เวทีถ่ายทอดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนขบวนงดเหล้า

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2565 นาย สอน ขำปลอด ผู้ประสานงานสำนักงานเครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือตอนล่าง เปิดเวทีถ่ายทอดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนขบวนงดเหล้า ภาคเหนือตอนล่าง ปั 2565 ระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมเมย์ฟลาวเวอร์ แกรนด์ พิษณุโลก โดยมีภาคีเครือข่ายองค์กรงดเหล้าระดับจังหวัด ในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างพร้อมใจกันขับเคลื่อนทุกยุทธศาสตร์ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยกัน

กิจกรรมสำคัญคือการร่างแผนงาน 5 ปีของแต่ละจังหวัด ซึ่งลงถึงกระบวนการระยะเวลาการดำเนินการตามแผน 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 12 ปี ตามระยะเวลารายปี หลายจังหวัดมีแผนพัฒนาแกนนำเยาวชน ที่จะสามารถสร้างเสริมศักยภาพให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนเกิดประสิทธิผล ซึ่งภาคี เครือข่ายจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญดับเยาวชนเป็นพิเศษ การสร้างภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นนายอำเภอนักรณรงค์ คนหัวใจเพชร เยาวชน ภาคส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนักรณรงค์ การรณรงค์บังคับใช้กฎหมาย โดย สภอ. /สสอ. /สพม. /สปฐ./ สรรพสามิต /อปท. /วัด / ชุมชน ฯลฯ แหล่งเรียนรู้ยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นระดับ ชุมชน /ศพด. / นายอำเภอ / ผู้ว่าราชการจังหวัด / อปท. / วัด / โรงเรียน และอื่นๆ บางจังหวัดจะเน้นแผนงานการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการร้านค้า ให้มี ความตระหนักและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ทั้งนั้น เพื่อส่งเสริมสร้างด้านสุขภาพ เพื่อให้เกิดการปลอดโรค ปลอดภัย สุขภาพดี สังคม-ชุมชนปลอดเหล้า-ปลอดบุหรี่ มีอายุยืน ไม่เสี่ยงชีวิตจากปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ / ด้านกฏหมาย ก็ให้สามารถปฏิบัติตามกฏหมาย รู้เท่าทันการโฆษณาผ่านสื่อ รวมไปถึงลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วขับจนบาดเจ็บ-ล้มตาย ด้านคุณธรรม-วัฒนธรรม-ประเพณี ส่งเสริมให้ กิจกรรมด้านนี้ ด้วย การส่งเสริมให้เป็นประเพณี-วัฒนธรรมที่ปลอด เหล้า-บุหรี่ ปลอดอบายมุข

โดยหลากหลายวิธี เช่น การสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับ วัฒนธรรมในพื้นที่ วัฒนธรรมครอบครัวปลอดภัย ปลอด เหล้า-บุหรี่ เป็นต้น ด้านความเป็นอยู่ ให้เกิดความอยู่ดีกินดี ด้วยการส่งเสริม “เศรษฐกิจพอเพียง” พึ่งพาตนเองได้ มีความเข้มแข็งทั้ง ระดับ ครอบครัว ชุมชน องค์กรฯ

การจัดกิจกรรม ครั้งนี้เข้มข้นกับรายละเอียดส่งแผนงานโดยมีการพิจารณาชี้แนะเพิ่มเติมให้เกิดความเหมาะสมกับแผนงานในแต่พื้นที่ เกิดกระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนุนเสริมพลังซึ่งกันและกัน รวมไปถึงการบูรณาการการทำกิจกรรม ซึ่งมี การประเมินผลและถอดบทเรียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละแผนงาน เป้าหมายในแต่ละจังหวัดต่างก็มีความมุ่งหวังให้เกิดความเติบโตทางด้านภาคีเครือข่ายให้มากขึ้นกว่าเดิมเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ เพื่อ สานต่อ สคล.ร้อยปีต่อไป

ปัณณทัต ปาน เงิน สื่อ สคล.นล. รายงาน

กองบรรณาธิการ SDNThailand