เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา เครือข่ายสังฆะเพื่อสังคม ได้จัดการประชุมกลไกการขับเคลื่อนงาน เครือข่ายสังฆะเพื่อสังคมภาคกลาง ปริมณฑล และ กรุงเทพมหานคร ขึ้น ณ วัดนิคมพัฒนาราม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 30 คน ประกอบด้วย แกนนำ เครือข่ายพระสงฆ์ พุทธอาสา นักวิชาการ ผู้ประสานเครือข่ายระดับจังหวัด ภาค และ สคล. มีวัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนกระบวนการทำงาน (เราคือใคร ?) สะท้อนปัญหา/วิเคราะห์จุดอ่อน/จุดแข็ง (ที่ผ่านมา เราเป็นอย่างไร?) และ วางยุทธศาสตร์ รวมถึงปรับกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงาน ปี 2565 (เราจะร่วมเดินกันอย่างไร ?) โดยมี พระครูภัทรธรรมคุณ ดร. เจ้าคณะอำเภอพัฒนานิคม/เจ้าอาวาสฯ เป็นประธานการประชุม
พระปัญญา จิตฺปญโญ ผู้จัดการเครือข่ายสังฆะเพื่อสังคมภาคกลาง ชี้แจงวัตถุประสงค์ความเป็นมา ตลอดจน ผลงานของเครือข่ายสังฆะภาคกลาง สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1) เครือข่ายสังฆะเพื่อสังคมรวมตัวกันเป็นมูลนิธิสังฆะเพื่อสังคม (คน+ทุน) มีการระดมทุนโครงการต่าง ๆ จาก สสส. เพื่อพัฒนาสุขภาพพระสงฆ์ อาทิเช่น โครงการวัดปลอดเหล้า บุหรี่ การพนัน โครงการบวชสร้างสุข และมีการดำงานตามกิจกรรมจากแหล่งทุนที่กำหนดไว้
2) กองทุนสุขภาวะเพื่อจัดสวัสดิการแก่พระสงฆ์ที่อาพาธ มรณภาพ ซึ่งได้มาจากการสมัครสมาชิกกองทุนในช่วงเวลาที่ผ่านมา เครือข่ายสังฆะเพื่อสังคม ได้ให้การช่วยเหลือด้านกำลังทรัพย์ ทั้งต่อตัวพระสงฆ์และ เหตุการณ์ภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนในสังคม เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย
พันธกิจหลักขององค์กร คือ
1. เป็นกลไกในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ ในการพัฒนาสุขภาวะของพระสงฆ์
2. เพื่อทำงานพัฒนา/สาธารณะสังคม โดยการจัดสวัสดิการดูแลสมาชิกเครือข่ายพระสงฆ์ในยามอาพาธ มรณภาพ
จุดแข็ง : มีผู้รู้ที่หลากหลาย มีประสบการณ์ (ฆารวาสและพระสงฆ์) , คณะทำงานมีใจอุทิศตน/มีอุดมการณ์มีแกนนำพระสงฆ์เป็นหลักเข้มแข็ง , กลไกการทำงานที่ชัดเจน เข้มแข็ง, ระเบียบ กฎหมาย เป็นเครื่องมือในการทำงาน , มีทีมบริหารเครือข่ายเข้มแข็ง ชัดเจน
จุดอ่อน : พระนักพัฒนามีน้อย, ไม่ค่อยทำงานอุทิศตนอย่างจริงจัง ,ขาดเป้าหมายร่วมกัน/ขาดการประสานงานร่วมกัน, พบพฤติกรรมการดื่ม/สูบของชุมชน (บางแห่ง) , ขาดการประชาสัมพันธ์ อย่างทั่วถึง เช่น ป้ายการบังคับใช้กฎหมาย, เครือข่ายสังฆะเพื่อสังคมยังมีไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด อีกทั้ง ยังขาดการเชื่อมโยงและประสานงานของผู้ใหญ่ในชุมชนให้เข้าใจงานสังฆะเพื่อสังคม
โอกาส/ความท้าทาย : มีเครื่องมือช่วย ทำให้ทำงานง่ายขึ้น (กิจกรรมพุทธรรมและกิจกรรมเสริมต่างๆ) , ทำกันบ่อย ๆ ทำต่อเนื่อง(พร่ำทำ) , ด้วยกิจกรรมที่ทำอยู่, มีสื่อโซเชียล (พระครูสุวัฒน์เสนอแนะ) , ใช้ประโยชน์จากธรรมนูญสุขภาพ , ใช้กองทุนเสริมสร้างสุขภาพพระสงฆ์ (ทำให้วัดเข้มแข็ง พระสงฆ์แข็งแรง)
กลยุทธ์ยุทธวิธีในการทำงาน
1.อำเภอพัฒนานิคม: อุ้มน้อง ประคองพี่ กอดคอเพื่อน “สามัคคีธรรม
2. อำเภอโคกเจริญ : คิดให้คม ลงมือทำให้ชัด สื่อสารให้เป็น
3. อำเภอชัยบาดาล : เมตตาธรรมค้ำจุนโลก ป่าล้อมเมือง ถักทอเครือข่าย
4.อำเภอบางระจัน จ.สิงห์บุรี มองให้ไกลไปให้ถึงเป้าหมายต้องชัด กำกับ ติดตามประเมินเสริมพลังต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
แนวทางการดำเนินงาน ปี 2565 ของเครือข่ายสังฆะเพื่อสังคมภาคกลาง
- พระสงฆ์ต้องทำงานแบบอุทิศตน ออกไปช่วยสังคมเพิ่มมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม โดยเฉพาะเยาวชนกลุ่มเสี่ยง และ ญาติโยมที่จิตใจอ่อนแอ
- สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของพระสงฆ์ที่มีประโยชน์ต่อสังคม เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม และพัฒนา ผู้ที่มีจิตเดียวกัน (จิตบริสุทธิ์) เพิ่มพลัง ศักยภาพ ผู้ร่วมอุดมการณ์ทั้งความรู้วิชาการ การจัดการความรู้และกิจกรรมพัฒนา ตามจังหวะ หน้าที่ บริบทของพื้นที่ที่แตกต่างกัน
- การดำเนินการโครงงานต้องทำตามวัตถุประสงค์เราคือพระรุ่นใหม่
(ต้องเป็นนักปฏิบัติ และบริหาร อย่างต่อเนื่อง)
- นำข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานมาวิเคราะห์และสรุปเชิงวิชาการ และ สื่อสารให้เกิดมรรคผลในการก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน
- การทำงานของคณะทำงานต้องเป็นแบบวงล้อธรรมวินัย เพื่อการพัฒนา คิดใหม่ ทำใหม่ ร่วมกัน
- มีการเชื่อมโยงงาน/บูรณาการกับงานคณะสงฆ์ที่ทำอยู่ รวมถึงประสานการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องที่/ท้องถิ่น อย่างเข้าใจ และ มีความสุข
มติที่ประชุม
- เห็นชอบให้มีการประชุม อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 2 เดือน/ครั้ง (ทุกวันที่ 13 ของเดือน ไม่ตรงวันเสาร์-อาทิตย์ และวันพระ) ทั้งนี้ ต้องเตรียมความพร้อมล่วงหน้า (ทีมงาน หัวข้อ ผลงาน)
- เห็นชอบการเชื่อมโยงข้อมูล ข่าวสาร ใกล้ชิด และ สื่อสารต่อเนื่อง (ออนไลน์และออฟไลน์)
- เห็นชอบการทำงานในรูปแบบเครือข่าย ทั้งนี้ควรมีสื่อประชาสัมพันธ์ ครอบคลุมทุกระดับ (จังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน วัด หน่วยงาน) ตลอดจน ทีมงานย่อยเพิ่มเติม เพื่อช่วยคิด ทำเพิ่ม ทำต่อ เช่น ทีมงานธุรการ (สรุปเวที 1 page) ทีมงานวิชาการ ทีมงานสื่อสารมวลชน ทีมประสานงาน เป็นต้น การประชุมครั้งต่อไป วันที่ 13 ตุลาคม 2565
บทเรียนข้อค้นพบ
1.ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ทำให้เราตระหนักในปัญหา อีกทั้ง การมีรากเหง้า แก่นธรรม เป็นมูลเหตุในการ Take action เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของสังฆะอาสา และ พุทธอาสา
2. SWOT ทำให้เราเห็นเหตุชัด (เข้าถึง เข้าใจ แจ่มกระจ่าง) ไร้ซึ่งมายาคติ เราจะเริ่มมองเห็นหนทาง ในการดับเหตุแห่งกองทุกข์นั้น (ภายใน/ภายนอก) ได้ เป็นที่มาของคำว่า “ใจเป็นสุข กายเป็นสุข”
3. ฟังด้วยใจ ตาสว่าง พลังบังเกิด ฉันทำนั่น เธอทำนี่ เกิดกลไก “สังฆะอาสา พุทธอาสา” (ปรับโครงสร้าง/ พัฒนากลไกการทำงาน)
4.เมื่อมีเป้าหมายชัด ปลดล็อกวิธีการ เห็นหนทางคลายปมปัญหา จึงเกิดการวางจังหวะวิสาสาปรมาญาติ (2 เดือน/1 ครั้ง)
5. การอยู่กับปัจจุบันขณะ (Be present) = ความสามารถในการยืดหยุ่น/ปรับตัว (Empathy)
อารีย์ เหมะธุลิน พุทธอาสาด้านวิชาการ รายงาน