เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาสังฆะเพื่อสังคม ในอดีตที่ผ่านมาถือว่าเป็นเครือข่ายที่มีความตื่นตัวในบทบาทหน้าที่ของ ความเป็นพระ ความเป็นผู้นำชุมชน สังคม ประเทศ และเป็นทั้งผู้นำแนวคิดบางสมัย เป็นเครือข่ายสนับสนุนแนวคิดของฝ่ายปกครองบ้านเมืองเพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขในชุมชน สังคม ประเทศ รวมตัวเกาะเกี่ยวกันเป็นเครือข่าย เช่น เครือข่ายพระ อนุรักษ์ป่า เครือข่ายพระผู้นำแผ่นดินธรรมแผ่นทอง (องค์การ) เครือข่ายพระเสขิยธรรม เครือข่ายพระธรรมทายาท เครือข่าย โครงการพุทธชยันตี พอเพียง เคียงธรรม เครือข่ายพระสงฆ์ลดปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายสวดมนต์สร้างปัญญา เครือข่ายวัดปลอดพนัน เครือข่ายงานบวชสร้างสุข และเครือข่ายโครงการวัดปลอดเหล้า บุหรี่ พนันสร้างภูมิคุ้มกันโควิด – 19 ด้วยหลักพุทธธรรม เป็นต้น
กาลเวลาที่ผ่านไป เครือข่ายพระสงฆ์ รุ่นก่อนเริ่มอ่อนแรงอยู่ตัว และสูงวัย เข้าเป็นผู้มีบทบาทในสายปกครอง ในขณะที่โลกสมัยใหม่มีความซับซ้อน การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีความรวดเร็ว มีหลายช่องทาง การ บริหารจัดการต้องอาศัยทักษะ การสร้างพระธรรมทายาทรุ่นใหม่ขาดความต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อ กระบวนการทำงานเครือข่ายและโอกาส บางภาคไม่สามารถเคลื่อนงานได้ ในขณะที่ บางภาคสามารถขับเคลื่อนงานได้ หลากหลาย เชื่อมกันเป็นเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาในระดับจังหวัด/ภาค และสามารถสนองงานระดับนโยบาย และหน่วยงาน กระทรวงต่างๆได้
วันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา มูลนิธิสังฆะเพื่อสังคม สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) จัดเวทีเวทีแลกเปลี่ยนกำหนดทิศทางการทำงานเครือข่าย และระดมทุนกองบุญ ประจำปี 2565 ประเด็น : พัฒนาเครือข่ายและบทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสร้างสุขภาวะชุมชนและสังคม : “กรณีศึกษาบวชสร้างสุข” และประเด็นอื่นๆ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองบุญสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พระสงฆ์นักพัฒนาทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เดินทาง มาร่วมกันที่ภาคเหนือตอนบน คือ จังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงใหม่
โดยในวันแรก 13 ธันวาคม 2565 คณะสงฆ์ในเข้าศึกษาดูงาน “รูปธรรมงานพระคิลานุปัฏฐาก กับการดูแลพระสงฆ์อาพาธครบวงจร” โดย พระมหาอนุวัตร ฐิตเมโธ ประธานพระคิลานุปัฏฐากจังหวัดลำพูน ณ วัดหนองปลาขอ ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ได้ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเชิงการยกระดับและเชื่อมโยง เหนือ ใต้ อีสาน ตะวันออก
ด้านพระครูสุวรรณโพธิวรธรรม ประธานมูลนิธิสังฆะเพื่อสังคม กล่าวว่า การมารวมตัวของพระสงฆ์ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ในจังหวัดของภาคเหนือ ในวันนี้ หลักๆแล้ว คือ เรามาร่วมกันระดมทุน เพื่อทอดผ้าป่า สมทบเข้ากองบุญสุขภาวะสังฆะเพื่อสังคม ในระดับประเทศ เพื่อใช้เป็นกองทุนในการดูและพระสงฆ์อาพาธ ซึ่ง เครือข่ายพระสงฆ์เราที่มารวมตัวกันขับเคลื่อนงาน ในการพัฒนาชุมชน พัฒนาสุขภาวะของชุมชน ในหลายๆประเด็น ทั้งในเรื่องของการรณรงค์ให้ชุมชนปลอดจากอบายมุข และปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ
ในเรื่องการบวชสร้างสุข ให้คนละเว้นในเรื่องของอบายมุข จัดงานอย่างประหยัดเรียบง่าย และยึดถือเอาตามหลักพระธรรมวินัย อะไรอย่างนี้ เราก็ขับเคลื่อนกันมาให้ชุมชนอยู่ดีมีสุข จนมีอยู่หนึ่งประเด็นที่เราพบว่า พระเราลืมเลือนที่จะนึกถึงไป ก็คือ ในเรื่องของการดูแลพระสงฆ์เราด้วยกันเอง เมื่อยามเจ็บป่วยอาพาธ ไร้ซึ่งคนดูแล เราจึงมีความพยายามที่จะคิดรูปแบบ หรือ ว่าสร้างแนวทางในการจัดระบบดูและพระสงฆ์เราเมื่อยามอาพาธ ที่แต่ละวัดในแต่ละภาค ก็จะมีรูปแบบ แนวทางที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งการรวมตัวของคณะสงฆ์เราครั้งนี้ถือว่าเป้นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้มาร่วมแลกเปลี่ยน แนวทางการดูแลพระสงฆ์ให้เกิดผลดี ให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี ให้มีความพร้อมที่จะดูแล และช่วยเหลือชาวบ้านอีกต่อไป
ภายในเวทีได้มีการแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนงานและบทเรียนการทำงานการพัฒนาสุขภาวะของพระสงฆ์และชุมชนภายในเวที ทางภาคเหนือโดยจังหวัดลำพูนเอง มีความน่าสนใจ คือ จังหวัดลำพูนเอง มีการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเป็นหลัก โดยเน้นหนักไปทางกลไกลของพระสงฆ์ซึ่งถือว่ามีความสำคัญ ในส่วนของกลไกพระคิลานุปัฏฐาก มีการจัดระบบฐานข้อมูลร่วมกับสาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ มีการคัดกรองสุขภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่นอกเหนือจากนั้นยังมีการสร้างจิตอาสาขึ้นมาเพิ่มเติมเพื่อดูแลอย่างทั่วถึง โดยพระสงฆ์ มีระบบส่งต่อดูแลช่วยเหลือต่อเนื่องโดยการส่งเคสผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลลำพูนมีศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนทั้ง 8 อำเภอ บทเรียนการทำงานที่ผ่านมา ในจังหวัดลำพูนเองจำนวนพระที่อาพาธจนต้องได้รับการพึ่งพิงมีทั้งหมดเพลงแค่ 17 เคส ทั้งจังหวัดใน 8 อำเภอหรือว่าพระในจังหวัดลำพูนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากป่วยน้อย แต่สถิติจากการคัดกรองส่วนใหญ่ที่คัดกรองโดยพระคิลานุปัฏฐากใน 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่าพระสงฆ์ป่วยด้วยโรค NCDs กันเยอะ โรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน อะไรพวกนี้ จากสถิติใน 100% ที่คัดกรองสุขภาพพระสงฆ์พบว่ามี ร้อยละ 33 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน สะท้อนให้เห็นถึงข้อมูลด้านโภชนาการของพระสงฆ์ในจังหวัดลำพูน ได้มีการผลักดันโครงการต่างๆเพื่อควบคุมการบริโภคของพระสงฆ์ ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับโภชนาการ โดยการกำกับของ พระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน มีโครงการอาหารปลอดภัย โครงการโรงเรียนเบาหวานวิทยา ซึ่งแต่ละโครงการไม่เพียงแต่ส่งผลต่อพระสงฆ์แต่ส่งผลไปถึงประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองด้วย
ภาคใต้เอง โดยพระมหาบวร ปวรธมฺโม เจ้าอาวาสวัดบุญนารอบ จ.นครศรีธรรมราช ได้แลกเปลี่ยนถึงแนวทางการพัฒนา พระคิลานุปัฏฐาก โดยการอบรมพัฒนาศักยภาพเสริมสร้างความรู้ให้มีความรู้ความสามารถในการทำงานอันนี้เรื่องการปฐมพยาบาลการคัดกรองผู้ป่วยการดูแลผู้ป่วยรวมไปถึง มีความรู้ในการเข้าถึงสิทธิต่างๆในการดูแลรักษาสุขภาพ และมีการผลักดันให้เกิดศูนย์พักฟื้นพระสงฆ์อาพาธให้เกิดขึ้นภายในวัด โดยจังหวัดตรัง วัดห้วยยอด โดยพระสมุห์กฏษฎา ขันติกโร ได้ดำเนินการจัดสร้างร่วมกับโรงพยาบาลห้วยยอดไปแล้ว ในชื่อว่าสังฆะศาลา เป็นอาคารพักฟื้นพระสงฆ์อาพาธ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ดูแลรักษาสุขภาพของพระสงฆ์อย่างครบวงจร มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาดูแล จะเห็นได้ว่าการทำงานของภาคใต้เอง ก็มีการทำงานร่วมกับหลายๆภาคส่วนมีการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานไม่ได้ทำเพียงฝ่ายใดฝ่ายเดียว
มีความคล้ายกันของทางภาคอีสาน โดยพระครูโพธิวรคุณ เจ้าคณะอำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีการขับเคลื่อนร่วมกับชุมชนและราชการ ในรูปแบบของโครงการ วชร 079 เป็นการร่วมมือกันระหว่างวัด ชุมชน งานราชการ ในการขับเคลื่อนงานต่างๆด้านการพัฒนาชุมชนโดยสอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะของชุมชนในทุกมิติ ใช้โครงการเป็นโอกาสในการดูแลรักษาสุขภาพของพระสงฆ์และชุมชน มีกลไกสำคัญเช่นเดียวกันกับทุกภาคก็คือพระคิลานุปัฏฐาก มันเป็นกำลังหลักในการดูแลพระสงฆ์ เห็นได้ชัดเมื่อช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่วัดเป็นที่พักพิงผู้ป่วย โควิด 19 ก็ใช้เครือข่ายของ พระคิลานุปัฏฐาก วชร 079 นี่แหล่ะเขามาดูแล จนทำให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตมาได้ เกิดการยอมรับในชุมชน
และในภาคค่ำนั้นเอง ก็ได้มาล้อมวงพูดคุยแลกเปลี่ยนกันต่อถึงบทเรียนการขับเคลื่อนงานบวชสร้างสุข ที่ทำร่วมกันทุกภาคทั่วประเทศ ณ ตอนนี้ แชร์บทเรียนการทำงานร่วมกันในแต่ละภาค เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางที่จะนำไปใช้ในการขับเคลื่อนผมจังหวัดตนเองต่อไป
เช้าวันที่ 15 ธันวาคม 2565 คณะสงฆ์ ได้ทำพิธีทอดผ้าป่าสังฆสามัคคี เพื่อสมทบทุนใน กองบุญสุขภาวะสังฆะเพื่อสังคม ในการดูแลพระสงฆ์นะคะนาพี่อาพาธ ทั่วประเทศ ได้รับความเมตตาจากเจ้าคณะภาค 7 พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร) เป็นองค์ประธานในการทอดผ้าป่าครั้งนี้
ภายหลังเสร็จสิ้นได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนต่อยอดกันถึงแนวทางที่จะผลักดันแนวคิดของกองบุญสุขภาวะพระสงฆ์ ที่จะใช้ดูแลพระสงฆ์เมื่อยามเจ็บป่วยอาพาธทั่วประเทศ ให้พระสงฆ์ทุกรูปได้เข้าถึงการรักษาสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาแต่ละภาคจะร่วมกันผลักดันในโอกาสต่อจากนี้ไป