วันนี้จะพาทุกคนมาเที่ยวชมวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวไทยเชื้อสายกระเหรี่ยง ในฤดูกาลเกี่ยวข้าวหมุนเวียน รอวันกินข้าวใหม่ เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่สมัยโบราณนานนับร้อยปี ให้ลูกหลานได้รู้จักวิถีชีวิตดั้งเดิมหาชมได้ยาก ไปเที่ยวชมวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงบางกะม่าร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน และชุมชนร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชุมชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงให้คงอยู่ เมื่อถึงช่วงหน้าเกี่ยวข้าวจะมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ และเครื่องสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล มีผู้นำหมู่บ้านพร้อมชาวบ้านจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าทอมือเป็นชุดประจำพื้นถิ่นของชนชาติกะเหรี่ยง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่นำอุปกรณ์การเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกที่เรียกว่า “ปา” ใช้สำหรับเก็บข้าวฟ่อน และ “ ไน” ใช้สำหรับใส่ข้าวเปลือก และ “โงใหญ่” เป็นอุปกรณ์ใส่ข้าวฟ่อนเพื่อใช้แบกข้าวฟ่อนขึ้นบนห้างสูง ที่ทำไว้สำหรับใช้นวดข้าวให้หล่นตกมาด้านล่าง เมื่อนวดข้าวเหลือแต่เม็ดแล้วก็จะนำไปใส่แบบข้าวแบ่งกันกลับไป เป็นข้าวสายพันธุ์ที่ไม่ต้องซื้อกินลักษณะคล้ายตะกร้าทรงสูงเป็นอุปกรณ์ที่จักสานมาจากไม้ไผ่ละเอียดโดยจะมีการนำเชือกร้อยใส่ที่กลางตะกร้า เพื่อนำขึ้นคล้องใส่ไว้บนศีรษะ เตรียมนำไปใส่ฟ่อนข้าวที่เก็บเกี่ยวอยู่ไร่ปลูกข้าว เพื่อเอามานวด
การจัดกิจกรรมว่า เป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมานับร้อยปีมาแล้ว ซึ่งชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า พระแม่โพสพจะอยู่บนสวรรค์ จะมีกระเช้าจะเปรียบเสมือนกระเป๋าเงินกระเป๋าทองที่พระแม่โพสพให้มาจะมีเมล็ดข้าวเมล็ดงา ดอกไม้ต่างๆ เสร็จแล้วพระแม่โพสพก็จะให้โอวาทกับกลุ่มชาติพันธุ์จากนั้นจึงกลับขึ้นสวรรค์โดยกระเป๋าที่ทิ้งให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์สืบต่อมานั้นเป็นสายใยรักของท่านอย่าไปทิ้ง ขอให้สืบทอดต่อไปนอกจากนี้ด้านในกระเป๋ายังมีกล้วย ข้าวห่อ หมากพลู เคียวเกี่ยวข้าว พร้อมกับอ้อยอีก 1 ลำ พอเกี่ยวข้าวแม่โพสพใหญ่แล้วก็จะนำมาเก็บไว้ในฉาง เป็นประเพณีสืบทอดกันมายาวนาน 200 – 300 ปีแล้ว ตั้งแต่ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเกิดขึ้นมาทั่วประเทศไทย ส่วนพื้นที่การปลูกก็จะขึ้นอยู่กับสภาพแต่ละพื้นที่ เช่น เชิงเขาสูง ที่ราบ ช่วงฤดูการเตรียมหาพื้นที่ปลูกตั้งแต่เดือนมกราคม ซึ่งอาจจะปลูกช่วงเดือนสิงหาคม จะต้องมีอุปกรณ์ตามที่แม่โพสพบอกไว้ วิธีการปลูกนั้นเป็นลักษณะแบบหมุนเวียน ใช้ไม้แทงหยอดลงดินตามหลุมโดยพันธุ์ข้าวมี 2 สายพันธุ์คือ พันธุ์อั้งเจิง และพันธุ์ว่องลาย หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จก็จะนำข้าวฟ่อนขนขึ้นไปบนห้างเรียงเก็บไว้เป็นแถว เมื่อถึงเวลานัดหมายก็จะช่วยกันนวด ช่วยกันฟาด เพื่อให้เมล็ดข้าวได้หล่นลงตามล่องไม่ไผ่มาด้านล่าง ที่มีฝืนรำแพนใหญ่ที่สานจากไม้ไผ่ปูรองไว้ คนที่อยู่ด้านล่างก็จะใช้พัดโบกเพื่อให้ข้าวเปลือกที่เป็นเม็ดลีบปลิวออกจากกอง จากนั้นจึงขนนำไปใส่กระล่อมข้าว เพื่อเตรียมจัดพิธีกินข้าวใหม่อีกครั้งในเดือนมกราคม เป็นการเสร็จพิธีของชาติพันธุ์ โดยเป็นการปลูกข้าวแบบหมุนเวียนจัดแบ่งพื้นที่ในการปลูกแต่ละครั้ง
สำหรับพื้นที่การนวดข้าวจะทำห้างลักษณะสูง มีบันไดไม้สูง เวลานำฟ่อนข้าวขึ้นไปด้านบนแล้วนวดฟาดลงมาจะมีเมล็ดข้าวแกร่งร่วงตกหล่นลงมาลงด้านล่างมีน้ำหนัก ส่วนเมล็ดข้าวที่มีลักษณะลีบก็จะปลิวไปตามแรงโน้มถ่วง และจะใช้แรงงานคนพัดวีเพื่อให้เมล็ดข้าวที่ลีบปลิวออกไปก็จะได้แต่เมล็ดข้าวที่สมบูรณ์เมื่อนำไปหุงจะเป็นข้าวใหม่ที่มีกลิ่นหอม เหนียว นุ่ม คล้ายข้าวหอมมะลิ และยังเป็นข้าวอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมีด้วย สำหรับชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงบ้านหินสี ตำบลยางหัก หลังจากเสร็จสิ้นฤดูเกี่ยวข้าวแล้ว ก็จะตากข้าวไว้ให้แห้ง จากนั้นก็จะกำหนดวันรวมกลุ่มนัดหมาย เพื่อจัดพิธีกินข้าวใหม่กันอีกครั้งในช่วงเดือนถัดจากนี้ไป
เมื่อวันที่ 24-25 ธันวาคม ที่ผ่านมา ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านบางกะม่า ได้จัดพิธี “งานบุญข้าวใหม่”ขึ้นบริเวณลานกิจกรรมของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการจัดโดยชุมชนบ่งกะม่า และภาคึเครือข่ายที่ร่วมเป็นผู้สนับสนุนการสร้างพื้นที่ของวัฒนธรรมสร้างสุข สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ภาคตะวันตก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์พัฒนาพื้นที่สูงจังหวัดราชบุรี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
โดยงานบุญข้าวใหม่เป็นความเชื่อเกี่ยวกับพระเม่โพสพของชาวกะเหรี่ยง เริ่มมีการเพาะปลูก หรือเรียกภาษากะเหรี่ยงว่า “ชีบ่งบึ้ง” ซึ่งพิธีนี้ถูกทำขึ้นตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าทำมาตั้งแต่เมื่อไร แต่พิธีดังกล่าวมีพีธีกรรมได้แก่ การปลูกข้าวครูไว้จำนวน 9 กอง ก่อนที่จะปลูกข้าวครู ก็จะทำพิธีอันเชิญพระแม่โพสพมาจากสวรรค์ แล้วจึงปลูกข้าว นี่คือขวัญข้าวแม่ข้าวที่เป็นตัวแทนของข้าวในไร่เป็นครูของข้าวทั้งหมด ซึ่งแม่พระแม่โพสภจะมาอยู่ตรงนี้ จะมีการจุดเทียนแล้วนำเมล็ดข้าวแม่โพสพ แม่ธรณี แม่คงคา มาห่อรวมกัน เมื่อถึงเวลาพระแม่โพสพมาแล้ว ช่วงที่เราปลูกข้าวจนถึงฤดูการเก็บเกี่ยว นำข้าวขึ้นลานแล้วจะนำข้าวใหม่ก็จะมีการขอบคุณพระแม่โพสภด้วยการเลี้ยงพระแม่โพสภโดยอาหารที่นำมาเลี้ยงประกอบไปด้วย แกงหอย แกงเผือก แกงมัน จะต้องมีเถาวัลย์ที่เรียกว่า “ชั่งไก่ดุ๊”มาผูกไว้ แล้วจะมีการนำเครื่องมือในการทำเกษตรและเครืองครัวที่ให้ในการหุงหาอาหารมาร่วมอยู่มในพิธีกรรมขอบคุณพระแม่โพสพด้วย และเมื่อทำพิธีเลี้ยงพระแม่โพสพเสร็จสิ้น ก็จะทำการอันเชิญท่านกลับสวรรค์ ซึ่งจะทำการอันเชิญอีกครั้งเมื่อถึงฤดูการเพราะปลูกครั้งต่อไป
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อของชุมชนกะเหรี่ยง ที่ทำกันมาอย่างยาวนาน เมื่ออดีตกาลพิธีดังกล่าวถูกทำในเฉพาะครัวเรือน แต่เมื่อยุดสมัยเปลี่ยนไป มีการปลูกข้าวน้อยลง มีปัญหาเรื่องที่ทำกินที่ทางราชกาลป่าไม้ไม่ให้มีการทำไร่หมุนเวียน ถูกจำกัดสิทธิ์ ทำให้การปลูกข้าวน้อยลง ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ คือการรวมทำพร้อมกันทั้งชุมชนเพื่อทำพิธีเดียวกัน เมื่อทำพร้อมกันทำให้เกิดพลังขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เป็นจุดสนใจในส่วนของนักท่องเที่ยว มีคนเข้ามาร่วมมากขึ้น มีเครือข่ายมากขึ้น ตรงนี้ส่งผลดีเรื่องการสืบสานต่อคนรุ่นหลัง
สาเหตุที่ต้องทำพิธีการการได้ขอบคุณธรรมขาติ ถ้าเรามีความเชื่อและมีความศรัทธากับธรรมชาติจึงทำให้เกิดความผูกพันธ์กับธรรมชาติมากขึ้น เรามีความเชื่อในเรื่องพิธีกินข้าวใหม่ เราจะต้องแบ่งข้าวไว้7 กอง กองที่ 1 ให้สัตว์ต่างๆได้กิน กองที่ 2 ให้พระหรือนักบวช กองที่ 3 ให้พ่อแม่ปู่ย่าตายาย กองที่ 4 ให้หญิงหม้าย เด็กกำพร้า กองที่ 5 ให้ญาติพี่น้องที่มาช่วยเก็บเกี่ยว กองที่ 6 เก็บไว้กินเอง กองที่ 7 เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธ์ นอกจากนั้นวิถีของชาวกะเหรี่ยง เมื่อมีเมล็ดพันธ์ข้าวเราจะนำมาแลกเปลี่ยนกันในชุมชนและสุดท้ายคนเราไม่สามารถดยู่คนเดียวได้ เราก็จะเอื้อกัน ใครแข็งแรงก็ช่วยคนที่อ่อนแอ คนไหนที่มีมากก็แบ่งปันคนอื่นถ้าสังคมรู้จักการแบ่งปัน สังคมก็จะสงบสุข ส่วนเรื่องของการท่องเที่ยวก็ก็อยากให้มาเรียนรู้ร่วมกันว่าประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่อาจจะมีความแตกต่างกัน แล้วถ้าตรงไหนมันดีมีคุณค่าเราก็ช่วยกันส่งเสริม สิ่งสำคัญคือถ้าประเพณีเรายังอยู่ ถ้าเราไม่อายในเรื่องของชาติพันธุ์และเห็นคุณค่าจะเป็นความเข้มแข็งในชุมชน ในส่วนของการท่องเที่ยวบางกะม่า เส้นทางการเดินทางมีความลำบากการที่จะขึ้นมาได้นั้นต้องใช้ความอดทน ไม่มีไฟฟ้าให้ใช้ นักท่องเที่ยวที่มานั้นจะเป็นกลุ่มคนที่รักและอนุรักษ์ธรรมชาติ และในทุกๆปีจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมกขึ้นเรื่อยๆ ทั้งคนเก่าและคนใหม่ ดังนั้นเราจึงต้องมีการส่งเสริมอาชีพของชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีรายได้ ถ้าเขามีรายได้เค้าก็จะรักษาประเพณีที่ดีงามนี้ไว้ และลูกหลานรุ่นใหม่ก็จะสานต่อประเพณีวัฒนธรรมรุ่นต่อรุ่นไป บางกะม่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ทีมีลักษณะเป็นธรรมชาติเชิงนิเวศจะมีความสุขการ สุขใจ มีอากาศที่ดีการต้อนรับที่ดีของชาวบ้านก็จะทำให้นักท้องเที่ยวได้มีความสุขด้วยเช่นกัน
ต้องบอกว่าประเพณีวัฒนธรรม “กินข้าวใหม่”ของชุมชนชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง มีความน่าสนใจและโดดเด่นด้านคุณค่าเชิงวัฒนธรรมอย่างมากเลยทีเดียว สิ่งที่น่าสนใจคือ การจัดงานดั้งเดิมแบบวิถีใหม่ ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญ สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจในรากเหง้าของความเป็นชุมชนกะเหรี่ยงวิถีความเป็นอยู่ วิถีชีวิต สามารถมาที่หมู่บ้านบางกะม่า ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ได้เลยครับ ผู้นำชุมชนพร้อมด้วยชาวบ้านพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มใจอย่างแน่นอน