คนชุมพรลุกขึ้นจับมือล้อมกรอบปกป้องเด็ก-เยาวชนจากปัจจัยเสี่ยง ในงานสมัชชาสุขภาพจังหวัด

วันที่ 26 ตุลาคม พศ. 2556 ในงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพรได้มี การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสร้างภูมิคุ้มกันและการปกป้องเด็ก-เยาวชน ให้ปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยง ในชุมชนและสถานศึกษา จ.ชุมพร ณ. โรงแรมมรกตทวินชุมพร มีผู้เข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 200 คน

โดยในงานมีการประกาศนโยบายสุขภาพคนชุมพรใน 2 ประเด็นหลักคือ เกษตรปลอดสารอาหารปลอดภัย และ ปัจจัยเสี่ยง ภายใต้ชื่องาน “สมัชชาพลเมืองจังหวัดชุมพร ปี 2565 (สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร) “ชุมพรเมืองน่าอยู่บนฐานทรัพยากร”  ทั้งนี้ในช่วงบ่ายมีการจับมือกันของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านเด็ก-เยาวชนและ ปัจจัยเสี่ยงได้ เซ็นข้อตกลงในการสร้างภูมิคุ้มกันและปกป้องเด็กจากปัจจัยเสี่ยง

       นางเดือนเพ็ญ เคี่ยนบุ้น รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพรกล่าวว่า

จากข้อมูลรายงานสถานการณ์การบิโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รายจังหวัด พศ. 2554 จากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา หรือ ศวส. ระบุว่า จ.ชุมพรมีดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์จังหวัด 0.532 หรือ อัตราการดื่มลำดับที่ 26 ของประเทศและ เป็นอันดับ 1 ในภาคใต้ รวมถึงความชุกของนักดื่มในประชากรวัยรุ่น อายุ 15-19 ปี ร้อยละ 15.0 หรืออันดับที่ 28 ของประเทศ ทำให้เครือข่ายงดเหล้าจ.ชุมพร ไม่นิ่งนอนใจและยกระดับการทำงานเชิงรุก ทั้งด้านการ สร้างภูมิคุมกันในเด็กเยาวชน / ชุมชน ร่วมถึงการจัดสภาพแวดล้อม ทั้งมิติการรณรงค์ การดำเนินนโยบาย รวมถึงการเชื่อมประสานกลไกกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จนในปี พศ. 2564 รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด จากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา หรือ ศวส. ระบุว่าจังหวัดชุมพรมีดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์ 0.397 หรือลำดับที่ 59 ของประเทศ อีกทั้งความชุกของนักดื่มอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 6.2 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจะเห็นว่าช่วงเวลา 10 ปีจากการทำงานด้านการขับเคลื่อนงานงดเหล้าของจ.ชุมพร ลดสถิตการดื่มได้อย่างเป็นรูปธรรมแต่ในปัจจุบันสถานการณ์ยาเสพติดรุนแรงและมีผลต่อประชาชนเป็นอย่างมาก โดยภาครัฐให้ความสำคัญ และมี 3 นโยบายหลักคือ 1.ด้านการป้อมปราบและการเข้มงวดด้านกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 2.ด้านการคัดกรองสำรวจ ทั้งบุคลากรภาครัฐและกลุ่มเป้าหมายเพื่อคัดแยกและส่งต่อ โดยเฉพาะกลุ่มมีภาวะเสี่ยงและ กลุ่มจิตเวช และ 3.ด้านการบำบัดรักษาและส่งต่อชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้มีตัวเลขเด็กเยาวชนที่โดยคดียาเสพติดซึ่งเป็นเด็กช่วงอายุ 12-15ปี เฉพาะปี พศ. 2565 จำนวน 64 คดี ซึ่งการใช้มาตการภาครัฐอยางเดียวคงไม่พอกับภาวะปัจจัยเสี่ยงต่อเด็กเยาวชนในปัจจุบันการจับมือของทุกภาคส่วนจึงมีความสำคัญยิ่ง

นางแสงนภา หลีรัตนะ ประธานเครือข่ายสมัชชาสุขภาพและประชาคมงดเหล้าจังหวัดชุมพรกล่าวเพิ่มเติมว่า

ภาคประชาสังคมได้ขับเคลื่อนงานด้านปัจจัยเสี่ยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พศ. 2553 ซึ่งในตอนนั้นเหล้า-บุหรี่เป็นเรื่องปกติแม้ยาเสพติดอื่นจะเป็นของต้องห้าม แต่การขับเคลื่อนงานมาอย่างต่อเนื่องสร้างพื้นที่ต้นแบบมี 33 ชุมชนต้นแบบและประกาศเป็นศูนย์เรียนรู้งดเหล้าลดปัจจัยเสี่ยง 17 ตำบล / มี 2 อำเภอเข้มข้นที่ขับเคลื่อนด้านนโยบายและอำนวยงานด้านปัจจัยเสี่ยงที่เป็นคู่ขนานกับภาคประชาสังคม / มี 24 โรงเรียนขยายโอกาสที่เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันและการจัดสภาพแวดล้อมให้เด็ก-เยาวชนเท่าทันและปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยง / มี 59 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และเสริมภูมิคุ้มกันปัจจัยสี่ยงอย่างบูรณาการ / มี 42 งานบุญประเพณีปลอดภัย-ปลอดเหล้า ที่ประกาศเป็นนโยบายสาธารณะและจัดงานปลอดเหล้า / มี 157 คนต้นแบบที่ประกาศเลิกเหล้าไม่ต่ำกว่า 3 ปีหรือเรียกว่า “คนหัวใจเพชร” ซึ่งรูปธรรมเหล่านี้ชี้ให้เห็นฐานการขับเคลื่อนงานที่เป็นต้นแบบและพร้อมที่จะยกระดับขยายผลระดับจังหวัด แต่ในปัจจุบันยาเสพติดบางชนิดกลับถูกกฎหมาย ซึ่งเด็ก-เยาวชน ย่อมเข้าถึงได้ง่าย เช่น กัญชา / น้ำกระท่อมผสมยาแก้ไอ และรวมถึงเหล้า-บุหรี่

ทางเครือข่ายคนชุมพรจึงจับมือบันทึกข้อตกลงครั้งนี้โดยมี 6ข้อตกลงร่วมดังนี้    

  1. ร่วมมือสร้างภูมิคุ้มกัน และจัดสภาพแวดล้อมให้เด็ก-เยาวชน มีความเท่าทันและปลอดภัยจากการคุกคามของ ปัจจัยเสี่ยงใหม่หรือยาเสพติดที่ถูกกฎหมาย เช่น เหล้า-บุหรี่-น้ำกระท่อม และ กัญชา รวมถึง ยาเสพติดที่ผิดกฎหมายทุกชนิด
  2. ร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย / พื้นที่สร้างสรรค์และพื้นที่เรียนรู้ เพื่อปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย สู่ความเป็นต้นแบบ ทั้งโรงเรียน / ชุมชน / หน่วยงาน เพื่อขยายผลสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายในอนาคต
  3. พื้นที่สำหรับเด็กและผู้ป่วยในชุมชนควรได้รับการปกป้องและมีมาตรการดูแลให้ปลอดภัย 100 % ใน 3 สถานที่ทุกชุมชน คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก / โรงเรียนระดับประถม และ สถานพยาบาล
  4. ควรมีการสร้างความเข้าใจและมีมาตรการสร้างการเข้าถึงปัจจัยเสี่ยงต่อเด็ก-เยาวชน ให้ยากขึ้น เช่น ร้านค้าในชุมชนไม่ขายเหล้า – บุหรี่ให้เด็ก-เยาวชนตามช่วงอายุที่กฎหมายกำหนด
  5. ร่วมมือกันพัฒนาและยกระดับ คุณภาพชีวิต / แนวปฎิบัติสู่ทางเลือกใหม่ๆในการปกป้องคุ้มครองภัยจากปัจจัยเสี่ยง รวมถึงสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อการรับมือกับยุคออนไลน์ได้อย่างเท่าทัน
  6. ยกระดับงานวิชาการ SOCIAL LAB (PROCESS/LESSON/MODEL) เพื่อใช้พื้นที่ทดลองปฎิบัติและสรุปการเรียนรู้ สู่การขยายผลเชิงงานวิชาการในระดับสถาบันอุดมศึกษาระดับภูมิภาค

โดยมีบุคลหน่วยงานองค์กรร่วมบันทึกข้อตกลง 10 องค์กรดังนี้

1.รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร

2.นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพร

3.ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร

4.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1

5.รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2

6.ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชุมพร

7.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร

8.รองคณะบดีฝ่ายงานวิจัยและการประกันสุขภาพการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ละสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

9.รองประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 11

10.ประธานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดชุมพร

ทั้งนี้การจับมือของหน่วยงานที่เห็นความสำคัญและร่วมกันปกป้องเด็ก-เยาวชนจากปัจจัยเสี่ยงจะเป็นมิติสำคัญของ ภาคความร่วมมือในการสร้างเมืองชุมพรแห่งความปลอดภัยและน่าอยู่ต่อไปนางแสงนภากล่าวทิ้งท้าย

กองบรรณาธิการ SDNThailand