นักดื่มสายดริ๊งค์กับความเสี่ยงโรคมะเร็ง

นักดื่มสายดริ๊งค์ มักมากับความเสี่ยงที่ซ่อนเร้น ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความหลงไหลในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะสายดริ๊งค์ที่มีแนวสร้างประสบการณ์ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่หลากหลาย ไม่ซ้ำกัน เป็นตัวบ่งชี้ที่เกิดขึ้นได้ว่า มีความเสี่ยงที่ซ่อนเร้น ในที่นี้ก็คือ โรคมะเร็ง นั่นเอง

มะเร็ง คืออะไร

มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเราที่มีความผิดปกติ ของดีเอ็นเอ (DNA) หรือ สารทางพันธุกรรม โดยเซลล์จะแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้มีการเจริญเติบโตผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อ ที่มีการลุกลามไปอวัยวะข้างเคียง หรือกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้นั่นเอง

จุดเริ่มต้นของมะเร็ง เกิดจากการกลายพันธุ์ระดับยีน (genetic mutation) ในปัจจุบันจากการศึกษาข้อมูลยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าสาเหตุของการ เกิดโรคมะเร็งนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใดเพียงสาเหตุเดียว แต่เชื่อว่าน่าจะมาจาก สาเหตุหรือปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ 90-95% ยีนเกิดการกลายพันธุ์ที่มาจาก พฤติกรรมการใช้ชีวิตและปัจจัยจาก สิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา อาหาร มลภาวะจากสิ่งแวดล้อม เป็นต้น และ 5-10% ยีนเกิดการกลายพันธุ์ที่มาจาก ทางพันธุกรรม คือ การมียีนที่มีความผิดปกติตั้งแต่ กำเนิด โดยส่งผ่านความผิดปกตินี้ไปยัง รุ่นลูกหลาน

สารก่อมะเร็งในชีวิตประจำวัน

สารก่อมะเร็ง คือ สาร รังสี หรือสิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ ซึ่งมาจากการบริโภค หรือสัมผัสสารเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน ประเภทของสารก่อมะเร็ง การติดเชื้อเรื้อรัง อาหารและสิ่ง ปนเปื้อนในอาหาร สารเคมี สารที่เกิดจาก กระบวนการอุตสาหกรรม รังสี สารปนเปื้อน ในสิ่งแวดล้อม พฤติกรรม การใช้สารบางอย่าง ในมนุษย์

นอกจากนี้ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า 12 สารก่อมะเร็งที่ เราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวันและอาจได้รับสารเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว โดยองค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer; IARC) ได้จัดสารเหล่านี้เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งกลุ่ม 1 คือ เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ ได้แก่ การสูบบุหรี่, การได้รับควันบุหรี่ (ควันบุหรี่มือสอง), การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ, การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ, การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV), เนื้อสัตว์แปรูป (Processed meat), สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxins), สารเบนโซ(เอ)ไพรีน, มลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร, ฝุ่นไม้ และรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)

หากท่านเป็นสายนักดื่ม หรือรู้จักคนใกล้ตัว ซึ่งบทความนี้ ลองชวนกันมารู้จักข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็ง ที่มีผลจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กันครับ

เหล้าเกี่ยวกับมะเร็งอย่างไร

ในปัจจุบันพฤติกรรมการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเสียชีวิต จากสถิติขององค์การอนามัยโลก รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกด้วยโรคและการบาดเจ็บจากการดื่มสุรา ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี อีกทั้งการดื่มสุรายังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากข้อมูลรายงานว่า การดื่มสุราเป็นเหตุให้เกิดโรคในร่างกายมากกว่า 200 โรค รวมถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ

สาเหตุของการดื่มที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น มีความเกี่ยวข้องกับสารเคมี 2 ชนิด ที่สามารถทำลายดี DNA ภายในเซลล์ นั่นก็คือ เอทานอล ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดย เอทานอล หรือแอซีทาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) เป็นแอลดีไฮด์ที่มีคาร์บอน 2 อะตอม หรือสารก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายของสารเอทานอลในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการทำลาย DNA ภายในเซลล์ทำให้เซลล์ในร่างกายอ่อนแอลง

การดื่มแอลกอฮอล์ ยังอาจลดความสามารถของร่างกายในการดูดซึมสารอาหารที่สำคัญ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี โฟเลต แคโรทีนอยด์

นอกจากนี้ ผู้ที่มีพฤติกรรมดื่มสุราเป็นประจำร่วมกับการสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง สำหรับโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งศีรษะและลำคอ มะเร็งช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งเต้านม

เหล้า สาเหตุสำคัญในการเกิดโรคมะเร็งไม่แพ้บุหรี่ แม้ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งที่ศีรษะและลำคอ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้และทวารหนัก ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเหล่านี้จะสูงขึ้นหากดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อดื่มเป็นประจำเป็นเวลานาน ความเสี่ยงจะสูงขึ้นเป็นพิเศษสำหรับมะเร็งกล่องเสียง หลอดอาหารและช่องปาก เนื่องจากเนื้อเยื่อเหล่านี้สัมผัสกับแอลกอฮอล์โดยตรงเมื่อดื่มเข้าไป

10 อันดับมะเร็งในไทย
ของผู้ป่วยรายใหม่

เปิดสถิติโรคมะเร็งที่พบมาก 10 อันดับแรกของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ ในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จากรายงานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564 พบว่า

โรคมะเร็ง รายใหม่ที่พบมาก 10 อันดับแรกในเพศชาย ได้แก่

  1. Liver and Bile duct 20.5%
  2. Colon and Rectum 19.0%
  3. Trachea, Brochus and Lung 11.6% 
  4. Oral Cavity 7.1% 
  5. Prostate 6.9% 
  6. Esophagus 5.9% 
  7. Nasopharynx 3.1%
  8. Stomach 2.6%
  9. Pancrease 2.4% 
  10. Larynx 2.4%

โรคมะเร็ง รายใหม่ที่พบมาก 10 อันดับแรกในเพศหญิง ได้แก่

  1. Breast 37.9% 
  2. Cervix Uteri 13.8% 
  3. Colon and Rectum 10.1%
  4. Trachea, Brochus and Lung 6.8% 
  5. Liver and Bile duct 6.1%
  6. Corpus Uteri 6.0% 
  7. Ovary 4.4%
  8. Pancrease 2.0% 
  9. Stomach 1.6% 
  10. Oral Cavity 1.5% 

ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) หรือ Centre for Alcohol Studies : CAS ซึ่งได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ ภาระโรคที่เกิดจากมะเร็งที่สัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วโลกในปี 2563 ซึ่งเป็นข้อมูลจาก องค์กรนานาชาติเพื่อการวิจัยด้านมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer (IARC) เปิดเผยผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ The Lancet Oncology พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในปี 2563 ประมาณ 741,000 คนทั่วโลก มีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา พบว่าจำนวน 3 ใน 4 ส่วนเป็นเพศชาย

ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าการดื่มแบบเสี่ยงและการดื่มหนัก (มากกว่าสองหน่วยดื่มมาตรฐานต่อวัน) จะเป็นสัดส่วนหลักที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง (ร้อยละ 86 ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) การดื่มปริมาณน้อยถึงปานกลาง (ไม่เกินสองหน่วยดื่มมาตรฐานต่อวัน) ก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราเช่นกัน นั่นคือ ประมาณ 1 ใน 7 ของผู้ป่วยมะเร็ง ที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นผู้ดื่มปริมาณน้อยหรือปานกลาง ซึ่งคิดเป็นจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณมากกว่า 100,000 รายต่อปี

และในจำนวนผู้ป่วยมะเร็ง 741,000 คนทั่วโลก (ปี 2563) จำนวนร้อยละ 26 เป็นมะเร็งหลอดอาหาร, ร้อยละ 21 เป็นมะเร็งตับ และร้อยละ 13 เป็นมะเร็งเต้านม ส่วนที่เหลือเป็นมะเร็งลำไส้ ช่องปาก ทวารหนัก คอหอย และกล่องเสียง ร้อยละ 12, ร้อยละ 10, ร้อยละ 9, ร้อยละ 5 และร้อยละ 4 ตามลำดับ (ปริมาณการดื่ม 2 หน่วยดื่มมาตรฐาน เทียบได้เท่ากับ ไวน์ที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ 12-13% ประมาณ 2 แก้ว ๆ ละ 100 มล. เบียร์ที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ 4.5-5% ประมาณ 2 กระป๋องหรือหนึ่งขวดใหญ่ เหล้าสี/เหล้าขาวที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ 35-40 % ประมาณ 2 เป็ก ๆ ละ 30 มล.)

บทสรุปของเนื้อหา

  • มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่มีความผิดปกติของดีเอ็นเอ (DNA) หรือสารทางพันธุกรรม โดยเซลล์จะแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้มีการเจริญเติบโตผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อ ที่มีการลุกลามไปอวัยวะข้างเคียง หรือกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้
  • สาเหตุของการดื่มที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น มีความเกี่ยวข้องกับสารเคมี 2 ชนิด ที่สามารถทำลายดีเอ็นเอภายในเซลล์ นั่นก็คือ เอทานอล ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดย เอทานอล หรือแอซีทาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) เป็นแอลดีไฮด์ที่มีคาร์บอน 2 อะตอม หรือสารก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายของสารเอทานอลในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการทำลาย DNA ภายในเซลล์ทำให้เซลล์ในร่างกายอ่อนแอลง
  • โรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งศีรษะและลำคอ มะเร็งช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งเต้านม
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งที่ศีรษะและลำคอ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
  • ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเหล่านี้จะสูงขึ้นหากดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อดื่มเป็นประจำเป็นเวลานาน
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณน้อยถึงปานกลาง (ไม่เกินสองหน่วยดื่มมาตรฐานต่อวัน) ก็ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราเช่นกัน
  • ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำร่วมกับการสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
  • หากต้องการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือหากจำเป็นต้องดื่ม ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่เกินสองหน่วยดื่มมาตรฐานต่อวัน
  • หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

ข้อมูลอ้างอิง

  • Whelan C. (2021). Can Alcohol Increase Your Risk for Breast Cancer? https://www.healthline.com/health/breast-cancer/alcohol-and-breast-cancer.html
  • รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา, นพ.ปัญญา ทวีปวรเดช. การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพียงวันละแก้ว เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้. https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th/content/07102019-1632-th
  • American Institute for Cancer Research (2017). Diet, Nutrition, Physical Activity and Cancer 2017. https://www.aicr.org/research/the-continuous-update-project/breast-cancer
  • สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2021). Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018. https://www.nci.go.th/e_book/cit_x/index.html
  • ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.). (2024, January 17). ภาระโรคที่เกิดจากมะเร็งที่สัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วโลกในปี 2563. https://cas.or.th/?p=11322

นักสื่อสารสุขภาวะดิจิทัล และ Data Journalism