วันที่ 25 สิงหาคม 2567 ณ วิทยาลัยเทคนิคระนอง ตำบลบางนอน อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ทางเครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดระนอง ร่วมกับ สำนักงานสาธารณนสุขจังหวัดระนอง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เครือข่ายสมัชชาสุขภาพระนอง วิทยาลัยเทคนิคระนอง และภาคเครือข่าย จัดงาน“สมัชชาสุขภาพและลานดนตรี.SDN MUSIC @ RANONG เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ สนุกได้ มันส์ได้ ไร้แอลกอฮอล์สู่นโยบายสาธารณะจังหวัดระนอง”
โดยมีประเด็นการขับเคลื่อนงานสมัชชาสุขภาพจังหวัด ในด้านการจัดการปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ และมีมติขอเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพจังหวัดระนอง ดังนี้
1.ประกาศให้การควบคุมปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เป็นวาระและวาระแห่งท้องถิ่น พร้อมทั้งคณะกรรมการฯ กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัดต่อไป
2.เสริมสร้างความเข้มแข็งและกลไกการควบคุมปัญหาจากบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ของจังหวัดระนอง
1)ดำเนินการให้มีกระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ นโยบายแอลกอฮอล์และบุหรี่ระดับจังหวัด โดยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปีและมาเสนอเพื่อการรับรองในการประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัดในปี 2567 แผนนโยบายแห่งชาตินี้จะต้องอยู่บนฐานความรู้ทางวิชาการและสอดคล้องกับวัฒนธรรมและศีลธรรม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
2)สนับสนุนกลไกการสร้างความร่วมมือของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าการพัฒนามาตรการ นโยบายใดๆ ที่มีหรืออาจจะมีผลกระทบต่อปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ รวมถึงการเจรจาข้อตกลงการค้าจะต้องเป็นไปเพื่อควบคุมปัญหา หรือไม่ เป็นเงื่อนไขหรืออุปสรรคต่อการควบคุมปัญหาจากบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป้นแกนหลักในการสนับสนุนให้เกิดกลไกความร่วมมือภาคส่วน และพัฒนานโยบายในการจัดการปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ระดับท้องถิ่น เครือข่ายทางด้านความรู้ พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สื่อรณรงค์ งบประมาณสื่อสารสาธารณะ และส่งเสริมให้พื้นที่เกิดความเข้าใจ ตระหนัก ตื่นตัวและเป้นเจ้าของปัญหาโดยสามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
4.ภาคการเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ระดับตำบล ทั้งด้านการกำหนดเป็นนโยบายระดับพื้นที่ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ สนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรมสร้างความตระหนัก การจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การกำหนดกติกาการสร้างแรงจูงใจและการบังคับใช้กฎหมาย
5.นักสื่อสารสาธารณะ สื่อมวลชนทั้งระดับพื้นที่และส่วนกลาง มีบทบาทในการนำเสนอกระบวนการการทำงาน ผลการดำเนินงาน กรณีศึกษาต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง รวมทั้งเป้นการหนุนให้เกิดกระแสความสนใจต่อประเด็นปัญหาในพื้นที่
6.ภาคธุรกิจ ผู้ปะกอบการเพื่อสังคม มีบทบาทเสริมศักยภาพเครือข่ายด้านสุขภาพ ทั้งด้านความรู้ การสร้างแคมเปญรณรงค์ การสร้างพื้นที่แบบอย่างที่ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเฝ้าระวังปละกระตุ้นกลไกด้านการบังคับใช้กฎหมาย
และมีกิจกรรมการแสดงดนตรีเด็กเยาวชนจังหวัดระนอง วง Pass Half Five โรงเรียนปากจั่นวิทยา จ.ระนอง วง Set Zero โรงเรียนกะเปอวิทยา จ.ระนอง และวง Me Skill โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จ.ระนอง รวมถึงมีเวทีการเสวนา “การขับเคลื่อนงานปัจจัยเสี่ยงแบบบูรณาการ สู่การยกระดับนโยบายสาธารณะ” และมีการรับความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายสารธารณะจังหวัดระนอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายต่อไป
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Facebook : เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน
Facebook : เครือข่ายงดเหล้า