เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 เครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีสื่อสารสาธารณะ เพื่อรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และลงนามบันทึกข้อตกลงรวามร่วมมือ (MOU) การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะงานบุญประเพณี วัฒนธรรมวิถีใหม่ปลอดเหล้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณ ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายกิตติพงศ์ สุขภาคกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคตะวันตก โดยมี น.ส.ธนพร บางบัวงาม ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า จ.ประจวบฯ กล่าวรายงาน และมีเภสัชกร สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า อาจารย์มานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ( สสส.) ร่วมเป็นพยาน และน.ส.อุบลวรรณ คงสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคตะวันตก นายเรวัฒน์ สุขหอม รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดประจวบฯ ตัวแทนชุมชนคนสู้เหล้าในแต่ละชุมชนทั้ง 8 อำเภอ ผู้แทนหน่วยงาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม
โดยกระบวนการในช่วงแรกเริ่มต้นด้วยเวทีเสวนา “เหล้า บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา ยาเสพติด เต็มพื้นที่ออนไลน์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมรับมืออย่างไร” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายเรวัฒน์ สุขหอม (รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) ได้แลกเปลี่ยนเรื่องของพิษจากสารต่างๆ เหล้า บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา ยาเสพติด โดยในจังหวัดจะมีการจัดเวทีพูดคุยประเด็นเรื่องยาเสพติด เดือนละ 2 ครั้ง ในกลุ่มผู้เสพ ในกลุ่มผู้ดื่มผู้เสพ ปฏิบัติตามดื่มและเสพเป็นที่เป็นทางมากขึ้น ปัจจุบันเริ่มมีการขายสุราพื้นบ้านมากขึ้น สินค้าบางชนิดทำออกมาสวย น่าซื้อน่าลอง
คุณสุวรรณกิต บุญแท้ (ผู้แทนจากสำนักงานเครือข่ายองค์รงดเหล้า) กล่าวสถาณการณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในพื้นที่ออนไลน์ภาพรวม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จุดเด่นคือพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาสินค้าเกษตร ประเด็นปัญหาของพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือด้านความสังคมและมั่นคง เรื่องของผู้สูงอายุ และสตรีที่ท้องไม่พร้อม ทางด้านเยาวชนก็มีการรณรงค์และป้องกันยาเสพติด ถ้าย้อนไปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีการดื่มมากขึ้นจนถึงกราฟปัจจุบันที่อยู่นิ่ง องค์การอนามัยโลก เห็นด้วยการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันดับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงอยู่ที่อันดับ 55 ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกระบุว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสารอันตรายมีการเสียชีวิตจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสารเสพติดที่มีผลกระทบต่อคนอื่นมากที่สุด องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ประเทศไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากที่สุด การผลักดันสุราก้าวหน้า พรบ.สรรพสามิต การผลิต พรบ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือการขาย พรบ.จราจรทางบก คือ ผลกระทบ คราฟเบียร์ หรือการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปัจจุบันแค่มีวัตถุดิบครบก็สามารถผลิตได้
นางมณฑา ขนเม่น (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) กล่าวถึงผลกระทบของ เหล้า บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา ยาเสพติด ว่ากัญชาเสรีไม่มีอยู่จริง กัญชาที่สามารถนำมาใช้ได้คือ CBD สารกัญชาที่สามารถให้มอมเมาได้คือ THC เป็นปริมาณสูงในช่อดอกกัญชา เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย กัญชากับผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 9/2558 ห้ามขาย นำเสนอเพื่อขาย ห้ามให้บริการ บารากู่ดั้งเดิม บารากู่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 ว่าด้วยเรื่อง ห้ามนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้า ความผิดเท่ากับลักลอบหนีพิธีการศุลกากร ห้ามพักสินค้าความผิดเท่ากับรับซื้อ/รับไว้ซึ่งสินค้าหนีพิธีการ กลุ่มบำบัดพบว่าอายุ 16 ปี ใช้สารเสพติดร่วมกัน เช่น กัญชา เหล้าขาว ยาม้า ฯลฯ
ระหว่างเวทีเสวนาได้เกิดข้อแลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมรับฟัง ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่จำเป็นจะต้องนำมาเป็นจุดขายในการท่องเที่ยว สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ดำเนินงานมา 20 ปี ทำให้กราฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คงที่ นโยบายสุราก้าวหน้าเกี่ยวข้องกับประชาชนไม่เกินร้อยละ 10 สุราเป็นผลกระทบต่อผู้อื่นมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ไม่ได้คัดค้านการดื่มของประชาชน ที่น่าเป็นห่วงคือนักดื่มหน้าใหม่เป็นกลุ่มสตรีมากกว่ากลุ่มผู้ชาย จากการวิจัยปัญหาสุรา ผู้หญิงดื่ม 1 แก้ว สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลการดื่มต่อสมอง และทำให้เยาวชนเสียโอกาส เสียอนาคต พิการได้ ตัวแทนชุมชนทุ่งทอง บ้านทับสะแก กล่าวว่า “ยาเสพติดเข้าถึงได้ง่ายกลับเยาวชนอายุ 12 ปีขึ้นไปรวมไปถึงบุหรี่ไฟฟ้า กว่าผู้ปกครองจะรับทราบเยาวชนก็ติดไปแล้ว สอบถามเยาวชนซื้อบุหรี่ไฟฟ้ามาจากร้านขายออนไลน์ ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เราควรดัดไม้อ่อนในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
หลังจากจบเวทีเสวนาด้าน น.ส.ธนพร บางบัวงาม ได้กล่าวรายงานต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัดประชวบคีรีขันธ์ว่า “พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เป็นกฎหมายที่ประชาชนมากกว่า 13 ล้านคนลงชื่อสนับสนุน เพื่อลดผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกมิติ ทั้งความรุนแรงในครอบครัว อุบัติเหตุ อาชญากรรม คุ้มครองสุขภาพประชาชน ป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้เข้าถึงได้ง่าย จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 ที่สำรวจผู้อายุ 15 ขึ้นไปพบว่า ผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มจาก 38.68 ล้านคนในปี 2554 มาเป็น 41.04 ล้านคนในปี 2564 หรือมีนักดื่มลดลงประมาณ 2.3 ล้านคน เมื่อคำนวณปริมาณเอทานอลบริสุทธิ์ต่อหัวประชากรที่ดื่ม พบว่า อยู่ในระดับทรงตัว คือ 7.1 ลิตรต่อปี แต่เมื่อคำนวณต้นทุนที่สูญเสียจากปัญหาการดื่มในปี 2564 สูงกว่า 1.65 แสนล้านบาท อีกทั้งข้อมูลพบผู้ต้องขังอายุไม่เกิน 25 ปีสัดส่วนถึงร้อยละ 88% ดื่มสุราก่อนก่อเหตุ และผู้เสียชีวิตจากโรคตับสัมพันธ์กับการดื่มมีถึง 2.5 หมื่นคนต่อปี เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดประจวบฯ ขอบคุณสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่ดำเนินการตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในการป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ คุ้มครองสุขภาพประชาชนและลดผลกระทบทางสังคม อย่างไรก็ตามเนื่องจากกฎหมายใช้มานาน จึงสนับสนุนให้ปรับแก้ ยืดหลักการแก้ไขให้ดีและเข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะการแก้ไขมาตรา 32 ห้ามใช้ตราสัญลักษณ์ (โลโก้) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปโฆษณาสินค้าอื่น อาทิ น้ำดื่ม โชดา กำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนกรณีมาตรา 29 ไม่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้คนเมาครองสติไม่ได้ ให้ผู้ขาย ผู้ให้บริการเป็นแนวปฏิบัติได้จริง รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสุราอย่างจริงจัง สร้างแรงจูงใจให้ผู้ติดสุราเข้าสู่การบำบัด ขณะเดียวกัน กลไกการทำงานที่เข้มแข็งของเครือข่ายทั้งจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยกันรณรงค์ป้องกันปัญหา ในส่วนของระดับจังหวัดจะประสานให้มีการทำงานที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
สำหรับการบันทึกข้อตกลง (MOU) ซึ่งจะเป็นกลไกความร่วมมือรูปแบบหนึ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย การจัดทำบันทึกข้อตกลงวันนี้ ประกอบด้วย 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.คณะกรรมการควบคุมเครื่องแอลกอฮอล์จังหวัดประจวบฯ 2.สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดประจวบฯ และ 3.สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคตะวันตก โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. และพี่น้องเครือข่ายเป็นพยาน โดยทั้งนี้การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ เพื่อขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงาน สร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนการจัดการปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม การดำเนินงานสถานศึกษา เครือข่ายเยาวชนให้มีความตระหนักเรื่องพิษภัยและป้องกันนักดื่ม นักสูบหน้าใหม่ และเพื่อสร้างวัฒนธรรมวิถีใหม่ ค่านิยมใหม่ในงานเทศกาล งานบุญประเพณี ปลอดบุหรี่และสุรา ลดแรงสนับสนุนการดื่ม เฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมายของธุรกิจแอลกอฮอล์ และบังคับใช้กฎหมาย 4) เพื่อสนับสนุน หนุนเสริมกระบวนการปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ ป้องกันเมาแล้วขับ และลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ
ด้าน นายกิตติพงศ์ สุขภาคกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า “คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดประจวบฯ นอกจากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การบังคับใช้กฎหมาย ยังได้ขับเคลื่อนนโยบายการลดการดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง เพื่อสร้างสังคมปลอดภัยจากปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ควบคุมและจำกัดการเข้าถึง ควบคุมพฤติกรรมการขับขี่หลังการดื่ม คัดกรองและบำบัดรักษาผู้มีปัญหาจากสุรา ควบคุมการโฆษณา ส่งเสริมการขาย การให้ทุนสนับสนุน และการดำเนินการผ่านระบบภาษี ตระหนักถึงผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับสูงจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาได้ ทั้งนี้การปรับปรุงกฎหมาย ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเตรียมแผนปฏิบัติการและกฎหมายในหลายๆ เรื่อง เช่น แผนปฏิบัติการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติระยะที่ 2 และ ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติและดำเนินการตามขั้นตอน และให้ความสำคัญกับนโยบายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผ่านนโยบายและมาตรการต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การจัดงานในวันนี้นับว่าเป็นสิ่งที่ดีและสำคัญยิ่ง กับการพัฒนาการ ดำเนินงานร่วมกันตามแนวทางความร่วมมือ การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานดังต่อไปนี้ ร่วมรณรงค์และดำเนินการให้การจัดงานบุญประเพณีและเทศกาลต่างๆในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปลอดเหล้าปลอดภัย เพื่อลดอุบัติเหตุความสูญเสีย ลดปัญหาทะเลาะวิวาท อาชญากรรม และความรุนแรงในครอบครัว อาทิ งานกาชาด งานบวช งานแต่ง งานสงกรานต์ งานลอยกระทง งานแข่งเรือ งานเทศกาลอาหาร งานศพ งานไทยทรงดำ งานเกษียณอายุ งานสวดมนต์ข้ามปี งานวันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน งานเสี้ยงอาสาสมัครในหมู่บ้าน และไม่ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์กิจกรรมส่งเสริมการตลาดของธุรกิจแอลกอฮอล์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และชุมชน อีกทั้งร่วมกันส่งเสริมกิจกรรมที่แสดงถึงคุณค่าทางประเพณีวัฒนธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กเยาวชนและครอบครัว นอกจากนี้ยังรณรงค์ชุมชนสู้เหล้า และงดเหล้าเข้าพรรษา ให้ชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อน ชวนช่วยเชียร์ ลด ละ เลิก และควบคุมบังคับใช้กฎหมาย กฎกติกาชุมชน ลดความรุนแรง ลดอุบัติเหตุ ลดการเจ็บป่วย และส่งเสริมครอบครัวให้เข้มแข็ง มีความสุข
การสนับสนุนและส่งเสริมคุณภาพชีวิต การสร้างงาน อาชีพ และรายได้ รวมถึง การฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สถานศึกษาจัดการ การศึกษา ให้ตระหนัก สร้างภูมิคุ้มกันร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน การเปิดพื้นที่และกิจกรรมสร้างสรรค์ (ศิลปะ ดนตรี กีฬา วัฒนธรรม ชุมชนร่วมสมัย) สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของเด็กเยาวชน ให้ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต”