เชื่อมโยง ของดี คนดี เหล่านั้น ครั้งนี้ในพื้นที่เชียงคาน ของเครือข่ายประชาคมงดเหล้าภาคอีสานตอนบน

จากการที่ใช้เวลาระยะหนึ่งในการรวบรวมของดี คนดี และ วิเคราะห์ ทดลอง ระดมความคิดเพื่อเชื่อมโยงของดี คนดี เหล่านั้น ครั้งนี้ในพื้นที่เชียงคาน ของเครือข่ายประชาคมงดเหล้าภาคอีสานตอนบนเราก็พบว่า ของดี คือ จุดเชื่อมโยง ของ คนทุกวัย ทุกชาติได้ หากจัดการอย่างเหมาะสม อยู่ในจุด อยู่ในทางสายกลาง

ในพื้นที่เชียงคาน ที่กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนบ้านต้นหล้า ที่มีส่วนร่วมในการสร้างถนนคนเดินเชียงคาน ซึ่งเป็นคนลูกหลานชาวเชียงคาน ที่สร้างความเข้มแข็งกันมาอย่างยาวนานหลายปี จนทำให้ชุมชนต่างๆรอบๆถนนคนเดินได้เข้ามาร่วมมาทำงานร่วมกัน สร้างรายได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม มากกว่า 2 ล้านบาทต่อปีให้กับกลุ่มวิสาหกิจ ไม่นับรวม รายได้ที่เกิดกับชุมชนร้านค้าต่างๆทั่วเชียงคาน

ด้วยในนามของทีมเครือข่ายงดเหล้า มูลนิธิทองทศฯ และทีมงาน Voluntist ได้ใช้เวลากว่า 1 ปีในการวิเคราะห์จนได้พบว่าพื้นที่ที่จะสามารถเสริมสร้างศักยภาพให้กับทุกภาคส่วนในพื้นที่เชียงคานนี้คือคำว่า “พื้นที่สร้างสรรค์ของคนสามวัย” ที่จะต้องเชื่อมโยงกับความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

เมื่อปีที่แล้วเราได้จัดการทดลองเส้นทางท่องเที่ยวโดยนำผู้ทำงานด้านสังคมต่างๆ มาดูงานและพูดคุยจนได้ข้อสรุปว่า กิจกรรมที่น่าจะเป็นเรือธงที่ดีของเชียงคานในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านต้นหล้า คือการทำผาสาดลอยเคราะห์ เพราะเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้คนทุกเพศทุกวัยและทุกความเชื่อสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่มีข้อจำกัดมากนัก

ในครั้งนี้ทางโครงการจึงได้ลองทดสอบในรูปแบบใหม่ โดยเสนอให้ชุมชน ลองนำเสนอให้ชาวต่างชาติโดยเน้นผาสาดลอยเคราะห์ และพ่วงกับการทำจิตอาสาฝึกภาษาอังกฤษในโรงเรียน เพื่อจะเป็นสภาในการเชื่อมโยงคน 3 วัยเข้าด้วยกัน

โดยได้นัดทำกิจกรรมกันในวันที่ 14 ธันวาคมตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงช่วงค่ำ เพื่อเป็นตัวอย่างกิจกรรม 1 วันที่น่าจะมีประสิทธิภาพในการขายและการขยายผลต่อไปยังคน 3 วัยได้

มีรายละเอียดดังนี้

10:00 น เริ่มทำผาสาดลอยเคราะห์กันที่ศาลาชุมชน

พร้อมทั้งการนุ่งซิ่นเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ให้กับนานาชาติและคนไทยรุ่นใหม่

12:00 น เมื่อทำผาสาดลอยเคราะห์เสร็จแล้วก็เดินทางไปรับประทานอาหารของกลุ่มประมงพื้นบ้านที่ซอยเชียงคาน 1

13:00 น เริ่มกิจกรรมจิตอาสาสอนภาษาอังกฤษร่วมกับเด็กมัธยมตอนปลายจำนวนกว่า 200 คนที่โรงเรียนเชียงคานโดยเน้นการให้นักเรียนมัธยมเหล่านั้นนำเสนอสิ่งดีของเชียงคานออกมาเป็นภาษาอังกฤษ

16:00 น เดินทางไปที่ศาลาชุมชนเพื่อรอยผาสาดลอยเคราะห์ที่ทำเสร็จแล้วลงไปในแม่น้ำโขง

17:00 น เดินทางล่องแม่น้ำโขงเพื่อชม วิถีชีวิตรอบริมฝั่งแม่น้ำโขงทั้งฝั่งประเทศไทยและประเทศลาว

19:00 น พาชาวต่างชาติอาสาสมัครทั้งหลายกลับมาเดินถนนคนเดินเชียงคาน

เมื่อกิจกรรมแล้วเสร็จทางทีมงานนำโดยนายสุริยัน แก้วกัญญา. ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านต้นหล้าเชียงคาน ประธานกลุ่มจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนวัดป่าใต้ นางไพรินทร์ แก้วกัญญา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกเทศมนตรีตำบลเชียงคาน ผู้ประสานงานเครือข่ายท่องเที่ยวเชียงคาน และ ทีมบริหารโครงการของเครือข่าย คือ นางสาวนาฎชฎา แจ้งพรมม และนายวิญญู ศรีศุภโชค ตัวแทนมูลนิธิทองทศฯ และ Voluntist ได้นัดประชุมสรุปงานกันในเช้าวันที่ 15 ธันวาคมและมีความเห็นตรงกันว่าวิธีการนี้น่าจะสามารถเชื่อมโยงคน 3 วัยเข้ามาร่วมงานทำงานกันได้เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดทั้งในส่วนของคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่ ได้รับรู้ถึงทุน คุณทางวัฒนธรรมของเชียงคานมากนัก และคนรุ่นเก่าที่ไม่ถนัดการใช้สื่อประชาสัมพันธ์สมัยใหม่

และเนื่องจากหากต้องการเชื่อมโยงกับตลาดของคนหัวเมืองโดยเฉพาะในกรุงเทพฯการเดินทางจึงเป็นปัญหามากในการไปสู่เชียงคานถ้าเราสามารถเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยรถสาธารณะเช่นรถไฟหรือรถยนต์ได้จะทำให้การเดินทางที่นี่มีโอกาสเชื่อมโยงไปสู่คำว่าการท่องเที่ยว low Carbon

และในครั้งถัดไปทางโครงการวัฒนธรรมสร้างสุขและท่องเที่ยวปลอดภัยจะจัดการทำทดลองเที่ยวกึ่งเชิงธุรกิจขายจริงและประชาสัมพันธ์จริงโดยเน้นการใช้รถสาธารณะและกิจกรรมจิตอาสาเป็นองค์ประกอบ

โดยจะมีประเด็นหลักใหญ่คือการดึงคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาร่วมกันสร้างพื้นที่สร้างสรรค์จากทุนวัฒนธรรมของเชียงคาน ผ่านการทำกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ต่อไป #สสส#สคล#วัฒนธรรมสร้างสุข#ท่องเที่ยวปลอดภัย#voluntist

กองบรรณาธิการ SDNThailand