ดื่มเหล้าทำให้เครียดมากขึ้น

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้หลายท่านเครียดและบรรเทาความเครียดด้วยการดื่มเหล้า ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำให้คลายเครียดได้ แต่ในระยะยาวแล้วเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ช่วยให้คลายเครียด แต่ยังทำให้ผู้ดื่มมีสุขภาพและจิตใจแย่ลงไปด้วย ดังนี้

1. การดื่มเพื่อคลายเครียดแม้จะอ้างว่าดื่มเพียงเล็กน้อย แต่จะพัฒนาไปสู่การดื่มจนเป็นนิสัยและทำให้ติดเหล้าได้

2. อาจทำให้ป่วยด้วยโรค NCDs ซึ่งมีสาเหตุมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่น โรคตับแข็ง เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เป็นต้น

3. ในระยะยาว ผู้ดื่มน้ำเมาจะมีโอกาสป่วยด้วยโรคระบบทางเดินทางใจเช่น ปอดติดเชื้อ

4. น้ำเมาทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง โดยการดื่มเหล้าวันละ 40 กรัมจะเพิ่มโอกาสของการป่วยจากเชื้อโรคต่าง (ประกอบกับภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิดจะทำให้โอกาสเข้าถึงบริการทางการแพทย์ลดลง เพราะบุคลากรทางการแพทย์ต้องทุ่มเทให้กับการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยโรคโควิด)

 5. น้ำเมาทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวเยอะผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ

 6. การดื่มน้ำเมาจะทำให้อาการป่วยต่างๆ รุนแรงมากขึ้น

 7. เมื่อมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 0.04% จะไปขัดขวางการทำงานของสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ การไอ การจามซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

 8. น้ำเมาขัดขว้างการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งส่งผลกระบวนการคิดและความจำ ทำให้การคิดและการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ช้าลง และทำให้ยับยั้งชั่งใจได้น้อยลง

 9. น้ำเมาทำให้เกิดอาการง่วงนอน และทำให้หลับไม่สนิท

 10. ส่งผลต่อการรับรู้หรือเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ผิดไปจากความเป็นจริง ทำให้ผู้ดื่มหวาดกลัว ใช้ความรุนแรง และอาจนำไปสู่อุบัติเหตุต่างๆ   

 11. นำไปสู่ปัญหาสุขภาพทางจิต และอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย

 12. ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงาน ความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัวลดลง

 13. มีแนวโน้มจะประสบปัญหาด้านสุขภาพ ครอบครัว และปัญหาการเงิน

 ดังนั้นหากคิดว่า เครื่องดื่มน้ำเมาทำให้คลายเครียดได้ อาจไม่ใช้ความคิดที่ถูกต้อง เมื่อตกอยู่ในภาวะเครียด ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเมาเพราะจะส่งผลกระทบด้านลบต่อร่างกายทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ควรแก้ไขความเครียดด้วยสติและการพูดคุยกับกัลยาณมิตร

อ้างอิง

Calina D, Hartung T, Mardare I, Mitroi M, Poulas K, Tsatsakis A, Rogoveanu I, Docea AO. (2021). COVID-19 pandemic and alcohol consumption: Impacts and interconnections. Toxicol Rep, (8):529-535. doi: 10.1016/j.toxrep.2021.03.005.

Organization for Economic Co-operation and Development. (2021). The effect of COVID-19 on alcohol consumption, and policy responses to prevent harmful alcohol consumption. https://www.oecd.org/coronavirus/policy-responses/the-effect-of-covid-19-on-alcohol-consumption-and-policy-responses-to-prevent-harmful-alcohol-consumption-53890024/?fbclid=IwAR1W4wThN1SdTXRv23JNwL9iEETjLqILeJCY8boLvRGOCr90bWHTSR68RTk.

Ramalho R. (2020). Alcohol consumption and alcohol-related problems during the COVID-19 pandemic: a narrative review. Australasian Psychiatry. 28(5):52doi:10.1177/1039856220943024