เมื่อวันที่ 27-29 มกราคม 2566 ชาวบ้านในพื้นที่ อ.เวียงสระ ได้จัดงาน “ชวนล่องพาใจกลับไปอดีต” ขึ้น เพื่อนำเสนอเส้นทางการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณเมืองเวียงสระและภูมินิเวศลุ่มน้ำตาปี สู่การขับเคลื่อนการท่องเที่ยงทางประวัตศาสตร์มีชีวิต
ในวันที่ 27 มกราคม 2566 ได้นำนักเรียน/นักศึกษา และผู้ที่สนใจลงพื้นที่ไปตามเส้นทางประวัติศาสตร์เมืองโบราณเมืองเวียงสระและภูมินิเวศลุ่มน้ำตาปี เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์/วิถีชีวิต/ระบบนิเวศ ของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เส้นทางประวัตศาสตร์นี้ โดยมีเส้นทางศึกษาประวัติศาสตร์ 3 เส้นทาง คือ 1.คลองพรง บ้านนาสาร 2.คลองอิปัน พระแสง และ 3.คลองตาปี เมืองเวียงสระ
ในวันที่ 28 มกราคม 2566 ได้มีการกล่าวต้อนรับ โดย นายโกศล สุขเกษม กำนันตำบลเวียงสระ และนายจงจิตร อภิชาตกุล ผู้ใหญ่บ้าน หมูที่ 7 บ้านเวียงสระ ก่อนที่เริ่มกิจกรรมภายในงาน โดยมี นางสาวรัตนา ชูแสง บอกเล่าเป้าหมายจัดเวทีเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เมืองโบราณเวียงสระ ซึ่งบอกเล่าการทำงานที่ผ่านมาของกลุ่มเครือข่ายเด็ก เยาวชน และครูภูมิปัญญารุ่นใหม่ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเราได้มีโอกาสเรียนรู้ ทำงานวิจัยเล็กๆ ในชุมชนนเพื่อที่จะนําเรื่องราวในอดีตขึ้นมาสู่การเรียนรู้ในปัจจุบัน โดยใช้เส้นสายน้ำคลองอีปัน คลองพรง คลองตา และอีกหลายหลายคลองที่พยายามที่จะเข้าไปสืบค้นเรื่องราวประวัติศาสตร์และร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีต โดยเริ่มกิจกรรมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มีการสร้างแกนนําเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของการอนุรักษ์สายน้ำและมีการสํารวจสายน้ำตั้งแต่ต้นน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ลงมาจนถึงแม่น้ำตาปีด้านหลังวัดเวียงสระ
และมีการเสวนาในหัวข้อ “การขับเคลื่อนงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสู่การจัดการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ภูมินิเวศลุ่มแม่น้ำตาปี” ซึ่งในการเสวนาครั้งนี้สรุปได้ว่า การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ควรที่จะเริ่มต้นจากตัวเอง ครอบครัว แล้วค่อยขยายสู่ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง อีกอย่างถ้าจะให้เกิดการท่องเที่ยวนั้นควรให้เกิดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต มีการสร้างเด็กเยาวชนในพื้นที่ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่นี้ และมีการส่งต่อรุ่นสู่รุ่น
หลังจากนั้นจะมีลานเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมชุมชน โดยเครือข่ายในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง มีลานวัฒนธรรม โดยมีการแสดงมโนราห์ ซึ่งเป็นการว่าบทมโนราห์แบบโบราณ และมีการแสดงดนตรีจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี วง Z-two
ในวันที่ 29 มกราคม 2566 มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ เรียกพิธีกรรมนี้ว่า “การทำอารตี” คือการบูชาองค์เทพด้วยไฟ ซึ่งการทำอารตีถือเป็นการบูชาและแสดงความเคารพองค์เทพอย่างสูงสุดเหนือกว่าการสวดมนต์บูชาและถวายของสังเวยใดๆทั้งปวง โดยการทำอารตีตามแบบพิธีกรรมฮินดูโบราณ โดยการทำอารตี มีขั้นตอนในการทำพิธีกรรมดังนี้
1.) ถวายเครื่องสังเวย
2.) สวดมนต์ตราบูชาองค์พระพิฆเนศ
3.) อธิษฐานขอพร
4.) ทำการอารตี (หลังจากอธิษฐานเสร็จ)
วัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องเตรียมสำหรับทำพิธี
1.) ถาดอลูมิเนียมหรือสแตนเลส
2.) ถางประทีป (ถ้าไม่มีจริงๆ สามารถใช้ เทียนไข แทนได้)
3.) ดอกดาวเรือง 2-3 ดอก จากนั้นฉีกเอาเฉพาะกลีบดอก
4.) กำยานรูปกรวย 1 ชิ้น
วิธีจัดถาดอารตี
1.) โรยกลีบดอกดาวเรืองให้ทั่วทั้งถาด
2.) วางถางประทีปไว้กลางถาด
3.) วางกำยานไว้ด้านใดด้านหนึ่งใกล้ๆถางประทีป
วิธีการอารตี
1.) จุดไฟที่กำยานและถางประทีป
2.) ร้องเพลงอารตีขององค์พระพิฆเนศ หรือ เปิดเพลงบทอารตีให้ท่านก็ได้
3.) ทำการเวียนถาดตามเข็มนาฬิกา โดยระดับของถาดไล่ไปตามระดับเริ่มจากระดับพระบาท (เท้า) ขององค์เทวรูป หมุนวนตามเข็มนาฬิกาทั้งหมด 3 รอบ จากนั้นไต่ระดับไปที่พระอุระ (หน้าอก) ขององค์เทวรูป หมุนวนตามเข็มนาฬิกาทั้งหมด 3 รอบ จากนั้นไต่ระดับไปที่พระเศียร (ศรีษะ) ขององค์เทวรูป หมุนวนตามเข็มนาฬิกาทั้งหมด 3 รอบ และสุดท้ายให้หมุนวันถาดตามเข็มนาฬิกา โดยให้หมุนเป็นวงกว้างครอบทั้ง องค์เทวรูปหรือโต๊ะบูชา ** ในขั้นตอนนี้หากมีผู้ร่วมอารตีกับเรา สามารถให้ท่านอื่นหมุนวนถาดไปจนกว่าจบบทสวด(จนเพลงจบ)
4.) นำถาดอารตีวางไว้หน้าแท่นบูชาองค์เทพ พร้อมกับนำมือกอบควันไฟ เข้าหาตัว เข้าหาหน้าของเรา แล้วภาวนาว่า..."โอม" ขณะกล่าวคำว่าโอมให้ลากเสียงยาวๆ โดยทำ 3 ครั้ง (อาจจะไม่ตรงกับแบบฉบับอื่นๆ )
5.) กรุณาเฝ้าถาดที่มีไฟอยู่ ให้ไฟดับเสียก่อน เพราะไฟไหม้อาจไหมได้ ถ้าไม่มีคนนั่งเฝ้า ถ้าไม่สะดวกให้ดับถางประทีปที่จุดไฟ (เฉพาะถางประทีปอย่าดับกำยาน) ด้วยน้ำ หรือลม...ตรงจุดนี้องค์เทพท่านเข้าใจว่าเป็นการอารตีส่วนบุคคล ซึ่งมีข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่
นายรัตตพล สุวรรณโชติ แกนนำคนหัวใจเพชรและครูภูมิปัญญาชุมชนประวัติศาสตร์เมืองเวียงกล่าวทิ้งท้ายว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการบูรณการร่วมกันของภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ห่างไกลปัจจัยเสี่ยง รวมถึงเพื่อนำเสนอสินค้า ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้กับสารธารณะได้รับรู้ อีกทั้งเด็ก-เยาวชน ที่เป็นแกนนำเยาวชนในพื้นที่ก็มีความหวงแหนและเป็นเจ้าของพื้นที่ ในขณะที่ต้องขับเคลื่อนตนเองให้เท่าทัน เรื่องเหล้า-บุหรี่และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆด้วย