สคล.และ สสส.สนับสนุน แหล่งท่องเที่ยวปลอดภัยกู้ภัยเศรษฐกิจ Thailand Sandbox

ทุกภาคส่วนช่วย ย้ำ.. การท่องเที่ยวที่ดีต้องสร้างความปลอดภัยและควรคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการกินดื่มร่วมด้วย

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ทางสมาคมสมาพันธ์เครือข่ายสื่อมวลชนไทย (สสสท.) ร่วมกับ จังหวัดภูเก็ต, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศ, สสส., สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า โดยโครงการท่องเที่ยวชุมชนปลอดภัย, สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ, บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (PKCD),  สภาวิชาชีพสื่อมวลชนภูมิภาคแห่งชาติ ร่วมกันจัดเสวนาออนไลน์ หัวข้อ แหล่งท่องเที่ยวปลอดภัยกู้ภัยเศรษฐกิจ Thailand Sandbox” ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมบริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (PKCD)

การทำงานของสสส. เรื่องโครงการท่องเที่ยวชุมชนปลอดภัย การที่ทุกฝ่าย ช่วยกันทำให้แหล่งท่องเที่ยวปลอดภัย ทั้งจากวิกฤตโควิด และวิกฤตจากพฤติกรรม ด้านความปลอดภัย ก็สามารถนำเงินเข้าประเทศได้อย่างมากมาย  เมื่อ สสส. เข้ามาสนับสนุนท่องเที่ยวชุมชน แนวโน้มธุรกิจท่องเที่ยวน่าจะเปลี่ยนไปสู่การท่องเที่ยวที่ไม่ใช้แบบ MASS จึงเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวชุมชน ทั้งในเรื่องการกระจายรายได้ เป็นการท่องที่ยวในภาพรวม โจทย์ใหญ่สำหรับวันนี้ ถ้าชุมชนสามารถจัดการท่องเที่ยว สร้างความปลอดภัย พร้อมยกระดับสร้างสมรรถนะให้ทัดเทียมผู้ประกอบการ การบริการก็จะทำให้รายได้กลับมาช่วยเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง ซึ่งการสนับสนุนการทำ Sandbox ต้องเดินหน้าต่อ แต่อยากให้คำนึงถึงการสร้างความปลอดภัยให้รอบด้าน ไม่ใช่สนใจเฉพาะวิกฤตโควิด อยากให้คำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการกินดื่มด้วยเช่นกัน

เปิดประเด็นโดย นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวโดยสรุปว่า การท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทยและการเปิดประเทศควรต้องเปิดอย่างเต็มอัตรา จึงจะทำให้พอพยุงภาคธุรกิจท่องเที่ยวทั้งประเทศไทย และควรร่วมมือกันทุกภาคส่วน ทั้งเรื่อง Wellness SHA SHA plus ชุมชนเมือง ชุมชนชนบท ต่างเป็นส่วนสำคัญในการท่องเที่ยว โดยทั้ง สภาท่องเที่ยว และ รัฐบาล มุ่งช่วยเหลือและสร้างความร่วมมือ ทั้งนี้ คุณชำนาญเชื่อว่าการฉีดวัคซีนเป็นปัจจัยหลักที่จะให้การท่องเที่ยวชุมชนพร้อมต่อการสร้างความเชื่อมั่นในการท่องเที่ยว หากใครฉีดวัคซีนแล้ว ก็ขอให้ติดป้าย ประกาศให้ลูกค้าทราบเลย ว่า พวกเขาพร้อม

ด้านนายนิพนธ์ เอกวานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (PKCD) ได้กล่าวถึงการทำ Phuket Sandbox ว่า ถึงแม้นักท่องเที่ยวยังไม่มากนัก แต่ก็เป็นข้อดี ในการทำให้ภูเก็ตได้เตรียมความพร้อมจากการทดสอบครั้งนี้ โดยมีปัจจัยสำคัญคือ อัตราการฉัดวัคซีน ซึ่งภูเก็ตมีอัตราการฉีดทั้งสองเข็มอยู่ที่มากกว่า 70% แต่จากการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องผ่านขั้นตอนการทำงานหลายขั้นตอนมาก จึงเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจท่องเที่ยวมาก แต่ในปัจจุบันจากการประสานในหลายภาคส่วน ทำให้ขั้นตอนเหล่านี้ได้ถูกปรับลดลงเอื้อต่อการเปิดประเทศในอนาคต ทั้งนี้ในช่วง Sandhox เกิดรายได้ทางตรง 2400 ล้าน และ ทางอ้อม 5,000 ล้าน

จากการที่ สสส. เข้ามาสนับสนุนท่องเที่ยวชุมชน และ แนวโน้มธุรกิจท่องเที่ยวน่าจะเปลี่ยนไปสูการท่องเทียวที่ไม่ใช้แบบ MASS จึงเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวชุมชน ทั้งในเรื่องการกระจายรายได้ และ การท่องที่ยวในภาพรวม โดยยกตัวอย่าง เรื่องรถสาธารณะ รถโพถ้อง ที่กำลังจะสูญหา ถ้านำมาช่วยทำเป้นรถสาธารณะไปเชื่อมกับการท่องเที่ยวชุมชนได้ จะดีมาก โดยทางบริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง ได้เริ่มพูดคุยทำงานในเรื่องนี้ไปบ้างแล้ว

นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ความสำเร็จของโครงการภูเก็ต Sandbox จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าสามส่วนนี้ไม่พร้อม คือ ภูเก็ต ประเทศ และ โลก ต้องมีความพร้อม และ ทำงานสอดคล้องกัน  และ การควบคุมโรคภายในเกาะภูเก็ตนั้นดีขึ้น จากการที่มีการฉัดวัคซีนได้ครอบคลุม โดยมีอัตราการครองเตียงที่ดีขึ้น

จากการที่ 90% ของรายได้ของภูเก็ตนั้นมาจากการท่องเที่ยวกระแสหลักเป็นหลัก จึงทำให้ยังไม่ยั่งยืน ในส่วนของเศรษฐกิจฐานราก เช่น การเกษตรและการแปรรูป ที่ภูเก็ตต้องซื้อทุกอย่างจากต่างพื้นที่ จะเป็นการดีมากถ้าสามารถผลิตและแปรรูปในเกาะภูเก็ต แต่ต้องมีคุณภาพที่ลูกค้ารับได้

การท่องเที่ยวที่จะสำเร็จได้ ต้องใช้ความเกื้อหนุนกัน และ ใช้ศาสตร์พระราชา การพึ่งตนเอง เป็นเครื่องมือหลักในการทำงาน และ จำเป็นที่จะต้องใช้ระบบคิดของ สสส. ในการให้ชุมชน เก็บข้อมูล และ ทำแผนเอง โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ส่วนราชการเข้ามาช่วย แต่ถ้าจำเป็นต้องรอ ก็จำเป็นต้องบูรณาการกัน

ทางด้านนายพรหมมินทร์ กัณฑิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานลดอุบัติเหตุ กล่าวว่า สสส.ได้จัดตั้งโครงการ แหล่งท่องเที่ยวปลอดภัย ด้วยตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารด้านความปลอดภัย จากข่าวนักท่องเที่ยวเกิดปัญหาในเรื่องต่าง ๆ มากมาย สร้างความเสียหายกับพื้นที่และประเทศชาติ ดังเช่น การล่อลวง ทะเลาะวิวาท ข่มขืน ฆ่า อาชญากรรมทั้งที่ร้ายแรง และไม่ร้ายแรง จึงทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยอีกมายมาย สร้างความเสียหายหม่แพ้กับวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 การท่องเที่ยว มีองค์ประกอบหลัก 3 ข้อด้วยกัน 1.นักท่องเที่ยว รู้เข้าใจ 2.แหล่งท่องเที่ยวประกอบกับในพื้นที่ต้องร่วมกันทั้งภาค รัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ 3. ผู้ประกอบการ ตรวจสอบการบริการที่ปลอดภัยและ สิ่งที่ควรจัดการท่องเที่ยวให้เป็นระบบ ต้องมีองค์ประกอบการสร้างความปลอดภัย 5 ด้าน คือ

1.องค์ประกอบด้ายการเดินทาง ตารางการเดินทาง ควรเชื่อมประสานกับหน่วยบริการ เพื่อ support นักท่องเที่ยว

2.ที่พัก สะอาด อากาศ สิ่งแวดล้อมปลอดภัย มีอัตลักษณ์ สัญลักษณ์ที่แสดงตัวตน มีสิ่งแวดล้อมทางกสยภาพที่สมบูรณ์ มีระบบสกรีน

3.อาหารปลอดภัย ตกแต่งสวยงาม มีความเป็นเอกลักษณ์ไทย เป๋นธรรมชาติ

4.กิจกรรม การเรียนรู้ที่ปลอดภัย การล่องแก่ง ปีนผา ไม่ทำให้เกิดแญหา การบาดเจ็บ แม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดความเสียได้

5.วิถีวัฒนธรรม วัฒนธรรมไทยปลอดภัย ไม่ผิดเพี้ยน ไม่ถูกเบี่ยงเบน อันนี้สำคัญมาก การเกิดอุบัติเหตุแต่ละปีจะได้ไม่ต้องมานับตัวเลข การบาดเจ็บและตาย จากอุบัติเหตุ

นางสาวมาลัย มินศรี ผู้จัดการโครงการการท่องเที่ยวโดยชุมชนปลอดภัยของสำนักงานเครือข่ายงดเหล้า ภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)  การจัดการด้านการท่องเที่ยวปลอดภัย กู้เศรษฐกิจไทย ในฐานะคนทำงานด้านส่งเสริมสุขภาวะ ขณะนี้น่าจะแบ่งสองส่วน ส่วนแรกก็คือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อโรค อย่างเช่น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งรัฐบาลไทยและประเทศทั่วโลก กำลังร่วมกันแก้ปัญหาการแพร่ระบาดในขณะ แต่มีอีกส่วนคือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง การดื่ม สูบ เสพ ทำใก้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เมา ขาดสติ  อันนี้ก็สร้างความไม่ปลอดภัย สร้างความเสียหายต่อผู้มาเยือน นักท่องเที่ยวให้ถึงแก่ ชีวิต ได้ พฤติกรรมนี้ก่อให้เกิด อาชญากรรมตามมาอีกมากมาย  สนับสนุนการทำ Sandbox ต้องเดินหน้าต่อ แต่อยากให้คำนึงถึงการสร้างความปลอดภัยให้รอบด้าน ไม่ใช่สนใจเฉพาะวิกฤตโควิด อยากให้คำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการการ กิน ดื่ม ด้วยเช่นกัน

ในขณะที่ คุณนภ  พรชำนิ ศิลปินนักร้อง ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมชุมชนท่องเที่ยวปลอดภัยในโครงการนี้ เช่น ที่บ้านเคียน บางโรง และ ย่านเมืองเก่า ได้แสดงความคิดเห็นต่อโครงการครั้งนี้ว่า ทำให้เห็นว่าความเข้มแข็งของชุมชนภูเก็ตมีความน่าสนใจมาก และ น่าจะเป็นแรงผลักดันขับเคลื่อนให้ภูเก็ต เคลื่อนไปการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ยิ่งจากการทีได้สัมผัสกับชาวชุมชนทั้งจากตอนมาพักในช่วงแซนด์บอกซ์ในช่วงแรก และ ในวันนี้ และ มีความมั่นใจเลยว่า สสส. มาถูกทาง ที่นำคนรุ่นเก่าและคุณรุ่นใหม่เข้ามาทำงานร่วมกันในครั้งนี้ โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งชุมชน

และคุณโจนัส แอนเดอร์สัน ศิลปินนักร้องกล่าวว่า ผมทึ่ง แต่ก็ไม่แปลกใจที่วัฒนธรรมของชาวภูเก็ต จะน่าสนใจและแข็งแรง ขนาดนี้ เพราะจากวิกฤตโควิด ทำให้ทุกสิ่งมันปรากฏ จากการที่ได้ไป กมลา และ ป่าตอง นอกจากทะเลที่สวยตามปกติอยู่แล้ว แต่ท่องเที่ยวชุมชนของชาวบ้าน เช่น ได้สัมผัสคำว่า เขา ป่า นา เล ทำให้ได้พบประสบการณ์ที่น่าประทับใจมาก มากกว่า การท่องเที่ยวปกติ ทั้งเรื่องอาหาร และ ธรรมชาติ ทำให้ภาพเพลง ปักษ์ใต้บ้านเรา ออกมาชัดมาก และ จากการที่ผ่านการสู้กับโควิดมาแล้ว ประเทศไทยจะต้องเข้มแข็งขึ้น และ พร้อมจะขับเคลื่อน โดยคุณโจนัส พร้อมจะเป็นแรงสนับสนุนผ่านบทเพลงของคุณโจนัส ที่ทำเรื่องดนตรีเพื่อการท่องเที่ยวมาโดยตลอด

นักสื่อสาร องค์กรสุขภาวะ