นายอำเภอปากท่อ เยาวชนนักรณรงค์ เครือข่ายงดเหล้า ภาคตะวันตก และสสส. จัดวาเลนไทน์ยิ่งใหญ่ คนเพียบ

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 นายสุทธิพงษ์ พุทธจันทรา นายอำเภอปากท่อ พร้อมด้วย เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายองค์กรงดเหล้า ภาคตะวันตก และชุมชนบ้านตากแดด ได้จัดกิจกรรม “มหัศจรรย์แห่งรัก วิถีกะเหรี่ยงปากท่อ-ยางหัก หอมกลิ่นไอรัก สุขหวานซึ้ง” ขึ้นที่ชุมชนบ้านตากแดด ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ภายใต้สโลแกน “ส่งรักให้พักเหล้า” โดยการจัดงานครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และอำเภอปากท่อ ที่มีแนวคิดในการจัดงานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในการมีภาคีความร่วมมือในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ บ้าน วัด โรงเรียน และภาคประชาสังคม

กระบวนการเริ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงเช้า โดยการรวมตัวกันบริเวณวัดยางคู่ แห่ขบวนห่มผ้าองค์พระคู่ “คู่กันแล้วไม่แคล้วกัน รักกันตลอดไป” พร้อมให้อาหารปลา สาเหตุที่ต้องมาห่มผ้าพระที่นี่ เพราะชื่อวัดยางคู่ มีความหมายที่ดี และในการห่มผ้าพระคู่ ชาวบ้านในชุมชนมีความเชื่อว่าหากคู่แต่งงานมีโอกาสมากราบสักการะจะเป็นสิริมงคลต่อชีวิตคู่

หลังจากนั้นได้เดินทางมาที่วัดไทรงาม เพื่อทำพิธีแห่ห่มผ้าเจดีย์ 9 ทิศ โดยเชื่อว่าเป็นรักบูชาธรรมทุกทิศมงคลศักดิ์สิทธิ์ การปิดทองพระเกจิ ทุกสาย เพื่อความสุขมงคลคุ้มครองทุกแห่ง การดูแลป่า บวชต้นไม้ ใส่ปุ๋ยใบไม้มงคล จะมีรักที่อบอุ่นร่มเย็นธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องวิถีกะเหรี่ยงรื้อบ้านเข้าหอ เชื่อว่ารักแท้เอาชนะอุปสรรค์ทุกสิ่ง วิถีกะเหรี่ยงเก็บน้ำผึ้ง เลี้ยงผึ้ง บ่งบอกถึงความรักหวานในทุกๆ วัน การคั่วกาแฟ ชงกาแฟชั้นยอด โรบัสต้าตะนาวศรีราชบุรี เพื่อให้ความรักมีเข้มไม่จืดจาง หอมซึ้ง การข้าวห่อกะเหรี่ยงผสมน้ำผึ้ง จะมีรักที่สุกสดใส หวานอบอวนใจ การลอดซุ้มกระบี่กระเหรี่ยง จะทำให้ความรักรักคุ้มครองคู่รัก การเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อให้รักรุ่งเรืองตลอดไป ต่อด้วยการจดทะเบียน เพื่อประกาศรักแท้ การรับประทานอาหารมงคล สมรสสมรัก เพื่อให้รักอุดมสมบูรณ์พูลสุขตลอดกาล การโยนช่อดอกไม้ ส่งความรักความสุขทั้งอำเภอ

คู่รักแจ้งความประสงค์จดทะเบียนสมรส จำนวน 5 คู่
1. นายสหพันธ์ รวยรุ่ง และ น.ส.ศุภารนันท์ ยอดมี
2. นายบุญเจือ แสงจันทร์ และ น.ส.สง่า สาลีผล
3. นายจำเนียร สาตสาย และ น.ส.สุดารัตน์ กุมกร
4. นายบุญเลี่ยม บุญทศ และ น.ส.น้ำฝน แย้มเกษร
5. นายบุญมา พานดี และ น.ส.จำเนียร นะสีโต

คู่รักแท้ที่ครองรักกันมาเกิดนกว่า 15 ปี จำนวน 10 คู่ ได้แก่
1. นายกฤษฎา แสงจันทร์ และ นางเอื้อง แสงจันทร์ (44 ปี)
2. นายทวีทรัพย์ เทพลิบ และ นางศิริมา แจ้งกระจ่าง (10 ปี)
3. นายยัง เจียมโพธิ์ และ นางจำรัส ฟ้าคนอง (26 ปี)
4. นายชุมพล สันตานนท์ และ นางจันทร์เพ็ญ บุญช่วย (28 ปี)
5. นายจอม เพลงวงค์ และ นางธิติภร เพลงวงค์ ( 36 ปี)
6. นายกาฝาก บุญเปรื่อง และ นางบานเย็น บุญเปรื่อง ( 37 ปี)
7. นายเฉลียว เนียมทับทิม และ นางพิมพ์ เนียมทับทิม (49 ปี)
8. นายประเสริฐ วงษ์ชอุ่ม และ นางสมจิตร วงษ์ชอุ่ม ( 44 ปี )
9. นายโชติ คุ้มครอง และ น.ส.โสภา คงพวก (23 ปี)
10. นายสำรวย ขันแก้ว และ นางกิตติยา ขันแก้ว

ทางด้านของเด็กเยาวชนนักกรณรงค์ที่เข้ามาร่วมงาน มีการแสดงการเล่นดนตรี ในการขับกล่อมผู้ที่มาร่วมงาน โดยเยาวชนดังกล่าวมาจากฐานเยาวชนที่ขับเคลื่อนงานรณรงค์ในระดับพื้นที่ และมีความสามารถในการเล่นดนตรี ซึ่งในครั้งนี้ เยาวชนได้มาเล่นเพลงรัก เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศในการทำให้งานมีความรื่นเริงมากขึ้น เยาวชนบางส่วนที่เป็นเยาวชนที่มาจากสถานศึกษา ต่างก็มาช่วยรณรงค์ในการแสดงสัญญาลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องของแคมเปญ “สื่อรักให้พักเหล้า” และ ” 15 ปี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”

ซึ่งวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปีนี้ เป็นปีที่ 15 ในการมีกฏหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลฮอล์ ซึ่งผลักดันโดยภาคประชาสังคม ขบวนการรณรงค์งดเหล้าก่อตัวและเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างชัดเจน ในช่วงปี 2546 ยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญคือการรณรงค์ เคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อผลักดันกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่วงปลายปี 2549 รัฐบาลในสมัยนั้นมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เข้าสู่สภานิติบัญญัติ จากนั้นภาคประชาสังคมได้เข้าร่วมผลักดันกฎหมาย โดยกิจกรรมสำคัญคือการรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุน ร่างกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งมีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 13 ล้านรายชื่อ มีกิจกรรมรณรงค์ จากภาคประชาสังคมเกือบทุกสัปดาห์ตลอดปี 2550 จนนำมาสู่การลงมติเห็นชอบของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้ว่า

“โดยที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ ครอบครัว อุบัติเหตุ และอาชญากรรม ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ สมควรให้กำหนดมาตรการต่างๆ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยลดปัญหาและผลกระทบทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ช่วยสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน โดยให้ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนช่วยป้องกันเด็กและเยาวชน มิให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย”

ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ภาคประชาสังคมทั่วประเทศร่วมรณรงค์ เฝ้าระวัง ติดตาม และผลักดันให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย จนมีผู้กล่าวว่า เป็น พ.ร.บ.ที่มีการบังคับใช้มากที่สุด โดยผู้ประกอบการทั้ง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ สถานบันเทิง และร้านอาหารส่วนใหญ่ร่วมปฏิบัติตามกฏหมาย อีกทั้ง ทำให้สถานที่ห้ามดื่มห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามที่บัญญัติไว้ เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมถึงทำให้เกิดคณะกรรมการในระดับต่างๆ ที่เป็นกลไกของรัฐในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นทางการ ซึ่งช่วยชะลออัตราการบริโภค ช่วยลดปัญหาและผลกระทบในด้านต่างๆ ที่สำคัญที่สุด ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตามธุรกิจแอลกอฮอล์มีความพยายามที่่จะหลบเลี่ยงกฏหมาย โดยเฉพาะการห้ามโฆษณา และพยายามที่จะแก้ไขให้กฏหมายมีมาตรการที่อ่อนลง ที่น่ากังวลที่สุด คือในโอกาสที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ครบรอบ 15 ปี ในปี 2566 เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่จะมีการเลือกตั้ง ซึ่งนักการเมืองจำนวนหนึ่งเห็นด้วยกับการแก้ไขกฏหมายให้อ่อนลง และชูเป็นนโยบายในการหาเสียง เพื่อเรียกคะแนนนิยมจากผู้ประกอบการ ดังนั้นภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นเจ้าของ พ.ร.บ.ฉบับนี้มาตั้งแต่ต้น จึงร่วมกันรณรงค์เพื่อยืนยันว่า กฎหมายฉบับนี้มีคุณูปการต่อการสร้างสุขภาวะของสังคมไทย และร่วมกันเรียกร้องให้นักการเมืองและผู้มีอำนาจทางนโยบาย ไม่ให้มีการแก้กฏหมายให้ต่ำกว่ามาตรการที่เป็นอยู่ ในทางกลับกันควรปรับปรุงให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะที่พัฒนาอย่างสมดุลในทุกมิติ และส่งต่อให้คนรุ่นต่อไป

การจัดงานครั้งนี้ นอกจากได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ชุมชนเองยังสนับสนุนกิจกรรมด้วยการนำอาหารและของที่ต้องใช้ในงานมาร่วมกัน จึงทำให้เกิดการบูารณาการดังนี้

เครื่องขันหมาก ได้แก่

1.ต้นกล้วย (ตำบลทุ่งหลวง)
2.ต้นอ้อย (ตำบลทุ่งหลวง)
3.น้ำหวาน (ตำบลทุ่งหลวง)
4.หัวหมู (ตำบลวังมะนาว)
5.ไก่ต้ม (ตำบลป่าไก่)
6.ห่อหมก (ตำบลวัดยางงาม)
7.ผัดหมี่ (ตำบลปากท่อ)
8.ขนมจีน (ตำบลห้วยยางโทน)
9.ส้ม (ตำบลวังมะนาว)
10.กล้วยหวี (ตำบลยางหัก)
11.มะพร้าว (ตำบลวันดาว)
12.ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง(ตำบลดอนทราย)
13.กาละเม – ข้าวเหนียวแดง(ตำบลบ่อกระดาน)
14.ขนมเปี้ยะ (ตำบลวันดาว)
15.ข้าวต้มมัด (ตำบลหนองกระทุ่ม)
16.ขนมจันอับ (ตำบลทุ่งหลวง)
17.ขนมปลา (ตำบลอ่างหิน)
18.ข้าวห่อ (ตำบลยางหัก)
19.กาแฟ/น้ำลำใย (ตำบลยางหัก)
20.ขบวนรำ (ตำบลห้วยยางโทน)
21.ขบวนกลองยาว (หมู่ที่ 15 ทุ่งหลวง)

จึงนับได้ว่าเป็นงานระดับอำเภอที่มีการบูรณาการที่เข้มแข็งของชุมชน สร้างความสัมพันธ์ในชุมชนได้อย่างเหนียวแน่นเลยทีเดียว สำหรับการัขับเคลื่อนงานวันวาเลนไทน์แล้ว อำเภอปากท่อยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย และที่ได้รับความโดยเด่นคือแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของอ.ปากท่อ ที่มีความโดยเด่นในเรื่องของวิถีการดำเนินชีวิต อาชีพ และความโด่ดเด่นเรื่องของการแต่งกายวัฒนธรรม

Aey Ratchanon : Stopdrink Network/West