“คนเลี้ยงช้าง ช้างเลี้ยงคน” การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

คนกับช้าง

ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทยมาแต่โบราณ คนกับช้างอยู่ร่วมกันทำงานด้วยกัน บางครั้งเราก็เอาเปรียบช้าง แต่หลายครั้งเราก็ดูแลช้างและจังหวัดสุรินทร์ก็เป็นจังหวัดที่มีทั้งวัฒนธรรมของชาวกุยที่เกี่ยวกับช้างที่สืบทอดมายาวนาน เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการคล้องช้าง ดูแลช้างเพื่อนำช้างไปใช้ในราชการงานเมืองต่างๆตั้งแต่โบราณแต่ปัจจุบันนี้สภาพสังคมเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนไปแล้วเทคโนโลยีต่างๆได้เข้ามาแทนที่ จากเดิมที่ช้างต้องทำงานลากไม้ งานขนส่ง หรือแม้กระทั่งงานสงคราม ก็ได้ถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาตามลำดับ

ช้างไทยในปัจจุบันจึงเปลี่ยนบทบาทไปสู่การทำงานด้านอื่นๆมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวทั้งเชิงวัฒนธรรมและเชิงสันทนาการช้างแต่ละเชือกในปัจจุบันก็ไม่ใช่ช้างป่าอีกต่อไปแล้ว เพราะว่าช้างอยู่กับคน อยู่กับควาญ ครอบครัวนั้นๆมาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่าของช้างเชือกนั้นอยู่แล้ว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปล่อยให้ช้างเข้าป่าเป็นช้างป่าตามแบบเดิมที่เขาเคยเป็นมาเมื่อต้นตระกูลของช้างเชือกนั้นเคยเป็น

แม้ว่าในปัจจุบันกระแสจากโลกภายนอกประเทศต่างๆ หรือคนรุ่นใหม่มีคำถามที่ว่า ทำไมคนเลี้ยงช้างถึงจำเป็นจะต้องล่ามโซ่ช้างเหล่านั้นไว้ไม่ปล่อยให้ช้างเหล่านั้นเดินไปเดินมาได้สบายๆซึ่งควาญแต่ละเชือกก็จะพูดในประเด็นที่ว่าเพราะความปลอดภัยของทั้งช้าง ควาญและนักท่องเที่ยว ซึ่งหลายครั้งก็ยังไม่มีน้ำหนักพอสำหรับคำถามดังกล่าว

วัฒนธรรมสร้างสุขท่องเที่ยวปลอดภัย

โครงการวัฒนธรรมสร้างสุขท่องเที่ยวปลอดภัยจึงมีความเห็นว่าในประเด็นนี้สอดคล้องกับภารกิจของโครงการเป็นอย่างยิ่งทั้งเรื่องความปลอดภัย เรื่องการรักษาวัฒนธรรม และ สัมมาชีพของทั้งคนและช้าง จึงได้เดินทางมาศึกษาดูงานที่หมู่บ้านช้างบ้านหนองบัว จังหวัดสุรินทร์มาอย่างต่อเนื่องกว่า 1 ปีและ เมื่อวันที่ 24-26 มกราคม 2566 จึงถือเป็นโอกาสอันดีในการจัดกิจกรรมทดลองเที่ยวและประชุมเชิงปฏิบัติการไปพร้อมกัน เพื่อหาแนวคิด หากิจกรรมวางแผนร่วมกันเพื่อตอบโจทย์ปัญหาความปลอดภัยของช้างและนักท่องเที่ยวที่ทำงานทางด้านท่องเที่ยวซึ่งรวมถึงการตอบปัญหาเรื่องทำไมต้องล่ามช้าง

ทางโครงการจึงเชิญนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและผู้ประสานงานจังหวัดและผู้ประสานงานภาคของเครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานล่าง นำโดย คุณสุวัลยา โต๊ะสิงห์ และ คุณวิญญู ศรีศุภโชค และ คุณยุทธพงศ์ ศีลาภิรัติ ทีมงาน Voluntist เข้ามาร่วมดูกิจกรรมและประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางการทำงานเพื่อขับเคลื่อนหรือแก้ไขประเด็นนี้ ร่วมกับทีมงานหนองบัวโฮมสเตย์ที่นำโดยคุณวรรณา ศาลางาม

อาสาพัฒนาชุมชน

โดยได้จัดกิจกรรมทดลองเที่ยวหมู่บ้านช้างเป็นเวลา 2 วัน 2 คืนโดยพ่วงกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชนผ่านการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนบ้านบัว เข้าไปด้วย โดยกิจกรรมนี้เราออกแบบว่า เราอยากให้ชุมชนบ้านหนองบัวเห็นถึงความรู้สึกของนักท่องเที่ยวจากทางฝั่งตะวันตกหรือคนรุ่นใหม่ที่มีมุมมองที่เป็นลบกับการล่ามโซ่ช้าง ทั้งก่อนและหลังการได้อยู่กับช้างร่วมกันกับเรา

ซึ่งผลลัพธ์ออกมา ก็ตรงกับสมมติฐานที่ว่านักท่องเที่ยวฝั่งชาติตะวันตกที่มีภาพลบกับการล่ามโซ่ ก็ยังคงติดใจเรื่องประเด็นนี้บ้าง แต่สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปที่ยังไม่ถึงกับตั้งแง่กับประเด็นนี้มากนัก ต่างประทับใจกับการได้อยู่กับช้างกันอย่างมาก โดยมีคำแนะนำจากคุณ Jacob Dey ที่ว่าอยากให้ลดการใช้ขอ หรือ จากคุณ Eva Stein และ คุณ Lea Segatto ที่รู้สึกยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องตัดงาเพื่อทำเครื่องประดับ ทั้งที่อธิบายแล้วว่า เพื่อความสบาย และ ป้องกันปัญหางาหักของช้าง เป็นต้น

นอกจากนั้นสิ่งที่ได้มาจากการประชุมร่วมกันกับชาวต่างชาติทั้งกลุ่ม คือ หากทำให้ช้างเหล่านั้นรวมทั้งควาญที่ดูแลช้าง ครอบครัวของควาญที่ดูแลช้าง มีความอิ่มมีความสบายในเรื่องของอาชีพหรือรายได้และอาหารแล้วช้างก็จะไม่จำเป็นต้องทำงาน ซึ่งหมายความว่าจะเป็นกาลดการนำช้างให้ไปเจอกับคนแปลกหน้าซึ่งก็คือนักท่องเที่ยวลงไปได้ ซึ่งจะเป็นสาเหตุไปสู่การทำให้เราสามารถปล่อยช้างให้อยู่ในพื้นที่ที่กว้างขวางกว่าเดิมแทนที่จะต้องล่ามโซ่เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวฃ

ทางโครงการจึงมีความคิดร่วมกันว่าจะริเริ่มทำกิจกรรมทดลองเที่ยวนำนักท่องเที่ยวมาทดลองใช้ชีวิตร่วมกับช้าง ณ หมู่บ้านช้างหนองบัวนี้ เพื่อสร้างการรับรู้ให้เห็นถึงวิถีวัฒนธรรมชาวกวยและช้างที่อยู่กันอย่างเป็นครอบครัวมานานกว่าหลายร้อยปีผ่านการมาสัมผัสจริงโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวนำและจะร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆที่ทำงานด้านรณรงค์ของเครือข่ายงดเหล้ามากกว่า 10 ปี เข้ามา โดยนำเอาจุดต่างและจุดแข็งมาประสานกันเพื่อนำไปสู่ เป้าหมายสูงสุดคือทำให้เกิดภาพที่เป็นสุข สุขภาวะ ของคนเลี้ยงช้าง ช้างเลี้ยงคนกันอย่างมีความสุข เช่น ควาญช้างไม่จนเครียด ไม่กินเหล้า หรือ ช้างไม่ทำงานหนัก

โตยในขั้นตอนต่อไปทางโครงการจะร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการบริหารกิจกรรมนี้ร่วมกับทางฝั่งสคล. ส่วนกลางและภูมิภาค ร่วมกับแกนนำชุมชนหนองบัวเพื่อจัดสรรกิจกรรมให้สอดคล้องกับปฏิทินการทำงานตลอดทั้งปีของเครือข่ายงดเหล้า เช่น การณรงค์เรื่องแข่งเรืองดเหล้าท่าตูม และ ดึงให้เครือข่ายนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนช้างบุญวิทยา เข้ามาเชื่อมงานด้านประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชนหนองบัว ที่ทางชุมชนยังต้องการความช่วยเหลือด้านนี้เช่นกัน

วัฒนธรรมชาวกูย

แม้จะเป็นเป้าหมายที่ดูยาก แต่หากเริ่ม ณ วันนี้ ภาพช้างไทย ที่ปลอดภัย มีสุขภาวะ และ วัฒนธรรมชาวกูย ก็จะได้รับการรักษาต่อยอดอย่างมีเกียรติ และ ยั่งยืน

กองบรรณาธิการ SDNThailand