พะเยาขับเคลื่อนลดปัจจัยเสี่ยงจากเหล้า บุหรี่ สู่เด็กปฐมวัย

สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาพะเยา เขต 1(สพป.พะเยา เขต 1) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ขับเคลื่อนลดปัจจัยเสี่ยงจากเหล้า บุหรี่ สู่เด็กปฐมวัย

จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดที่มีความชุกของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในประชากร 15 ปีขึ้นไป ปี 2564 ร้อยละ 40.7 เป็นอันดับ 5 ของประเทศ การทำงานขับเคลื่อนการแก้ปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดพะเยา การดำเนินงานของจังหวัดก็จะมุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่ดื่มแล้วแต่สถิติการมีแนวโน้มลดลงเพียงเล็กน้อย ดังนั้นทางสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาพะเยา เขต 1 (สพป.พะเยาเขต 1) จึงเข้าร่วมโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง สำหรับเด็กปฐมวัย การทำงานแก้ปัญหายาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในครั้งนี้ ที่มุ่งเน้นการปลูกจิตใต้สำนึกให้กับเด็กเล็กให้มีทักษะชีวิตและบูรณาการร่วมกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จำนวน 73 สถานศึกษา คุณครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 126 คน ด้วยกัน

ดร.ธงชัย คำปวง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 กล่าวว่า โครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง(เหล้า บุหรี่) สำหรับเด็กปฐมวัย โดยขบวนการ Active Learning นับว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนปฐมวัย มุ่งเน้นให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้และปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กผ่านกิจกรรมและใช้สื่อชุดกิจกรรมปลูกพลังบวกที่เน้นให้เด็กให้ลงมือปฏิบัติที่อย่างหลากหลาย การป้องกันให้เด็กและเยาวชนปฏิเสธปัจจัยเสี่ยง เด็กสามารถเรียนรู้ได้ อย่างเหมาะสมตามวัย มีทักษะชีวิต ภายใต้การมีปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ระหว่างเด็ก คุณครูและผู้ปกครอง พร้อมทั้งสอดแทรกกิจกรรมรณรงค์ เรื่องพิษภัยของยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

นางลออ  ผู้ประสานงานประชาคม จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดที่มีด้วยกัน 9  อำเภอ แต่ความชุกของปัญหา ที่มีนักดื่มเป็นอันดับ 5 ประเทศ ซึ่งก็ติดทอ๊ปเท็นต์มาตลอด การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาในจังหวัดพะเยา สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในรูปแบบสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เชื่อมโยงฝ่ายราชการ หน่วยงานระดับจังหวัด ควบคุมและบังคับใช้กฏหมาย บำบัดรักษา ประสานนักวิชาการทำข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ ขับเคลื่อนเชิงปฏิบัติการร่วมภาคประชาสังคมเพื่อแก้ปัญหาป้องกันภัยที่เกิดขึ้นจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ

นางมนตรา ฟักมงคล ผู้อำนวยการโรงเรียนราชานุบาล สถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ปลูกพลังบวกภาคเหนือ กล่าวว่า  สิ่งสำคัญของการนำแผนพัฒนาผู้เรียน ผู้บริหารต้องเปิดใจ และพร้อมที่จะพัฒนาเด็กในทุกๆ ด้าน การที่โรงเรียนได้นำชุดกิจกรรมปลูกพลังบวกฯ นำเข้าสู่สถานศึกษาด้วย Racha Model คุณภาพผู้เรียน กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้เด็กความเข้าใจ มีทักษะชีวิต เข้าถึงเนื้อหาสาระที่คุณครูสอน เมื่อเด็กเข้าใจแล้ว ตัวเด็กก็สามารถความรู้ ความเข้าใจถ่ายทอดสู่ผู้ปกครองได้ จากการนำกิจกรรมสู่ผู้ปกครองหลายๆ คนเริ่มตระหนักมากขึ้น วิถีการดื่มก็เปลี่ยนและปรับพฤติกรรม เช่น ไม่สูบ ไม่ดื่มให้ลูกเห็น บางคน ลด ละ เลิก ได้

การดำเนินงานโครงการปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง สำหรับเด็กปฐมวัย หลังจากที่อบรมเชิงปฏิบัติการ แล้วทางครูและบุคลากรทางการศึกษา จะนำชุดความรู้ที่ได้เรีนรู้นำไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน แล้วทางคณะทำงานของโครงการปลูกพลังบวกฯ ระดับจังหวัดพะเยา จะลงนิเทศเสริมหนุนเพื่อการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องต่อไป การดำเนินงานในครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จาก

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชระไพบูลย์ คณะนักวิชาการและวิทยากรภาคเหนือ นำโดย อ.กอบกมล ทบบัณฑิต อ.สมจิตร เอื้ออรุณ คณะครูระดับชั้นอนุบาลโรงเรียนราชานุบาล สถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ของโครงการฯ เป็นวิทยากรสาธิตในการอบรมเชิงปฏิบัติการปลูกพลังบวกฯ ในครั้งนี้ด้วย

ข่าว พะเยา 27 พ.ค.66 มาลัย มินศรี

กองบรรณาธิการ SDNThailand