ขับเคลื่อนปลูกพลังบวกฯ จ.ขอนแก่น

วันที่ 19 มกราคม 2566  คณะทำงานปลูกพลังบวกฯ จังหวัดขอนแก่น ร่วมกันวางแผนแนวทางการขับเคลื่อนและ นิเทศ ติดตามเทศบาลนครขอนแก่นมีความต้องการยกระดับให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบ และแหล่งเรียนรู้ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคอีสานเหนือ สามารถเข้ามาศึกษาดูงาน และสามารถ ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานได้ โดยในปี 2566 สสส.ส่วนกลางและภูมิภาคจะลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ทั้งในเขตเทศบาลนคร ขอนแก่น และอําเภอกระนวน

          ดร.สุภชัย จันปุม รองศึกษาธิการภาค 7 ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 12 อีสานบน (ขอนแก่น , มหาสารคาม) กล่าวว่า ทางภาคเองให้ความสำคัญกับงานเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก มีประโยคหนึ่งที่ท่านกล่าว “เด็กปฐมวัย คือ หัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา”  ยินดีให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนในจังหวัดที่ท่านดูแล พร้อมให้แนวทางในการบูรณาการปลูกพลังบวกฯ ร่วมกับ EF สำหรับปฐมวัย หากทีมมีการลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานศึกษาท่านยินดีร่วมลงติดตาม เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ

เทศบาลขอนแก่นประชุมขับเคลื่อนและวางแผนการดำเนินงานโครงการปลูกพลังบวกฯ ของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ปี 2566 ณ ห้องประชุมพญากุมภัณฑ์ เทศบาลนครขอนแก่น มีผู้บริหารและคณะทำงานโครงการพลังบวกฯเทศบาลนครขอนแก่น ร่วมกับคณะทำงานพลังบวกส่วนกลาง และผู้แทนสคล.ภาคอีสานบน

นายศรันย์ เปานาเรียง ผู้อํานวยการส่วนส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เทศบาลนครขอนแก่น เป็นประธานกล่าวว่า ทางเทศบาลนครขอนแก่น ได้เห็นความสำคัญของเด็กปฐมวัย จึงได้สนับสนุนงานที่จะพัฒนาเด็กเล็ก การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรที่สอน เทศบาลก็ให้ความสำคัญ การที่โครงการปลูกพลังบวกฯ เข้ามาให้ความรู้ด้านปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ต้องขอขอบคุรเป็นอย่างยิ่ง ที่ สสส.ให้ความสำคัญแล้วเป็นนำเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่องและขับเคลื่อนมาได้ 4 ปีแล้ว หวังว่าปัยหาที่เกิดขึ้นจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่จะลดลง

          นางสาวจริญญา ไทยแท้ รองประธานภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนระดับปฐมวัย ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่นิเทศ ติดตาม ประเมินผล จำนวน 11 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและทำกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ 1 ศพด.และทำหนังสือนิทานบิ๊กบุ๊ค และทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน และการดำเนินการต่อเนื่องในปี2566 นี้  วางแผนแนวทางการขับเคลื่อนและ นิเทศ ติดตามเทศบาลนครขอนแก่นมีความต้องการยกระดับให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบ และแหล่งเรียนรู้ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคอีสานเหนือ สามารถเข้ามาศึกษาดูงาน และสามารถ ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานได้ โดยในปี 2566 สสส.ส่วนกลางและภูมิภาคจะลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ทั้งในเขตเทศบาลนครขอนแก่น  และอําเภอกระนวน จํานวน 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 การนิเทศและยกระดับสถานศึกษา ครั้งที่ 2 กิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ ครั้งที่ 3 จัดอบรม ครั้งที่ 4 การสรุปถอดบทเรียน

ในการนี้ ทางโครงการ จะดำเนินการแต่งตังคณะทํางานโครงการฯ ระดับอําเภอ/จังหวัด เดิมทีเทศบาลนครมีหนังสือคําสั่งแต่งตั้งคณะทํางานโครงการปลูกพลังบวกฯ เนื่องจากมีการ ปรับเปลี่ยน โยกย้ายตําแหน่งงาน เห็นควรให้มีการปรับคําสั่ง โดยเพิ่มเติมรายชื่อที่ปรึกษาโครงการฯ ดังนี้ 1. ศน.กฤษณา เสมหิรัญ ศึกษานิเทศก์ชานาญการพิเศษ สนง.ศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น 2. นางสาวบุษกร กัปโก นักวิชาการชํานาญการ เทศบาลนครขอนแก่น 3. นางสาวกาญจนา สุพรรณคุ้ม หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมคุณภาพการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีการแต่งตั้งศึกษานิเทศก์ของเทศบาลนครขอนแก่นทุกคน เข้าเป็น คณะทํางานเพื่อดําเนินการออกนิเทศ กํากับ โครงการปลูกพลังบวก ฯ ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ทางเทศบาลฯ จะดำเนินการพัฒนาต่อยอดสื่อนิทานเล่มใหญ่ “มัดหมี่say no” ให้เป็นกาตูนแอนนิเมชั่น พร้อมภาคเสียง (ใส่คำศัพท์ภาษาจีน+อังกฤษ ในบางคำเพื่อให้สอดคล้องนโยบายของเทศบาลฯ ) และทำการประชาสัมพันธ์ .สื่อผ่านระบบออนไลน์ลงสู่ห้องเรียน และชุมชนต่อไป  

ส่วนการหารือกับ นางกฤษณา เสมหิรัญ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น ได้ข้อสรุปเบื้องต้นรับการขยายผลโรงเรียนเข้าร่วม 30 ห้องเรียน เกณฑ์การคัดเลือกจากโรงเรียนที่มีใจเข้าร่วมก่อน โดยเป็นการบูรณาการร่วมกับโครงการ EFซึ่งเป็นโครงการฯที่คล้ายคลึงกัน ให้คุณครูไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน

กองบรรณาธิการ SDNThailand