เป็นกลไกขับเคลื่อนงานระดับภูมิภาค โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการสนับสนุนประชาคมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนล้านนา ลดปัญญาหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยเสี่ยงภาคเหนือตอนบน โดยมีภารกิจในการกำกับทิศทางการทำงาน ติดตามหนุนเสริมกระบวนการทำงานของพื้นที่ ร่วมกันผลักดันให้เกิดกลไกในชุมชน/ตำบล/อำเภอ/จังหวัด ในแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ ตลอดการจัดการความรู้ หนุนเสริมศักยภาพประชาคมเครือข่ายองค์กรงดเหล้า 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพื่อให้การประสานการทำงานของโครงการให้เกิดผลสัมฤทธิ์
เมื่อวันที่ 24-25 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมพะเยาเกทเวย์ อ.เมือง จ.พะเยา ศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าฯ จึงได้จัดการประชุมคณะทำงานประชาคมเครือข่ายองค์กรงดเหล้า 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพื่อวางแผนงานการขึ้นโครงการภาคและจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและทิศทางการทำงานรวมถึงตัวชี้วัดของ สสส.ต่อไป
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่าแต่เดิมทางโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา งานศพและงานประเพณีปลอดเหล้า วัดปลอดเหล้า จากโครงการระดับประเทศ และกระจายเข้าสู่ระดับพื้นที่ที่ต้องการดำเนินงาน ซึ่งเป็นลักษณะโครงการร่ม ใหญ่ โดยเป็นการทำเอาโครงการเป็นตัวตั้งและหาคนดำเนินการ และ สสส. ให้มีคน ประสานงานระดับจังหวัด คือ “ประชาคมงดเหล้าจังหวัด” และจะมีโครงการเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดตัวบุคคลในพื้นที่ในการดำเนินงาน โดยมีการคาดหวังให้ประชาคมงดเหล้า เข้าเป็นตัวแทนไปอยู่ใน กรรมการควบคุมงดเหล้าระดับจังหวัด ที่สุดแล้วในการแก้ปัญหาเรื่องเหล้าต้องใช้กลไกภาครัฐเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ในระดับหนึ่ง และประชาคมควรเข้าไปอยู่ในกลไกนั้น ด้วยเหตุนี้จึงเกิดโครงสร้างประชาคมงดเหล้าใน 77 จังหวัด ซึ่งประชาคมงดเหล้าสามารถมาจากคนในชุมชน พระสงฆ์ ส่วนราชการ หรือบุคลากรที่มาจากหลากหลาย ซึ่งอาจมี ภารกิจของตัวเอง และสามารถเข้ามาด าเนินงานในภาคประชาคมได้ ซึ่งโครงการออกแบบมาให้มีการท างานอย่าง ต่อเนื่อง และมีการทบทวนจุดยืน