แม่ฮ่องสอน “ป้อมปราการทางวัฒนธรรมที่มั่นคงและเข้มแข็ง”(มีคลิป)

แม่ฮ่องสอน “ป้อมปราการทางวัฒนธรรมที่มั่นคงและเข้มแข็ง”ย้อนไปเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว พบว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีสถิติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในอันดับที่ 10 ของประเทศ และอันดับที่ 6 ของภาคเหนือ เป็นพื้นที่สีแดง ที่มีความเสี่ยงสูสีสถาณการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 ที่พวกเราต้องเผชิญกันอยู่ในปัจจุบันนี้จากความเชื่อ กระแสค่านิยม งานบุญเลี้ยงเหล้าในงานบุญประเพณีของกลุ่มชาติพันธ์ หลากหลายเชื่อสาย ที่สืบต่อกันมา เรียกได้ว่าผีก็ดื่มเหล้า คนก็ดื่มเหล้า ประเพณีใหญ่ ที่สำคัญของชาวแม่ฮ่องสอน และดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว คือประเพณีปอยส่างลอง” หรือพิธีบวชลูกแก้วของชาวไทยใหญ่ (เหล้า = วิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรม) เกือบทุกขั้นตอนของการประกอบพิธีกรรม ประกอบไปด้วยเหล้า และเหล้าที่นิยมนำมาใช้คือ เหล้าต้มจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะหาง่าย ก็เลยแทบจะปิดเมืองดื่มกันเลยการเลี้ยงเหล้าในงานบุญทำให้เกิดปัญหาในพื้นที่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท จนฆ่ากันตายก็มี รวมถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในอีกหลายๆเรื่องจากการเก็บข้อมูลแต่ละปีจะมีเจ้าภาพ จัดงานประมาณ 50-100 เจ้าภาพ เก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายเพื่อการดื่มในงานเป็นจำนวนเงินสูงถึงหลักล้านต่อมา ปี 56 คุณรอน ใจกันทา ผู้ประสานงานเครือข่ายงดเหล้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน หารือกับอาจารย์ประเสริฐ ประดิษฐ์ ทีทำงานอยู่ที่ศูนย์ไทยใหญ่ และปูชณียบุคคลของแม่ฮ่องสอนอีกท่านหนึ่งคือ ดร.จรูญ คำนวนตา ผู้อุปถัมป์ศูนย์ไทยใหญ่ หาแนวทางการลดค่านิยมการดื่มในงานบุญประเพณีของกลุ่มชาติพันธ์ร่วมกันปัจจัย / เครื่องมือที่ส่งผลให้งานรณรงค์งดเหล้าเกิดประสิทธิภาพ และผล ด้วยการใช้กระบวนการที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย- การโน้มน้าวใจด้วยการยกตัวอย่างงานบวชตามวัฒนธรรมของชนเผ่าที่แท้จริง คือเรียบง่าย ได้บุญ และไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะคนไทยใหญ่มีค่านิยมอย่างหนึ่งว่า “ไม่ได้กินข้าวก็ขอให้ได้ทำบุญ”- ชวนเจ้าภาพให้มีมติไม่เลี้ยงเหล้าร่วมกัน เพื่อลดค่าใช้จ่าย- การดึงเยาวชนให้สนใจเรื่องดนตรี กีฬา (ใช้เวลาในการเล่นดนตรี กีฬา มาดึงความสนใจของเยาวชนไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง)- สื่อประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะทางวิทยุ- คนทำงาน- ภาคีเครือข่าย ทุกมิติ / พชอ.💖หัวใจแห่งความสำเร็จคือ “นายอำเภอไม่เอาเหล้า”💖ถึงจะเห็นความสำเร็จอยู่รำไรแล้ว “ปัญหาเรื่องของความไม่รู้เท่าทันยังต้องส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำงานจนกว่าชีวิตจะหาไม่”Cr. อ.ประเสริฐ ประดิษฐ์

กองบรรณาธิการ SDNThailand