ครูตุ๊กติ๊ก

“ครูพลังบวก” อีกทั้งเป็นครูนักรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ในสถานศึกษา เพราะเขาคนนี้ทำให้มีเด็กพลังบวกเกิดขึ้นอีกหลายคนเลย นักเรียนสอบได้ที่ 1 ยกห้อง ซึ่ง

“ความที่สุด” ของแต่ละคนก็แตกแขนงไปหลายด้าน เช่น หาปลาเก่ง นวดฝ่าเท้าเก่ง ทำนา เกษตร ซึ่งเด็กมีวิชาชีวิตที่แตกต่างกัน มาพูดคุยกับครู ครูชินกร พิมพิลา หรือ ครูตุ๊กติ๊ก ทำไมถึงเกิดไอเดียนี้? ทำแล้วเด็กได้อะไร? แล้วเรื่องวิชาการจะถูกละเลยไปมั้ย?ไม่ได้ทิ้งวิชาการอย่างที่บางคนเข้าใจ แน่นอนว่าพอเกิดเรื่องนี้ขึ้น ก็มีบางคนแอบสงสัยว่าวิธีนี้จะทำให้เด็กมองข้ามเรื่องวิชาการไปมั้ย? ครูตุ๊กติ๊กตอบว่า “นี่ไม่ใช่การให้คะแนนครับ การให้คะแนนคือมีรายวิชาพื้นฐาน 10 วิชา ซึ่งเค้ามีคะแนนออกมา เกรดก็ออก แต่เราแค่ไม่เอาเกรดเฉลี่ยมาจัดเรียงลำดับ เราให้ทุกคนเป็นลำดับ 1 ทั้งหมด เรามีใบแจ้งผลการเรียนที่มีข้อมูลครบทั้งผลการเรียนในรายวิชาพื้นฐาน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การสอบโอเน็ต และสิ่งที่เพิ่มมาคือ ‘การจัดลำดับ’ แต่ละคนเป็นด้านอะไรก็ระบุลงไป”

“ครูให้เด็กที่ 1 ยกห้อง คือยังไงอะครับ ”ตุกติ๊ก : อ่ออันนั้นไม่ใช่ครับ ไม่ใช่ให้เกรด4 ทั้งหมด คือการจัดการเรียนการสอนก็คือจะแยกเป็นวิชาอยู่แล้วครับ ครูแต่ละคนที่อยู่ใน ป.4-5-6ก็จะสอนแต่ละวิชา แล้วก็ประเมินผลมา ครูประจำชั้น ผมคือครูประชั้นป.6อย่างงี้ครับ ก็จะเอาคะแนนมารวมแล้วก็เกรดก็มีเหมือนเดิมครับ เกรด1 2 3 4 5 1 2 3 4 อะไรประมาณนี้ปกติครับไม่ได้ให้เกรด4ทั้งหมด แต่ว่าคะแนนเฉลี่ยที่ออกมา เราไม่ได้เอามาจัดลำดับเด็กทั้งหมด ทั้งหมดในห้องอะครับ 17 คน

ผมไม่ได้เอามาจัดลำดับ1-17อย่างงี้ครับ ตรงช่องที่จะให้จัดลำดับก็จะไม่ทำ หลังจากนั้นก็จะ ถ้านิติการณ์คือให้เด็กที่1หมดเลย ที่แตกต่างกันนี่แหระเพราะว่าทุกคนแตกต่างกันอยู่แล้ว ที่1ด้าน ด้านนวดฝ่าเท้าที่เก่งที่สุดอะไรอย่างงี้ครับ ที่1ด้านหาปลาที่เก่งที่สุดอย่างงี้ครับ
อย่างงี้ครับ
” พอดีมันก็ใกล้วันครูแล้ว แล้วก็เลยอยากสอบถามว่าครูมีวิธีปรับตัวการสอนเด็กยังไงในช่วงที่ติดโควิด มีการปรีบตัวอย่างไรบ้าง ”

ครูตุ๊กติ๊ก : อย่างถ้าส่วนตัววนะครับ ที่โรงเรียนมีนโยบายอยู่สองอย่าง ก็คือตอนนี้จะมีนักเรียนอยู่สองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งก็คือต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน และอีกกลุ่มหนึ่งก็คือมาเรียนตามปกติ ทีนี้ในเรื่องของการสอน เราจะใช้วิธีการสอนคือ สอนอยู่ที่โรงเรียนก็คือ on site แล้วก็ on hand คือมีใบงาน แล้วก็ใบความรู้ ให้สำหรับเด็กที่อยู่ที่บ้าน แล้วก็จะมีคุณครูไปลงพื้นที่

เด็กที่อยู่ที่บ้านก็คือเข้าไปในพื้นที่ของเด็กที่กักตัว แต่ระยะเวลาก็ประมาณ2-3 วัน ลงไปพื้นที่ไปทบทวนบทเรียนให้กับเด็กที่อยู่ที่บ้าน

” แล้วเราใช้เทคโนโลยีอะไรมาช่วยในการเรียนการสอนบ้าง ”

ครูตุ๊กติ๊ก : ถ้าอย่างในระดับที่ผมดูแลก็คือ ป.4-ป.6 จะไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอะไรมาช่วย เพราะว่าหลังจากที่เราวิเคราะห์เรื่องความพร้อมของเด็กแล้ว แล้วก็ชุมชน ผู้ปกครองอะไรต่างๆแล้ว ก็คือยังไม่พร้อมที่จะรับเรื่องของเทคโนโลยีเหล่านี้ครับ

“ ครูที่ดีในนิยามของพี่มัน น่าจะเป็นแบบไหนอะครับ ”
ตุกติ๊ก : ผมว่าครูดี ถ้าอย่างตัวผมคิดว่า ถ้าตัวของเราเป็นครูตอนนี้ ตอนเด็กๆเราอยากได้ครูอย่างไร เราเหมือนกับเราย้อนกลับไปถามตัวเองว่าตอนที่เราเป็นเด็ก เราต้องการครูแบบไหน เราก็ต้องการครูที่เข้าใจเด็ก อยู่กับเด็ก อย่างงี้ครับสำคัญที่สุดคือความเข้าใจ เข้าใจแม้กระทั่งbackgroundของเค้า พื้นหลังของเค้าว่าเค้าใช้ชีวิตอย่างไร ครอบครัวเค้าเป็นอย่างไร ตอนเช้าต้องถามแล้วว่าเค้าทานข้าวมารึยังไร หนูทานข้าวมารึยังงี้ครับ ดูความใส่ใจในตัวตนของเด็กครับ อันนี้คือสิ่งสำคัญ
แล้วก็อีกอย่างก็คือการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก

“ แล้วพี่คิดว่าสิ่งที่ประทับใจที่สุดในการเป็นอาชีพครูนี่คืออะไรเหรอครับ ”

ครูตุ๊กติ๊ก : ผมคิดว่าน่าจะเป็นการที่ได้กลับมาเป็นครูที่บ้านของตัวเองอย่างครับ เพื่อตอบโจทย์ว่าเราเป็นคนๆนึงนะที่ ที่พยายามที่จะ เป็นจุดเล็กๆที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงว่าการที่อยู่ที่บ้าน เรามีอาชีพครู เราสร้างแรงบันดาลใจให้ เด็กๆที่เรียนแล้วก็ให้เค้าเห็นว่า วันนึงเค้าจะกลับมาที่ชุมชนของเค้าด้วยอาชีพต่างๆแล้วสามารถสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนได้ เค้าดูแลครอบครัวได้ เมื่อเค้าดูแลครอบครัวได้ ครอบครัวมีความเข้มแข็ง รากฐานของสังคมมันก็เข้มแข็ง ปัญหาการศึกษาก็จะดีขึ้น

“ แล้วเป้าหมายต่อไปการเป็นครูของพี่นี่วางเป้าหมายไว้อย่างไรบ้างครับ ”

ตุกติ๊ก : เป้าหมายคิดว่า เราน่าจะสร้างพื้นที่ต้นแบบตรงนี้ครับ ให้ที่อื่นได้เห็นถึง มันอาจจะไม่ใช่ความสำเร็จ100% แต่ว่ามันอาจจะเป็นจุดนึงที่ทำให้เกิดการจุดประกายให้กับพื้นที่อื่นว่า การสร้างพื้นที่ให้คนในพื้นที่ดูแลกันและกัน มันเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและก็ทำให้คนเห็นคุณค่าในชุมชนของตัวเอง แล้วถ้าคนกลับมาทำงาน สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชนได้ อย่างที่บอกว่ามันจะทำให้ลดปัญหาทางสังคมลงได้เยอะมากพอสมควร

“ ในฐานะที่พี่เป็นครูอะครับ และเคยทำงานรณรงค์ ลดปัจจัยเสี่ยง พี่อยากจะฝากอะไรไปถึง เด็กๆเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่กำลังอยากลองและเข้าหา เหล้า บุหรี่เพิ่มมากขึ้น ณ ตอนนี้บ้างครับ ”

ตุ๊กติ๊ก : ในฐานะที่เราเป็นครูด้วย แล้วก็เคยทำงานร่วมกับ สคล.แล้วก็เป็นคนที่ไม่ดื่ม ตั้งแต่แรกนั้นจนถึงตอนนี้นะครับ ผมว่าการดื่ม เดี๋ยวนี้มันลดระดับของอายุลงมามากพอสมควร ในการสัมผัสของตัวครูที่เห็นนะครับ ว่ามันอาจจะทำให้เค้ารู้สึกว่าเขามีตัวตน หรือว่าทำให้รู้สึกว่าเขาได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ว่าเขาไม่ได้มองเห็นโทษที่จะทำร้ายเขาในตอนหลังครับ ในสิ่งที่เขาทำ ผมว่าการทำเช่นนั้นมันไม่ได้สร้างคุณค่าต่อตัวเองเลย แต่มันกลับทำให้เกิดผลลบต่อตนเองมากยิ่งขึ้น เหมือนการสร้างตราบาปให้กับตัวเองอย่างงี้ครับ

ติดตามข่าวสารและกิจกรรมเพิ่มเติมได้ผ่านทาง www.sdnthailand.com
#เครือข่ายงดเหล้า
#แอลกอฮอล์พอกันที
#ครูดีไม่มีอบายมุข

กองบรรณาธิการ SDNThailand