วันที่ 5 เมษายน 2566 เทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดเวทีแถลงข่าวประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2566 “ตักสิลา มหาสงกรานต์ สืบสานมรดกไทย เล่นน้ำปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์” หรือ สงกรานต์ถนนข้าวเม่า จังหวัดมหาสารคาม ณ ตลาดหนองกระทุ่ม ชุมชนโพธิ์ศรี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
โดยกิจกรรมมีการแถลงข่าวจากหน่วยงานหลักที่ดำเนินการจัดงาน และการแสดงต่างๆ จากชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ซึ่งประเด็นพูดคุยมีดังนี้
1.ภาพรวมในการจัดงานประเพณีสงกรานต์ จ.มหาสารคาม
2. กิจกรรมในการจัดงานประเพณีสงกรานต์เทศบาลเมืองมหาสารคาม
3. การส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมในงานประเพณีสงกรานต์
4. ความร่วมมือด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการจัดงาน
5. การอำนวยความสะดวกและการรักษาความปลอดภัยในการจัดงาน
6. คุณค่าของประเพณีสงกรานต์ในสังคมชาวไทย
นายวิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวถึงภาพรวมในการจัดงานประเพณีสงกรานต์ จ.มหาสารคาม ว่า
“ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีเก่าแก่ ที่ต้องสืบสาน เปรียบเสมือนการก้าวขึ้นศักราชใหม่ คนไทยจึงถือว่าวันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ พี่น้องที่ไปทำงานต่างถิ่นก็ถือโอกาสวันสงกรานต์กลับบ้านมารวมตัว ทำบุญตักบาตร ไหว้พระขอพร รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ขอขมาผู้หลักผู้ใหญ่
ปีนี้มีการจัดงานร่วมกับอำเภอทุกอำเภอ โดยเฉพาะที่อำเภอนาดูน มีการจัดที่พระบรมมหาธาตุนาดูน ส่วนในเมืองมหาสารคาม มีการจัดงานเพียงวันเดียว แต่มีกิจกรรมแน่นตั้งแต่เช้ายันค่ำ”
นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม กล่าวถึง กิจกรรมในการจัดงานประเพณีสงกรานต์เทศบาลเมืองมหาสารคามในปีนี้ว่า
” วันที่ 13 เมษายน เป็นวันสำคัญสำหรับคนไทย ทางเทศบาลเมืองมหาสารคามก็ได้มีการจัดกิจกรรมทุกปี มีการจัดกิจกรรม ตั้งแต่เวลา 06.00 น. เป็นการทำบญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรูป ขอพรผู้ใหญ่
หัวใจหลักจริงๆ ของงานสงกรานต์ คือ การพบปะครอบครัว หลังจากนั้นช่วงบ่าย ก็จะมีขบวนแห่วันสงกรานต์ มี 31 ชุมชน แลหน่วยงานตางๆ มาร่วมกัน ช่วงเย็นมีกิจกรรมก่อเจดีย์ทราย รวมถึงรำวงย้อนยุค และการแสดงวัฒนธรรมทางด้านอาหาร และการประกวดหลายๆอย่าง โดยมีการจัดที่ถนนนครสวรรค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม “
นายบุญชอบ สิงห์คำ ผู้ประสานงานเครือข่ายงดเหล้าจังหวัดมหาสารคาม กล่าวถึง ความร่วมมือด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการจัดงาน
” กิจกรรมสงกรานต์ถนนข้าวเม่า ที่ทำมามีการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี ฟื้นฟูสิ่งที่มีอยู่แล้ว รักษาให้คงอยู่ พัฒนาต่อยอดให้ยิ่งใหญ่ จึงมีการทำถนนข้าวเม่า โดยแรกเริ่มมีการทำประชาคม 31 ชุมชน จนเกิดถนนข้าวเม่า ซึ่งหากกล่วถึง ‘ข้าวเม่า’ นั้น ข้าวเม่าเป็นสินค้าโอท็อป ที่พบมากในมหาสาคาม เลยใช้เป็นจุดขายของมหาสารคาม
ในส่วนของการสนับสนุนการจัดงานปลอดเหล้า ทำงานงดหล้าในถนนข้าวเม่า คือแต่ก่อนมีการเกิดปัญหา และทำให้งานสะดุดลง จึงมองหาแนวทางการป้องกันปัญหาต่างๆ ทั้งการลดอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท เพื่อให้เด็กๆที่มาเที่ยวงานปลอดภัย เลยเป็นที่มาของ ถนนข้าวเม่าปลอดเหล้า ปลอดภัย มีการประชาคมและกำหนดกติกา กำหนดพื้นที่โซนนิ่ง ในช่วงแรกๆ ก็มีการเอาข้าวเม่ามาแลกน้ำเมา กับคที่จะถือเข้ามาดื่มในงาน ยึดเก็บไว้ ไม่ให้เอาเข้าในพื้นที่จัดงาน จึงทำให้ถนนข้าวเม่าติดตลาด
หลังจากหายไป 3 ปี จากสถานการณ์โควิด ปีนี้จึงกลับมาสนับสนุนการจัดกิจกรรมอีกครั้ง และจากการวิจัย พบว่า คนมหาสารคาม ยังต้องการเล่นสงกรานต์ปลอดเหล้าร้อยละ 83 % “
ภาพ/ข่าว : แผนงานนโยบายสาธารณะและสื่อสารองค์กร เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานตอนบน