สคล.สร้างสุขเพชรบูรณ์ เปิดเวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนรุ่นที่ 2

เมื่อวันที่ 19 และ 20 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา นายสำเริง บุญแจ้ง ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดเพชรบูรณ์ (สคล.พช.)

ได้เปิดเวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนรุ่นที่ 2 ณ ไร่ศรีวรรณ ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ซึ่ง สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดเพชรบูรณ์ (สคล.พช.) เป็นแกนหลักในการดำเนินโครงการ “การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายแกนนำเยาวชน รุ่นที่ 2” ของจังหวัดเพชรบูรณ์ในปีนี้

โดยการพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน มุ่งเน้นการให้ความรู้ผ่านหลักสูตรรูปแบบต่างๆผ่านกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างให้แกนนำเยาวชนมีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมในการสานพลังสร้างความสัมพันธ์เพื่อก้าวสู่การเป็นนักรณรงค์งดเหล้ารุ่นใหม่ของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า อันเป็นภารกิจสำคัญอย่างหนึ่ง การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการให้เครือข่ายเยาวชนมีศักยภาพมากขึ้น ในการเรียนรู้เท่าทันกับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดปัญหานักดื่มหน้าใหม่ที่อายุน้อยลงไปทุกวัน นอกจากนี้ก็จะเป็นองค์ความรู้ที่น้องๆ จะได้ปฏิบัติตัวในสังคมของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ว่ามีสถานที่ใดบ้างที่ไม่สามารถจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ได้ ซึ่งนอกจากน้องๆจะได้ระมัดระวังพฤติกรรมที่ผิดต่อกฎหมายแล้วยังสามารถไปบอกเตือนผู้ที่มีจิตรกรรมละเมิดต่อกฎหมาย อย่างพระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551

การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนในแต่ละอำเภอ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันไปพร้อมกับความสนุกสนานในกิจกรรมแล้ว จะทำให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพนี้ ได้รู้จักกันและอัตรารายเป็นเครือข่ายเยาวชนเข้มแข็งในอนาคตต่อไปได้ จากแบบทดสอบในกิจกรรม เกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่มีลักษณะของการโฆษณาที่ผิดต่อกฎหมายพระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พุทธศักราช 2551 และเครื่องหมายการค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ยังอยู่ในการพิจารณาของอัยการ จะผิดหรือไม่ผิดต่อกฎหมายประการใด ผลปรากฏว่า การทดสอบก่อนการให้ความรู้เกี่ยวกับครึ่งดื่มหรือเครื่องหมายการค้าที่มักนำมาใช้โฆษณาอย่างผิดกฎหมาย โดยใช้ฐานองค์ความรู้แต่ละคนที่อ่านพบเห็นตราสัญลักษณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ สถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะที่ใช้ในร้านอาหารเครื่องดื่ม ที่นั่งน้องๆสามารถพบเห็นมาก่อนหน้านั้น สคล.พช. จึงได้มีการทดสอบถึงความเข้าใจว่าตราสัญลักษณ์ใดบ้างที่เข้าข่ายผิดกฎหมายหรือ ยังไม่เข้าข่ายผิดกฎหมายหรือ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของชั้นอัยการ เป็นสิ่งที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งที่ ที่เยาวชนมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อนเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่เป็นเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่สามารถนำมาใช้โฆษณาได้ตามกฎหมายมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่มีความเข้าใจว่าสัญลักษณ์ใดเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 50% แต่ไม่ถึง 60 เปอร์เซ็นต์

จากบททดสอบเล็กๆในกิจกรรม ก็จะกลายเป็นข้อมูลในการทดสอบความรู้ความสามารถ เพื่อจะได้พัฒนาให้เยาวชนเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงตราสัญลักษณ์ที่ใช้โฆษณาอย่างผิดกฎหมาย หรือที่ยังสามารถโฆษณาได้โดยสัญลักษณ์ที่โฆษณาได้นั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของชั้นอัยการ ซึ่งเยาวชนเมื่อได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับตราสัญลักษณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว จะสามารถแยกแยะได้ว่าตราสัญลักษณ์ใดที่ไม่สามารถติดตั้งโฆษณาตามร้านค้าร้านอาหารได้ และแกนนำเยาวชนรุ่นที่ 2 นี้จะได้ถูกพัฒนา อย่างต่อเนื่องในสเต็ปหรือขั้นตอนของการพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถ ให้น้องๆเยาวชนสามารถเฝ้าระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงศักยภาพในการสื่อสารหรือทำข้อมูลข่าวสารเป็นลำดับต่อไป

ปัณณทัต ปานเงิน ผปส.สื่อ.สคล.นล รายงาน

กองบรรณาธิการ SDNThailand