ด้วยวิสัยทัศน์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ต้องการให้”ทุกคนบนแผนดินไทยมีวถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สามารถสนับสนุนต่อการมีสุขภาวพที่ดี” และพันธกิจ “จุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลังบุคคล ชุมชน และองค์กรทุกภาคส่วนให้มีขีดความสามารถ และสร้างสรรค์ระบบสังคมที่สนับสนุนต่อการมีสุขภาวะที่ดี” ได้ดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายหลากหลายเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชจไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน โดยดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2544-2566 มีจุดเน้นการทำงานขับเคลื่อนงานปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ “7 เป้าหมายและ 1 เป้าหมายพิเศษ” โดยเป็นเป้าหมายร่วมของ สสส.และภาคีเครือข่ายในการทำงานใช้พื้นที่ และกลุ่มเป้ามหายเป็นตัวตั้งใ การสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยง ยาสูบ แอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด อุบัติเหตุทางถนนเพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล กิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ผู้มีสุขภาพจิตดี ลดผลกระทบสุขภาพจากมพิษทางสิ่งแวดล้อม และเตรียมพร้อมรับปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ และปัจจัยเสี่ยงอื่นเพื่อลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ วัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอพาน ร่วมกับศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคเหนือตอนบน จัดการประชุมบูรณาแผนงานลดปัจจัย บุหรี่ แอลกอฮอล์ และตำบลขับขี่ปลอดภัย และต้อนรับ กรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานกงอทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ประกอบด้วย แผนควบคุมยาสูบ แผนควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด แผนงานสุขภาวะชุมชน สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม แผนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพผ่อนระบบบริการสุขภาพ และจัดการความปลอดภัยและปัจจัยเสี่ยงทางสังคม
นอกจากนี้ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย อำเภอพาน มีการดำเนินงานด้านสังคือื่นในมิติดื่นๆ ที่มีความน่าสนใจ และมีจุดเด่นในการช่วยเหลือสังคม กลไกสำคัญคือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ชุมชนคุณธรรม โรงเรียนผู้อายุ คนพานไม่ทิ้งกันโดยมีอาสามสมัครพัฒนาสังคม (อพม.) สภาเด็กเยาวชนอำเภอพาน ร่วมกับหน่วยงานศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ (ศพส.) จะเห็นได้ว่าการบูรณาการงานในพื้นที่จังหวัดเชียงราย มีรูปแบบการดำเนินโครงการด้านสร้างเสริมสุขภาพในมิติเชิงประเด็น เชิงพื้นที่ เชิงกลไก ผ่านกระบวนการดำเนินงานบนความหลากหลายตั้งแต่การพัฒนาความองค์รู้ การพัฒนาศักยภาพ การสร้างเครือข่าย การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบนำร่อง และการขับเคลื่อนนโยบาย โดยยึดหลักการทำงานบูรณาการในระดับจังหวัดที่มีทรัพยากร ทุนทางสังคม ความเข้มแข็งในพื้นที่ และสร้างการมีส่วนร่วมของคนทำงานนใช้ประเด็นปัญหาสำคัญในระดับพื้นที่
นายวุฒิกร คำมา นายอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า พชอ.พานตระหนักถึงผลกระทบจากการดื่ม จึงได้ดำเนินการ ลด ละ เลิกการดื่มสุราในพื้นที่ระยะเวลาหลายปีต่อเนื่องโดยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะการเพิ่มพื้นที่ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งานศพปลอดเหล้าปลอดบุหรี่ การป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ของกลุ่ม YSDN พาน ทั้งนี้เพื่อสร้างค่านิยมงดเหล้า ช่วงเข้าพรรษาโดยนำวิธีการ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรม งดเหล้าเข้าพรรษา ที่อาศัยหลักคำสอนทางพระศาสนา บำเพ็ญกุศลรักษาศีล 5 เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย สุขภาพจิตใจดี ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น โดยต้นทุนบูรณาการ ตามแนวทาง “ต้นน้ำคือ 1.กลุ่ม YSDN เด็กและเยาวชนในพื้นที่ศึกษาอยู่ในอำเภอ/ป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ใน/นอกสถานศึกษา
2. โรงเรียนพ่อแม่ที่ตั้งครรภ์/วางแผนมีลูก
3.สื่อ เทคโนโลยี
ต้นทุนบูรณาการ ตามแนวทาง “ต้นกลางน้ำ คือ 1.กิจกรรมงานประเพณี/ภาคีเครือข่าย/การรณรงค์เทศกาลต่างๆ
2.งานบุญปลอดเหล้า
3 งานศพปลอดเหล้า
4. งดเหล้าเข้าพรรษา
5. พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
6. ชุมชนคนสู้เหล้า
ต้นทุนบูรณาการ ตามแนวทาง “ต้นปลายน้ำ คือ 1.พัฒนาศักยภาพ อสม.ต้นแบบและพัฒนานวัตกรรม One by One
2. สร้างบุคคลต้นแบบ ที่เลิกเหล้า
3. มหกรรมเชิดชูเกียรติ ผู้งดเหล้าปลอดอบายมุข ปี 2566
4.คัดกรอง บำบัดฟื้นฟู ติดตาม ป้องกันความเสี่ยงฆ่าตัวตาย
#สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
#ประชาคมงดเหล้าจังหวัดเชียงราย
#สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
#YSDN.
#คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอพาน