โรคมะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเราที่มีความผิดปกติ ของดีเอ็นเอ (DNA) หรือ สารทางพันธุกรรม โดยเซลล์จะแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้มีการเจริญเติบโตผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อ ที่มีการลุกลามไปอวัยวะข้างเคียง หรือกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้นั่นเอง
มะเร็งร้ายหมายเลขหนึ่งของหญิงไทย มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในเพศชายก็สามารถอาจพบเจอมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน จากสถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 ใน 100 ของผู้ป่วย มะเร็งเต้านมทั้งหมด มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เสียชีวิต วันละ 13 คน หรือ 4,654 คน/ปี
มะเร็งเต้านม พบมากสูงสุดในหญิงไทย
จากสถิติโรคมะเร็งที่พบมากของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ จากรายงานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564 พบว่า 10 อันดับแรกในเพศหญิง ได้แก่
- Breast 37.9%
- Cervix Uteri 13.8%
- Colon and Rectum 10.1%
- Trachea, Brochus and Lung 6.8%
- Liver and Bile duct 6.1%
- Corpus Uteri 6.0%
- Ovary 4.4%
- Pancrease 2.0%
- Stomach 1.6%
- Oral Cavity 1.5%
อัตราส่วนส่วนมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย คือ “มะเร็งเต้านม” และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ชายก็มีสิทธิเป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 ใน 100 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด ข้อมูลจาก Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ มีผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านม รายใหม่เฉลี่ยวันละ 47 คน หรือ 17,043 คนต่อปี
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านมที่สำคัญนั้นมีหลายปัจจัยได้แก่ อายุที่มากขึ้น มีประวัติสายตรง มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หรือประจำเดือนหมดหลังอายุ 55 ปี, มีภาวะอ้วน, ได้รับการรังสีรักษาที่ทรวงอกหรือเต้านม และอีกปัจจัยหนึ่งคือ “การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
สาเหตุของความเสี่ยง
จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เกี่ยวข้องกับสารเคมี 2 ชนิด ที่สามารถเป็นทำลายดี DNA ภายในเซลล์ นั่นก็คือ เอทานอล ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดย เอทานอล หรือแอซีทาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) เป็นแอลดีไฮด์ที่มีคาร์บอน 2 อะตอม หรือสารก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายของสารเอทานอลในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการทำลาย DNA ภายในเซลล์ทำให้เซลล์ในร่างกายอ่อนแอลง
นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ อาจลดความสามารถของร่างกายในการดูดซึมสารอาหารที่สำคัญ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี โฟเลต แคโรทีนอยด์
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุสาเหตุเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสี่ยงมะเร็งว่า นาย Chin-Yo Lin นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Houston’s Center for Nuclear Receptors and Cell Signaling ได้ให้ข้อมูลว่า แอลกอฮอล์นั้นจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นอะเซทัลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ซึ่งทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในหน่วยพันธุกรรม หรือ DNA ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งในที่สุด และการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของปริมาณของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน (estrogen) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของมะเร็งเต้านม
นอกจากนี้ข้อมูลจากงานวิจัยในปี 2015 จาก Journal PLOS ONE ซึ่งพบว่าแอลกอฮอล์สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมได้ โดยผ่านทางอิทธิพลของยีนที่ชื่อว่า BRAF เขายังให้ข้อคิดเห็นอีกว่า จากงานวิจัยที่ว่าการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณเล็กน้อยสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ แต่อย่างไรก็ตามคงจะต้องมาชั่งน้ำหนักกับความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมที่เพิ่มขึ้น
7 สัญญาณมะเร็งเต้านม
- มีก้อนที่เต้านมหรือรักแร้
- รูปร่างหรือขนาดของเต้านมที่ เปลี่ยนแปลงไป
- มีน้ําผิดปกติไหลออกมาจากหัวนม
- หัวนมบอดหรือมีแผลเรื้อรังที่หัวนม
- มีรอยบุ๋ม รอยย่น ผื่นคัน บริเวณ ลานหัวนม
- มีอาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม หรือ รักแร้
- ผิวหนังของเต้านมมีรอยบุ๋ม รอยย่น ผิวหนังบวมหนาคล้ายผิวเปลือกส้ม
มะเร็งเต้านม
สามารถตรวจพบ
ในระยะเริ่มแรกได้โดย
- ตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละครั้ง
- ตรวจโดยบุคลากร ทางการแพทย์
- ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม หรือ แมมโมแกรม เป็นประจําทุกปี ตั้งแต่อายุ 40 ปี ขึ้นไป
ทั้งนี้ผลการรักษามะเร็งเต้านม ระยะแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้สูงถึง 95 % ทั้งนี้ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม จากงานวิจัยพบว่า มีผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ และการลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถือเป็นวิธีที่ลดความเสี่ยงมะเร็งได้หลายชนิด และเป็นวิธีที่นักดื่ม สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ง่ายที่สุด สำหรับท่านใดอยากทราบความเสี่ยงของมะเร็ง สามารถเข้าไปทำแบบประเมินอาการเสี่ยงโรคมะเร็งออนไลน์จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ที่ https://allaboutcancer.nci.go.th
ข้อมูลอ้างอิง
- รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา, นพ.ปัญญา ทวีปวรเดช. การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพียงวันละแก้ว เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้. https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th/content/07102019-1632-th
- American Institute for Cancer Research (2017). Diet, Nutrition, Physical Activity and Cancer 2017. https://www.aicr.org/research/the-continuous-update-project/breast-cancer
- Whelan C. (2021). Can Alcohol Increase Your Risk for Breast Cancer? https://www.healthline.com/health/breast-cancer/alcohol-and-breast-cancer.html
- สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2021). Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018. https://www.nci.go.th/e_book/cit_x/index.html