งชิงพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น ในขณะที่ประชาคมงดเหล้าทำงานรณรงค์กับเยาวชนในโรงเรียนและลงสู่ชุมชนเพื่อสร้างชุมชนปลอดเหล้า ภาคธุรกิจแอลกอฮอล์ก็ทำงานเชิงรุกเช่นกัน
“เมื่อมีกฎหมายห้ามโชว์รูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตอนนี้ภาคธุรกิจแอลกอฮอล์ก็หันไปเล่นทางอื่น เขาโหมโฆษณาในงานคอนเสิร์ตและการจัดกิจกรรมทุกงาน ส่วนรูปแบบการโฆษณา ก็แยบยลขึ้น ตอนนี้ไม่มีโฆษณาที่บอกว่าเป็นเหล้า เครื่องดื่มแอลกกอฮอล์หรือขวดเหล้า แต่มีเนื้อหาเพื่อสังคมหรือเพื่อมิตรภาพ พอเราทำชุมชนปลอดเหล้า ภาคธุรกิจแอลกอฮอล์ก็จัดงานลดแลกแจกแถมลงไประดับหมู่บ้าน อีกหน่อยเขาคงจะทำโปรโมชั่นระดับงานบวช เช่น งานบวชลูกซื้อเหล้ามีเบียร์สดแถม” แต่จะทำได้มากน้อยแค่ไหนก็เป็นไปตามกฎหมาย ในตอนท้ายเป็นการประชดประชันที่ดูเหมือนจะไม่ไกลเกินจริงนัก
เยาวชนกับเยาวชน “พูดภาษาเดียวกัน”
“จังหวัดแพร่ เป็นอีกเมืองที่กินเหล้ามากที่สุด เด็ก ๆ ลืมตามาก็เห็นเหล้าแล้ว มันฝังอยู่เหมือนอยู่ในยีน เพื่อให้คนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลง เลยต้องไปสร้างทัศนคติตั้งแต่วัยเด็ก ผมเริ่มทำงานกับเด็กอายุน้อยลง ตอนนี้เริ่มทำกับเด็กประถมแล้ว ต่อไปคงต้องลงไปทำงานตั้งแต่เด็กอนุบาล สำหรับเด็ก ๆ เรามีกระบวนการให้รู้เท่าทันแอลกอฮอล์ โดยใช้ทักษะละคร นิทาน ละคร เกม สื่อ และเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ให้เด็กใส่แว่นจำลองเมาเพื่อให้สัมผัสประสบการณ์ว่า ถ้าเมาแล้วจะเป็นอย่างไร เช่น เสียการทรงตัวมองภาพทุกอย่างเบลอ เป็นต้น”
“เราป้องกันนักดื่มหน้าใหม่โดยใช้คนวัยเดียวกันไปคุยกับนักดื่มหน้าใหม่ เมื่อธุรกิจแอลกอฮอล์ใช้ความสวยเซ็กซี่ของพริตตี้ ของเราก็ต้องมีเยาวชนวัยใกล้เคียงไปคุยกับเขา เรามีเครื่องมือหลายอย่างเพื่อให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย ในกลุ่มเยาวชนผมทำค่ายอบรมใช้เวลา 2 คืน 3 วัน เพื่อพัฒนาแกนนำเยาวชน มีทั้งการให้ความรู้เท่าทันธุรกิจแอลกอฮอล์ สร้างพลังทีมทักษะการผลิตสื่อและทำละครเวทีเพื่อนำไปใช้กับเด็ก ๆ ในโรงเรียน”
งานรณรงค์งดเหล้า เป็นงานของเรา “ทุกคน”
“ผมคิดว่าการทำงานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องมีหลายส่วนทำร่วมกัน ทั้งภาคประชาชนและภาครัฐ ลำพังประชาคม งดเหล้าจังหวัดแพร่มีคนทำงานไม่ถึงสิบคน และมีชุมชนที่ทำงานด้วยกันแค่ 5 ชุมชน และลำพังเจ้าหน้าที่จากหน่วนงานภาครัฐ คนละคนสองคนคงไม่พอ ผมมองว่าในอนาคต ต้องร่วมกันทั้งหมด ผมมีจุดยืนคือนักดื่ม ซึ่งไม่ใช่ศัตรู แต่ต้องดื่มให้ถูกที่ ถูกเวลา ถูกวัย คนที่ติดแล้วต้องให้โอกาสเขาบำบัด และป้องกันคนหน้าใหม่ที่เขาต้องต่อสู้กับค่านิยมเก่าๆ หลายส่วนก็คงต้องช่วยกัน”
“ผมไม่ได้บอกว่าประชาคมหรือกลุ่มเรือนเพาะชำ ทำงานสำเร็จ เราเป็นแค่จุด ๆ หนึ่ง ที่ต้องหาแนวร่วมตลอด วันนี้ผมพอใจที่คนเริ่มรู้จักกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น และหลายชุมชนเริ่มลุกขึ้นมาทำกิจกรรมงดเหล้าเพื่อปกป้องลูกหลานของเขาเอง เช่น งานศพลดเหล้า หรือส่วนราชการเมื่อก่อนมีการจัดงานและเลี้ยงเหล้าในสถานที่ราชการ ตอนนี้ไม่ค่อยมีแล้ว ตำรวจก็รู้กฎหมาย ประชาชนก็รู้ว่าตรงไหนเป็นสถานที่ห้ามดื่ม เพราะมีป้ายมีสื่อติดไว้เต็มบ้านเต็มเมือง ถึงป้ายจะไม่ได้การันตีว่าคนจะเคารพและปฏิบัติตาม ผมคิดว่ามันต้องใช้เวลาไปอีกระยะหนึ่ง เหมือนกฎหมายบุหรี่ กว่าจะถึงวันนี้ที่ทุกคนปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ก็ใช้เวลาหลายสิบปี”
แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา จะสร้างข้อจำกัดหลายๆอย่างทั้งในเรื่องของกฎหมายการควบคุมโรคและคำสั่งของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 (ศบค.) ที่ประกาศเพื่อควบคุมสถานการณ์โรคระบาด ทางกลุ่มเรือนเพาะชำเองก็หาโอกาสการทำงานรณรงค์รูปแบบที่ต่างไปจากเดิม ในอีกมุมมอง มันเป็นโอกาสที่งานรื่นเริงสังสรรค์ การจัดงานอีเว้นท์ของบริษัทน้ำเมาลดลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันอุปสรรคด้านการจัดกิจกรรมที่ต้องชุมนุมคนจำนวนมาก ๆ ก็ต้องพลอยพักไปด้วย หลายกิจกรรมที่วางแผนไว้ว่าจะจัดจำต้องเลื่อนไปก่อน คนทำงานด้านเยาวชนหรือหลายอาชีพที่ต้องพบปะกับผู้คน คงต้องปรับยุทธวิธีเป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย อย่างผมก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุม การอบรม การสื่อสารกับสังคม ก็ต้องสื่อออนไลน์เข้ามาช่วย ถือว่าสื่อออนไลน์นั้นมีบทบาทเป็นอย่างมาก และเราเองก็ต้องเรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อเลือกเครื่องมือทำงานมาใช้กับกิจกรรมของกลุ่ม ให้เหมาะสมกับถานการณ์ หากใครที่สนใจแลกเปลี่ยนสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก กลุ่มผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ “เรือนเพาะชำ”
เรื่องและภาพ โดย ศุภกิตติ์ คุณา