MOU.“สร้างห้องเรียนชุมชนในพื้นที่ต้นแบบให้นักศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้แนวใหม่”

เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนบนจับมือ มรภ.สุราษฎร์ธานี พัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการ ทำพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สร้างห้องเรียนชุมชนในพื้นที่ต้นแบบให้นักศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้แนวใหม่ตามแนวทางสร้างวิศวกรสังคม

         เครือข่ายงดเหล้า โดยการสนับสนุนจาก สนง.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส) ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ของการดำเนินงานด้านการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ประกาศวาระสำคัญ สร้างการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพชีวิต สู่การลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ นับหนึ่งสร้างการเรียนรู้ร่วมกับสถาบันวิชาการ มุ่งสร้างความรู้จากการปฏิบัติการจริง

วันที่ 18 มกราคม 2565 ณ.ห้องประชุมลีลาวดี คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่าง ผู้จัดการเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน และ คณะบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือภาควิชาการโดยใช้ พื้นที่ชุมชนศูนย์เรียนรู้งดเหล้างดปัจจัยเสี่ยง (ชุมชนสู้เหล้า) ซึ่งเป็นพื้นที่ทำงานของเครือข่ายงดเหล้า และ ภายใต้สถานการณ์ไวรัสโควิด -19 เพื่อพัฒนาความสามารถชุมชนในการดำเนินงานด้านการลดปัจจัยเสี่ยงที่มากกว่าการทำงานเรื่องเหล้า ในขณะที่ทางมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวด้านการเรียนการสอน เนื่องจากการรับมือและขับเคลื่อนงานในชุมชน ในภาวะวิกฤตนั้นทำอย่างไร ทางนักศึกษาต้องไปเรียนรู้ ในขณะที่ทางนักศึกษาเองก็มีอัตราการต้องออกจากการเรียนด้วยปัญหาเศรษฐกิจ ยิ่งมีเยอะการจับมือกันเพื่อการสร้างการเรียนรู้แนวใหม่และการช่วยเหลือครอบครัวและเด็ก-เยาวชนในชุมชนเป้าหมายจึงเป็นอีกแนวทางใหม่การภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี โดยในการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้มีการกำหนดภารกิจร่วมกันดังนี้

  1. พัฒนาและติดตามประเมินผลโครงการเชิงเสริมพลังกับประชาคมงดเหล้า 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ภายใต้แนวทางการพัฒนาโครงการประชาคมจังหวัดปี 2564 / 2566 ในเดือนพฤษภาคม 2564 – เมษายน 2566
  2. พัฒนาทักษะ / เสริมศักยภาพ เพื่อพัฒนาและเติมเต็มให้ประชาคมงดเหล้าจังหวัดและแกนนำชุมชน ภายใต้การการตกลงและประสานงาน ซึ่งเห็นร่วมกันว่า ควรพัฒนาทักษะอะไรบ้าง
  3. การติดตามและเขียนหนังสือ สรุปบทเรียนการเรียนรู้เรื่องเล่าจากพื้นที่ กับ แกนนำประชาคมจังหวัดที่มีบทบาทเด่น ๆ รวมถึง กรณีศึกษาคนเลิกเหล้าหรือคนชวนคนอื่นเลิกเหล้าที่ น่าสนใจ โดยจัดทำเป็นหนังสือ 1 เล่ม
  4. เพื่อเป็นการพัฒนาเชิงงานวิชาการชุมชนสู่ความเข้มแข็งพึ่งตนเอง และยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

โดยหลังจากพิธีลงนามบันทึกตกลงความร่วมมือทาง ผู้ช่วยศาตราจารย์ธาตรี คำแหงคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวว่า ทางคณะได้มีนโยบายที่สำคัญคือการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากกลาย โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชน โดยเน้นวิธีการทำงานแบบสร้างความสัมพันธ์กับทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาสังคม และชุมชน และจากการติดตามสรุปบทเรียนและการหนุนเสริมทางวิชาการกับเครือข่ายงดเหล้าและชุมชนต้นแบบ มาระยะหนึ่งและเห็นว่า การให้นักศึกษาได้ไปเรียนรู้ภายใต้การ การให้ความรู้เชิงทฤษฎีโดยทีมอาจารย์จะเป็น เรื่องใหม่และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ ได้มอบหมายให้สาขาวิชาพัฒนาชุมชน ทำหน้าที่สนับสนุนด้านวิชาการ และให้อาจารย์และนักศึกษาลงชุมชนค้นหาและ เรียนรู้การปฏิบัติการจริงของคนในชุมชนและบริบทแวดล้อมหรือที่เรียกภูมินิเวศน์การเรียนรู้ เพื่อยกระดับการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางของสถาบันคือการสร้างวิศวกรทางสังคม

ด้านนายธีระ วัชระปราณี ผู้จัดการเครือข่ายองค์กรงดเหล้ากล่าวว่า 

ทางสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ได้ดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพมาตั้งแต่ปี 2546 โดยมุ่งเน้นลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งดำเนินงานทั้งด้านเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคน มาตรการจัดสภาพแวดล้อมปลอดเหล้า รวมถึงด้านนโนบายที่มุ่งให้เกิดการเข้าถึงได้ยากมากขึ้น ในส่วนของพื้นที่ชุมชน ได้ส่งเสริมให้เกิดชุมชนสู้เหล้าทั่วประเทศกว่า 179 ชุมชนและในภาคใต้ตอนบนมี 16 ชุมชนที่ทำงานระดับตำบล จาก 7 จังหวัด ซึ่งการทำงานใช้เรื่องเหล้า-เบียร์และบุหรี่ เป็นเครื่องมือในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน และมีความสามารถในการรับมือโรคระบาดใหม่อย่างโควิด-19 ส่วนการสร้างความร่วมมือกับสถาบันทางวิชาการก็หวังว่า จะเกิดการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน และที่สำคัญคือทางมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ก็จะได้ใช้โอกาสนี้ในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ลงไปเรียนรู้จากพื้นที่จริง อีกทั้งจะเป็นต้นแบบในการทำงานเชิงเครือข่ายให้เครือข่ายในภูมิภาคอื่นได้เรียนรู้ต่อไป

นายวรวุฒิ ประสานพจน์ตัวแทนประชาคมเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน กล่าวเสริมว่า

เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนบนประกอบด้วย 7 จังหวัดและทำงานขับเคลื่อนเน้นกลุ่มเป้าหมายเด็กเยาวชนและ พื้นที่ชุมชน ในการขับเคลื่อนงานงดเหล้าลดปัจจัยเสี่ยง โดยบันทึกข้อตกลงดังกล่าว เป็นการทำงานร่วมกันของ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีและ เครือข่ายงดเหล้ามาระยะหนึ่ง และการจัดเวทีบันทึกข้อตกลงร่วมกันครั้งนี้จะเป็นการ พัฒนาและหนุนเสริม การทำงานของประชาคมงดเหล้าจังหวัดและ ชุมชนสู้เหล้าได้อย่างดีทั้งมิติการ ชวนคนงดเหล้าและการพัฒนายกระดับชุมชนภายใต้สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ให้รับมือและจัดการตนเองได้อย่างเข้มแข็งและเป็นต้นแบบเพื่อใช้ขยายผลสู่พื้นที่ชุมชนอื่นต่อไป

กองบรรณาธิการ SDNThailand