กทม.ร่วมมือกับภาคีจัดกิจกรรม  BKK-เรนเจอร์ รวมพลังเด็กเปลี่ยนเมือง มุ่งสร้างพื้นที่แห่งการปลดปล่อยพลังของเด็กและรับฟังเสียงเด็ก (คนรุ่นใหม่) ในการพัฒนาเมือง

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2565 กทม. ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม อาทิ บางกอกกำลังดี มูลนิธิ Why i Why SYSI สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม มูลนิธิพัฒนาเด็ก เครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และอีกหลายๆหน่วยงานที่ขับเคลื่อนงานด้านเด็กเยาวชน และการส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ ผนึกกำลังจัดกิจกรรม BKK-เรนเจอร์ รวมพลังเด็กเปลี่ยนเมือง เปิดพื้นที่ให้กับเด็กเยาวชน รวมถึงคนรุ่นใหม่ ให้ได้มีโอกาสแสดงพลังและส่งเสียงถึงผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเมือง รวมถึงเป็นพื้นที่ในการแดงศักยภาพอย่างรอบด้าน ของเด็กๆ โดยมุ่งจัดงานที่ศูนย์เยวชนในกรุงเทพมหานครเนื่องจากเทศกาลเด็กและเยาวชนตลอดทั้งเดือนกันยายน โดยพื้นที่แรกในการจัดงานครั้งนี้จัดขึ้นที่ ศูนย์เยาวชนดอนเมือง มีกิจกรรมเยอะแยะมากมาย อาทิ กิจกรรม Workshop พัฒนาไอเดียสร้างสรรค์ เสริมศักยภาพสำหรับเยาวชน กิจกรรม Free Play & Youth Market พื้นที่อิสระในการเล่นและตลาดนัดเยาวชน รวมถึงจัดเวทีให้เด็กได้แสดงออกถึงความสามารถทั้งร้อง เล่น เต้น โชว์ อย่างเต็มที่

“ศานนท์ หวังสร้างบุญ” รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวในเวทีว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เราไม่ได้เน้นที่ความสนุกอย่างเดียว หรือเน้นที่การนันทนาการอย่างเดียว แต่หัวใจสำคัญของกิจกรรมครั้งนี้ คือ การพูดถึงความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆในการพัฒนาเมือง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ประเด็นของเด็กและเยาวชน เราคิดว่าการเปิดพื้นที่ให้กับเด็กเยาวชน หรือ คนรุ่นใหม่ ให้ได้มีโอกาศแสดงศักยภาพ แสดงพลังที่จะมีส่วนในการพัฒนาเมือง เราเองถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเราเอง คิดว่าคนที่จะอยู่กับเมืองนี้พัฒนาเมืองนี้ไปได้นานที่สุด ไม่ใช่ผู้ใหญ่ หรือใครที่กำลังนั่งบริหารบ้านเมืองอยู่ขณะนี้ หากแต่คือพวกเรา เด็กและเยาวชนที่นั่งอยู่ตรงนี้ที่จะอยู่ไปอีกนาน ฉนั้นการเปิดพื้นที่ให้กับพวกเราเด็กเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้แสดงออกถึงศักยภาพที่มีอยู่ และได้ส่งเสียงไปยังผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเมือง ได้รับฟังเสียงของพวกเรา และนำไปพิจารณาในเชิงนโยบายต่อไป

ซึ่งก็สอดคล้องกับนโยบายผู้ว่า ชัชชาติ ใน 216 นโยบาย คือ การมีสภาเมืองคนรุ่นใหม่ ซึ่งเราก็จะรวบรวมเสียงของทุกคนในกิจกรรมครั้งนี้ ไปพูคุยกันอีกทีในเวทีใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 – 25 กันยายน นี้ ที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร ไทย-ญี่ปุ่นดินแดง จะมีการเปิดสภาเมืองคนรุ่นใหม่ครั้งแรก ให้เด็กเยาชนคนรุ่นใหม่ ในเข้าไปนั่งพูดในสภา ในประเด็นปัญหาต่างๆ ต่อหน้าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนั้นนั้นๆ เพื่อให้เกิดการแก้ไขและพัฒนาเมืองกรุงเทพต่อไป

อีกหนึ่งไฮไลท์ที่น่าสนใจ ในกิจกรรมครั้งนี้ คือ ภายในงานพยายามเปิดพื้นที่ให้เด็กได้แสดงอออก แสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ในการเปลี่ยนแปลง กทม. ที่เขาอยากได้ หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเขียน หรือการพูด

ไม้โมก ธีรภพ เต็งประวัติ เด็กหนุ่มมัธยมปลายออกมาถ่ยทอดประสบการณ์ และส่งเสียงถึงผู้ใหญ่ในปัญหาสิ่งแวดล้อม เขาเล่าว่าเขาได้เลือกสื่อสารความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมผ่านโปรเจ็กต์ “เม้าท์มอยเขียว” หรือ Green Dialogue ซึ่งเป็นโครงงานก่อนเรียนจบ ม.6 หรือเรียกว่าธีสีสระดับมัธยมนั่นเอง ไม้โมกเชื่อว่า ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงก็ดี การจัดการขยะก็ดี พื้นที่สีเขียวที่ไม่เพียงพอก็ดี ล้วนไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ ที่จะปล่อยให้กลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “ผู้เชี่ยวชาญ” เป็นคนนำเสนอทางออกหรือตัดสินใจว่าจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมกันด้วยหนทางไหน หากแต่เป็นประเด็นยิ่งใหญ่ในระดับชีวิตประจำวันของปัจเจกไปจนถึงระดับนโยบายสากล และ “ทุกคน” ควรได้หันมา “สร้างบทสนทนา” เพื่อหาทางออกร่วมกัน และทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีกลุ่มคนที่เสียงไม่ดังอย่าง เช่น ชาวเลหรือชาติพันธุ์กะเหรี่ยงถูกหลงลืมไว้ข้างหลัง หรือแม้กระทั่งเสียงเล็กๆ ของเด็กเยาวชนคนรุ่นใหม่อย่างพวกเรา

แอ้ม อนุตรา จู้มณฑา หนึ่งในเยาวชนจากเครือข่ายนวัตกรรมคนรุ่นใหม่ (SYSI) ได้ออกมาพูดถึงเรื่อง สุขภาพจิตภาวะเครียดและความย่ำแย่ทางจิตใจ ที่เกิดขึ้นจากระบบสังคม ทั้งในสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา กับสภาวะความกดดัน จากความเคยชินของวัฒนธรรมเก่าที่มักใช้อำนาจ ‘นำ’ แบบรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวที่มาในรูปแบบของความปรารถนาดี หรือมาในรูปแบบการสร้างให้เกิดความกลัวต่อระบบใด ๆ เช่นเดียวกับเด็กและเยาวชนอีกนับไม่ถ้วนจนเรียกได้ว่าเป็นโรคฮิตของยุคสมัยไปเสียแล้ว หันไปมองคนรอบข้าง แอ้มพบว่าเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ควรถูกมองข้าม และเพราะเธอก็เป็นคนหนึ่งที่ประสบกับภาวะนี้มาแล้ว เธอเชื่อมั่นว่ามี way out หรือทางออกสำหรับเรื่องนี้อย่างแน่นอน

ไอซ์เบิร์ก ศักดิ์สิทธิ์ ศรีเดช กลุ่มเยาวชน YSDN ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนเข้มแข็งในการทำงานร่วมกับเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ได้ออกมาส่งเสียงเรื่องของการกำหนดนโยบายเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง และการส่งเสริมเสริมสุขภาวะที่ดีในกรุงเทพ ไอซ์เบิร์ก ได้กล่าวว่า เรื่องสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อสังคมในหลาย ๆ ด้าน การลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอีกหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคม เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือแม้กระทั่งการเสพสารเสพติด พร้อมได้อ้างถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่พบว่า ประชากรจากทั่วโลก ใน 1 ส่วน 3 ของประชากร เป็นผู้มีพฤติกรรม ในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก และที่หน้าตกใจไปกว่านั้น คือในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้บอกว่าว่ามีคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งเหล่านี้ถือว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะสิ่งที่จะตามมาไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพ แต่จะรวมไปถึง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณี และความปลอดภัยในสังคมได้รับผลกระทบ อยากส่งเสียงไปยังผู้ใหญ่หรือทุกคน ได้หันมาตระหนักและใส่ใจเรื่องนี้

ปาต๊ะ หรือ อับดุลปาตะ ยูโซะ จากสมาคมเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด (PPS) ทำงานขับเคลื่อนเรื่องการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสรรค์สังคมสันติภาพผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการทำงาน เขาพบว่า gap หรือช่องว่างระหว่างวัยของคนแต่ละรุ่นส่งผลกระทบต่อความไม่เข้าใจที่นำไปสู่ความขัดแย้งตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับประเทศ และสิ่งสำคัญที่จะจูนหัวใจของแต่ละวัยให้หันหน้าหากันได้ คือ เซฟโซน หรือพื้นที่ปลอดภัยทางใจที่เด็กและเยาวชนสามารถพูดคุย บอกเล่าความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างสบายใจ ไม่ถูกตัดสิน และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมไปพร้อมกับผู้ใหญ่ได้จริง เขาจึงอยากให้ผู้ใหญ่ หรือใครก็แล้วแต่ในสังคม ได้เปิดพื้นที่ให้กับพวกเขา เด็กเยาวชนคนรุ่นใหญ่ ได้พูดได้แสดงออกอย่างเต็มที่โดยไม่มีอะไรมาครอบงำ ไม่ปิดกั้น อย่างจริงจัง เพื่อลดความขัดแยังที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจกัน

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คน กทม. ต่างให้ความสนใจ ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก มองว่าเป็นการเปิดพื้นที่แห่งมีส่วนร่วมให้กับคนทุกระดับ มามีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพฯ มาเป็นเจ้าของปัญหา และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาของตัวเอง

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage บางกอกกำลังดี